สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมือง
ดวงกมล แม้นศิริ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic diversity of native rice species
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงกมล แม้นศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duangkamol Maensiri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พื้นที่ดินเค็มที่พบในประเทศไทยอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและบริเวณชายฝั่งทะเล มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 22.4 ล้านไร่ ซึ่งบริเวณดังกล่าวของประเทศเป็นพื้นที่ท าการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของประเทศ (ประมาณ 106 ล้าน ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 17.8 ล้านไร่ และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่ของเกลืออีก 19.4 ล้านไร่ (อรุณี ยูวะนิยม, 2540) ลักษณะความหลากหลายของการทนเค็มในข้าวนั้นเป็นลักษณะของพันธุกรรมเชิงปริมาณ จึงท าให้การตรวจสอบความหลากหลายของความสามารถในการทนเค็มของข้าวท าได้ยาก ในปัจจุบัน การตรวจสอบความหลากหลายของการทนเค็มในข้าวสามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยีทางชีวโมเลกุลระดับดีเอ็นเอเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการจ าแนก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการค้นคว้าวิจัยด้านวิวัฒนาการ และความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วยMicrosatellite หรือ Simple Sequence Repeat (SSR) เป็นกลุ่มดีเอ็นเอที่มีเบสซ้ำ (repetitive DNA) โดยความผันแปรของจนวนเบสซ้ าในจีโนมของสิ่งมีชีวิตสามารถประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลในการแยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตได้ดี โดยที่ polymorphism ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากความแตกต่างของจ านวนชุดซ้ าของเบสใน locus หนึ่ง ๆ (Powell et al., 1996) งานวิจัยนี้ จึงท าการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวจ านวน 33 สายพันธุ์ ร่วมกับข้าวสายพันธุ์พอคคาลี เหลืองอนันต์ และขาวดอกมะลิ105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์อ้างอิงส าหรับระดับความทนเค็มมาก ทนเค็มปานกลาง และไม่ทนเค็ม ตามล าดับ โดยใช้เครื่องหมาย SSR จาก Saltol QTL ซึ่งเป็นดีเอ็นเอบริเวณที่น่าจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทนต่อสภาวะเครียดเกลือในข้าว (Saltol มาจาก salt tolerance) ส่วนใหญ่อยู่บนโครโมโซมแท่งที่ 1 รวมถึงทำการเปรียบเทียบผลการจำแนกข้าวตามเครื่องหมาย SSR กับการจำแนกด้วยระดับความทนเค็ม ที่วัดได้จากวิธีการตรวจสอบทางสรีรวิทยาของแต่ละสายพันธุ์
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2552
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมือง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2554
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ของไทยจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดข้าว ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการคัดเลือกพันธุ์ทนเค็มและทนแล้งของข้าวพื้นเมืองจังหวัดเพชรบุรี การใช้ประโยชน์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองสำหรับเลี้ยงไก่ชน การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ความหลากหลายของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของข้าวพื้นเมือง ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ คุณภาพเมล็ดและโภชนาการของข้าวพันธุ์ดีและข้าวพื้นเมืองภาคใต้ ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวที่สูง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก