สืบค้นงานวิจัย
การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง
นางสาวนิภา กาลศรี - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง
ชื่อเรื่อง (EN): NURSING OF WALKING CATFISH
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวนิภา กาลศรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของความหนาแน่นต่อการอนุบาลลูกปลาดุกอุยในกระชัง ได้ดำเนินการ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2544 ถึงกันยายน 2545 โดยใช้ลูกปลาดุกอุยอายุ 5 วัน น้ำหนักตัวเฉลี่ย 0.0084 กรัม และความยาวตัวเฉลี่ย 0.97 เซนติเมตร อนุบาลในกระชังที่อัตราความหนาแน่นแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 1,000, 2,000 และ 3,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร โดยทำการทดลอง 2 ชุด ชุดที่ 1อนุบาลจนอายุครบ 30 วัน และชุดที่ 2 อนุบาลจนอายุครบ 20 วันโดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเปอร์เซ็นต์โปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว/วัน วันละ 3 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า การอนุบาลลูกปลาดุกอุยที่ความหนาแน่นต่างกันจนอายุครบ 30 วัน มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก และความยาวเท่ากับ 0.67?0.44, 0.69?0.59 และ 0.74?0.50 กรัม และ 4.30 ?0.88, 4.34?0.99 และ 4.51?0.91 เซนติเมตร ตามลำดับ ทั้งน้ำหนักและความยาวเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกัน สำหรับอัตรารอดเท่ากับ 63.25?9.73, 32.47?9.58 และ 19.02?3.70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าชุดความหนาแน่น 1,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร มีอัตรารอดสูงต่างจากชุดความหนาแน่น 2,000 และ 3,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่น้ำหนักมวลรวมเท่ากับ 396.86?33.95, 469.63?116.51 และ 509.48?77.69 กรัม เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนการอนุบาลจนลูกปลาอายุครบ 20 วัน มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักและความยาวเท่ากับ 0.12?0.09, 0.09?0.04 และ 0.07?0.0.04 กรัม และ 2.49?0.0.40, 2.25?0.44 และ 2.10?0.39 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าชุดการทดลองที่ 1,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักเฉลี่ยและความยาวเฉลี่ยสูงกว่าชุดการทดลองที่ 2,000 และ 3,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตรารอดเท่ากับ 49.51?4.39, 41.70?1.15 และ 42.98?10.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับน้ำหนักมวลรวมเท่ากับ 54.56?5.07, 67.40?7.70 และ 85.86?8.83 ตามลำดับ พบว่าชุดการทดลองที่ 3,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนักมวลรวมสูงสุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่าการอนุบาลลูกปลาดุกอุยอายุครบ 20 วัน อนุบาลที่ความหนาแน่น 3,000 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และการอนุบาลลูกปลาดุกอุยจนอายุครบ 30 วัน อนุบาลที่ความหนาแน่น 1,000 ตัว/ลูกบาศก์เมตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/if-nakhonsawan/paperclariasincage.htm
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2545
เอกสารแนบ 1
ชนิดอาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาดุกด้าน การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศร่วมกับการเลี้ยงปลาดุกอุย โรคสเตรปโตคอคโคซีสในปลาหมอไทย (Anabas testudineus) และปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกอุย แบบประชาชนมีส่วนร่วม การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก การศึกษาใช้ดอกโสนเป็นส่วนผสมอาหารสำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกอุย การอนุบาลลูกปลาสวายโมงในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน ระบบการอนุบาลปลาหนังลูกผสมในกระชังเชิงพาณิชย์ ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนวัยอ่อน ผลของความหนาแน่นและการใช้ที่หลบซ่อนในการอนุบาลลูกปลาหลด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก