สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวิธีตรวจสอบคุณภาพความสดและปริมาณสารฟอสเฟตของผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด
เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีตรวจสอบคุณภาพความสดและปริมาณสารฟอสเฟตของผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด
ชื่อเรื่อง (EN): Development of rapid method for determination of freshness quality and phosphate quantification of frozen shrimp product using Near Infrared spectroscopy
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Soawaluk Rungchang
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันกุ้งปอกเปลือกแช่เยือกแข็งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทะเลแปรรูปส่งออก ในการผลิตมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การปอกเปลือกกุ้ง การแช่สารละลายฟอสเฟต และการแช่เยือกแข็ง โดยขั้นตอนการแช่สารละลายฟอสเฟต มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของกุ้ง ส่งผลให้กุ้งมีผลผลิต (yield) เพิ่มขึ้นหลังจากแช่สารละลายฟอสเฟต ความสดของกุ้งและปริมาณฟอสเฟตเป็นปัจจัยสำคัญในการกระบวนการผลิตและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยมาตรฐานทางเคมีสำหรับการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์แช่แข็งส่งออก ได้กำหนดให้มีการตรวจพบปริมาณฟอสเฟตในกุ้งแช่แข็งได้ไม่เกิน 0.5% หรือ 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์หาดัชนีความสดของกุ้ง และ วิเคราะห์หาปริมาณสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโกปี (NIRS) ช่วงเลขคลื่น 12000-4000 cm-1 วัดแบบสะท้อนกลับ หาความสัมพันธ์และสร้างสมการทำนายด้วยเทคนิคทางสถิติ partial least squares regression (PLSR) การศึกษาความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์หาดัชนีความสดของกุ้ง ใช้ตัวอย่างกุ้งขาวทั้งหมด 60 ตัวอย่างเก็บกุ้งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสที่ความสดแตกต่างกัน ดัชนีความสดของกุ้งที่วิเคราะห์มี 2 ดัชนีคือ ปริมาณไนโตรเจนที่ระเหยได้ทั้งหมดและความสามารถในการอุ้มน้ำ โดยตัวอย่างทั้งหมดมีความสดอยู่ในช่วง 6.07-17.02 mg N/100g และ 93.77-99.65% ตามลำดับ นำตัวอย่างทั้งหมดมาวิเคราะห์หาดัชนีความสดของกุ้งด้วย NIRS รูปแบบได้แก่กุ้งเป็นตัวและกุ้งสับ สร้างสมการทำนายปริมาณไนโตรเจนที่ระเหยได้ทั้งหมด และความสามารถในการอุ้มน้ำด้วยเทคนิค partial least squares regression (PLSR) แบ่งตัวอย่างเป็น 2 ชุด คือ ชุดสร้างสมการทำนาย 45 ตัวอย่างและชุดทดสอบสมการ 15 ตัวอย่าง ผลการทดลอง พบว่า NIRS สามารถทำนายดัชนีความสดของกุ้งสับได้ดีกว่ากุ้งเป็นตัว โดยในส่วนของปริมาณไนโตรเจนที่ระเหยได้ทั้งหมดมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.84 ค่าความคลาดเคลื่อนของการทำนาย (RMSEP) 0.76 mg N/100g และ ค่าอัตราส่วนความคลาดเคลื่อนของการทำนายต่อค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (RPD) 2.38 และ ความสามารถในการอุ้มน้ำ R2 0.73 RMSEP 0.58 %และ RPD 2.03 การหาปริมาณสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็ง ใช้ตัวอย่างกุ้งขาวทั้งหมด 70 ตัวอย่าง วิเคราะห์ปริมาณฟอสเฟตในกุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง โดยตัวอย่างทั้งหมดมีปริมาณฟอสเฟตอยู่ในช่วง 1830 ถึง 5593 mg/kg สำหรับกุ้งสด และ 1830 ถึง 6054 mg/kg สำหรับกุ้งแช่เยือก ตัวอย่าง 45 ตัวอย่างใช้เป็นชุดสร้างสมการทำนาย และ 15 ตัวอย่างเป็นชุดทดสอบสมการ ผลการทดลอง พบว่า NIRS สามารถทำนายปริมาณฟอสเฟตได้ดีทั้งในตัวอย่างกุ้งสดและกุ้งแช่เยือกแข็ง โดยในตัวอย่างกุ้งสดมีค่า R2 0.91 RMSEP 210 mg/kg และ RPD 3.37 และในตัวอย่างกุ้งแช่เยือกแข็งมีค่า R2 0.92 RMSEP 205 mg/kg และ RPD 3.50 ดังนั้นจากผลการทดลองจะเห็นว่า มีความเป็นไปได้ในการนำเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโกปีไปใช้วิเคราะห์หาดัชนีความสดของกุ้ง และ วิเคราะห์หาปริมาณสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดเวลาและขั้นตอนการวิเคราะห์ และเหมาะสำหรับการตรวจสอบจำนวนปริมาณตัวอย่างขนาดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่การวางแผนผลิตได้อย่างถูกต้อง การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และการขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งให้ทันท่วงทีกับความต้องการของตลาด
บทคัดย่อ (EN): Currently frozen peeled shrimp is the main product in the seafood processing industry. In production, there are many important steps, which are peeling the shrimps, soaking the shirmps in a phosphate solution, and freezing the shrimps. Phosphate is used to increase the water holding capacity of the shrimp, resulting in an increase in weight of the shrimps. According to the guidance document to ensure the safety of the product, phosphate in frozen shrimp must not exceed 0.5% or 5000 ppm. The objective of this study aims to use the Near Infrared spectroscopy (NIRS) techniques, in the wave number range of 12,000-4,000 cm-1, to determine the freshness quality and phosphate quantity of frozen shrimp products. A partial least square regression (PLSR) model was created to predict the freshness quality and phosphate quantity of frozen shrimp products. The sixty samples of white shrimp stored at 4oC, which are divided into grounded and whole shrimps, were used to analyse the freshness quality in terms of volatile base nitrogen and water holding capacity. The freshness quality range of samples were around 6.07-17.02 mg N/100g of volatile base nitrogen and 93.77-99.65% of water holding capacity. The models for predicting volatile base nitrogen and water holding capacity were developed, the result found that the prediction for grounded shrimps was better than those of whole shrimps. The predicted model provides a good representation of volatile base nitrogen as the coefficient of determination (R2), root mean squared error of prediction (RMSEP) and relative standard deviation (RPD) were 0.84, 0.76 mg N/100g and 2.38, respectively. The values of R2, RMSEP and RPD found for water holding capacity were 0.73, 0.58% and 2.03, respectively. The seventy samples of white shrimp, which are divided into raw and frozen shrimps, were used to analyse the phosphate quantity. The phosphate concentrations of raw and frozen shrimps were between the range of 1,830-5,593 mg/kg and 1,830-6,054 mg/kg, respectively. The models for predicting phosphate concentration were created, the result found that the proposed models allowed accurate prediction of phosphate concentration of raw and frozen shrimps. The values of R2, RMSEP and RPD found for phosphate prediction of raw shrimps were 0.91, 210 mg/kg and 3.37, respectively and for those of frozen shrimps were 0.92, 205 mg/kg and 3.50, respectively. Therefore, NIRS technique is suitable for using to monitor the freshness quality and phosphate quantity of frozen shrimp products in the industry. It is possible to save time, reduce the analysis steps and suitable for large amount of the samples at the industrial scale. This technique can be used to assist in production planning and control the product quality to confirm the consumer safety and ensure a timely delivery of the growing market demand.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1 เพื่อประเมินประสิทธิภาพการนำเทคนิค NIR spectroscopy มาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพความสดและปริมาณสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็วทดแทนการตรวจสอบ ด้วยวิธีมาตรฐาน 2 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็ง ซึ่งมีแนวโน้มช่วยลดเวลาและขั้นตอนการวิเคราะห์ และเหมาะสำหรับการตรวจสอบจำนวนปริมาณตัวอย่างขนาดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวิธีตรวจสอบคุณภาพความสดและปริมาณสารฟอสเฟตของผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์การปลอมปนในข้าวหอมมะลิเปลือกและข้าวหอมมะลิขาวอย่างรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปรียบเทียบวิธีการจำแนกชนิด Vibrio vulnificus และ V. parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์แช่เยือกแข็ง ด้วยวิธีชีวเคมีและเทคนิคพีซีอาร์ การพัฒนาวิธีตรวจเชื้อ Trichomonas foetus ในน้ำเชื้อโคด้วยเทคนิค PCR การเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อ Vibrio vulnificus และ V. parahaemolyticus ในระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์กุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) แช่เยือกแข็ง การใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ในสุกรพันธุ์เปียแตรง ศึกษาสารคงตัวที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่าง Escherichia coli ในกุ้งที่ใช้สำหรับทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการ ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล การพัฒนาการเก็บรักษาคุณภาพความสดของปลายี่สกเทศ การดูดตรึงฟอสเฟตสูงของดินชุดต่าง ๆ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก