สืบค้นงานวิจัย
สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น
อรพิน เกลี้ยกล่อม - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่อง (EN): Properties of Plough Pan in Cassava and Sugarcane Growing Soils,Khon Kaen Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรพิน เกลี้ยกล่อม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Orapin Kliaklom
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาสมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจำนวน 5 บริเวณในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ดินคล้ายชุดดินสตึกที่มีเบสสูงในดินล่าง (PP- 1; Ulic Haplustalf) ดินคล้ายซุดดินโพนพิสัยที่เป็นดินทราย (PP-2; Typic Plinthustult) ชุดดินยโสธร (PP-3; Typic Haplustult) และชุดดินสตึก (PP-4, PP-5; Typic Paleustults) ดินทั้งหมด เป็นดินลึก เป็นกรดรุนแรงถึงเป็นกลาง ความอุดมสมบรูณ์ต่ำ เนื้อดินอยู่ในกลุ่มเนื้อปานกลางยกเว้นดินคล้ายซุดดินโพนพิสัย ที่เป็นดินทรายที่มีเนื้อหยาบตลอดหน้าตัดดิน พบชั้นดานไถพรวนในเกือบทุกดินยกเว้นในดินคล้ายชุดดินโพนพิสัยที่เป็นดิน ทราย โดยพบที่ความลึก 20-25 ซม. และมีความหนา 15-20 ซม. มีความหนาแน่นรวมของดินในพิสัย 1.69-1.85 เม.ก./ม. และค่าความแข็งในพิสัย 0.28-6.87 กก./ซม. ซึ่งมีค่าสูงกว่า แต่สภาพนำน้ำของดินขณะที่ดินอิ่มตัวด้วยน้ำ (0.03-1.20 ซม./ซม.) ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชั้นดินบนและชั้นดินที่ถัดลงมาจากชั้นดาน ความต้านทานการแทงทะลุของดินใน สนามของดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยมีค่าอยู่ในพิสัย 2-10 เมกะพาสคาล ชั้นดานไถพรวนในพื้นที่ปลูกมัน สำปะหลังอยู่ตื้นกว่าในพื้นที่ปลูกอ้อย แต่สมบัติโดยรวมคล้ายคลึงกัน ยกเว้นความหนาแน่นรวมของชั้นดานไถพรวนใน พื้นที่มันสำปะหลัง (1.70-1.83 เม.ก./ม.:) ที่มีค่าสูงกว่าที่พบในแปลงอ้อย (1.56-1.80 เม.ก./ม.:) ส่วนความแข็ง (0.43-2.79 กก./ซม.) กลับมีค่าต่ำกว่าชั้นดานไถพรวนในแปลงอ้อย (0.28-6.87 กก./ซม.:) ส่วนการสะสมธาตุอาหารหลักและ อินทรียวัตถุในตอนล่างของชั้นดินบนและตอนบนของชั้นดานไถพรวนไม่แตกต่างกัน
บทคัดย่อ (EN): A study on properties of plough pan in cassava and sugarcane growing soils was carried out in five areas, all located in Khon Kaen Province. There were Satuk, high base subsoil variant soil (PP-1; Ultic Haplustalf), Phon Phisai, sandy variant soil (PP-2; Typic Plinthustult), Yasothon soil series (PP-3; Typic Haplustult) and Satuk soil series (PP-4, PP-5; Typic Paleustults). All soils were deep, having extremely acid to neutral soil reaction and low fertility level. They had gap-graded particle size distribution and medium textural class except for Phon Phisai, sandy variant soil that had coarse textural class. Plough pan was found in all soils, starting at depths between 20-25 cm with the thickness of 15-20 cm, except Phon Phisai, sandy variant soil. Bulk density of these compacted layers ranged from 1.69-1.85 Mg/m3 and soil strength varied between 0.28-6.87 kg/cm2, which were higher than those of directly overlain and underlain layers while saturated hydraulic conductivity (0.03-1.20 cm/hr) being lower. Considering field penetration resistance both in cassava and sugarcane growing soils, the values ranged from 2-10 MPa. Depths of plough pan found in cassava growing soils were shallower than those of sugarcane growing soils whereas general properties of plough pan were rather similar in soils used for growing both plants. There were an exception for bulk density that cassava growing soils had higher values (1.70-1.83 Mg/m3) than did sugarcane growing soils (1.56-1.80 Mg/m3) and for soil strength that the soils used for the former plant showed lower values (0.43-2.79 kg/ cm2) than did the soils (0.28-6.87 kg/cm2) used for cultivating the latter plant. However, plant nutrient and organic matter contents at the bottom of topsoil and at the top of plough pan layer were rather similar.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=02-Suphicha1.pdf&id=397&keeptrack=45
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการผลิตอ้อยและมันสำปะหลังที่มีขนาดฟาร์มแตกต่างกันในจังหวัดมหาสารคาม ลักษณะของชั้นดานไถพรวนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อการผลิตเอทานอล ในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร การเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ของเถ้าลอยชีวมวลเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ พฤติกรรมการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชในการผลิตอ้อยของเกษตรกรในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก