สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processing of Natural Products from Hemp Subproject 4: Research and Development on Value Chain and Marketing under Hemp Control System in the Highland Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สริตา ปิ่นมณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตการเพาะปลูกเฮมพ์ให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น เพื่อพัฒนาต้นแบบห่วงโซ่การผลิต (value chain) และการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงของประเทศไทยภายใต้ระบบการควบคุม เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกเฮมพ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่นำร่องภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูงภาคเหนือ จากการวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบห่วงโซ่การผลิต สามารถสรุปกิจกรรมหลัก เป็น 3 ด้าน คือด้านการเพาะปลูก การ แปรรูปผลิตภัณฑ์เฮมพ์ การบริหารจัดการ และการตลาด นอกเหนือจากนั้นเป็นกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ บริบทชุมชน ชนเผ่า การพัฒนาเทคโนโลยี และการจัดหาวัตถุดิบ เป็นต้น โดยกิจกรรมทุกประเภทมีส่วนในการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับการผลิตเฮมพ์ และสามารถเชื่อมโยงแผนการผลิตและการตลาดได้ครบทั้งวงจร ตั้งแต่การปลูก การแปรรูป และการตลาด โดยต้นแบบห่วงโซ่การผลิตที่ได้จัดทำเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่นำร่องทั้งหมด 5 จังหวัด ได้แก่ น่าน ตาก เพชรบูรณ์ เชียงราย เชียงใหม่ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีเกษตรที่ผลิตเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุมทั้งสิ้น 7 กลุ่ม พื้นที่เพาะปลูกภายใต้ระบบการควบคุม จำนวน 46 ไร่ รวมทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผืนผ้าเฮมพ์ให้มีขนาดได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของตลาดใน 4 พื้นที่ มีเกษตรกรเข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 102 ราย อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาเฮมพ์ให้เกิดรูปธรรมจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีกระบวนการที่ถูกต้องในการดำเนินงาน ทั้งการเพาะปลูก การขนส่ง การแปรรูป และการจัดจำหน่าย รวมทั้งปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือเมล็ดพันธุ์ จำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพให้มีลักษณะตรงตามพันธุ์ มีความบริสุทธ์ คุณภาพดี และมีความงอกสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก