สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารยับยั้งการสูญเสียไนโตรเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยยูเรียในนาข้าว
สาคร ผ่องพันธ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้สารยับยั้งการสูญเสียไนโตรเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยยูเรียในนาข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Use of Inhibitors to Improve the Efficiency of Urea Fertilizer in Lowland Rice Field
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สาคร ผ่องพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sakorn Phongpan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากความพยายามที่จะลดการสูญเสียไนโตรเจนจากปุ๋ยยูเรียเมื่อใส่แบบหว่านในน้ำที่ท่วมขังดินภายหลังการปักดำ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของปุ๋ยไนโตรเจนโดยข้าวให้ดียิ่งขึ้นจึงได้ดำเนินการทดลอง ณ สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปี พ.ศ. 2534 เพื่อศึกษาผลการใช้สารยับยั้งไนโตรเจนคือ phyenylphosphorodiamidate (PPD), N-(n-butyl) thiophosphorictriamide (NBPT), algicide ชื่อ terbutryn และ was coated calcium carbide (CaC2) ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิภาพของปุ๋ยยูเรียเมื่อใส่ให้แก่ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 90 ที่ปลูกในดินนาชุดพิมาย (Fluvic Tropaquept) ในอัตรา 12 kg N ต่อไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ algicide ร่วมกับยูเรียสามารถลด pH ของน้ำที่ท่วมขังดินให้อยู่ต่ำกว่า 8.5 ในระยะ 3 วันแรกภายหลังการใส่ยูเรียและเพิ่มปริมาณการสะสม ammoniacal-n ให้สูงกว่ากรรมวิธีที่ใส่ยูเรียเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะใน 5 วันแรกภายหลังการใส่ยูเรีย ส่วนกรรมวิธีที่ใส่ CaC2 ร่วมกับยูเรียแม้ว่าเพิ่ม pH ในน้ำให้สูงขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่สามารถเพิ่มปริมาณ ammoniacal-N ในอัตราที่เร็วกว่ากรรมวิธีที่ใส่ยูเรียเพียงอย่างเดียว ในทางตรงกันข้ามการใส่ NBPT ร่วมกับยูเรียไม่ว่าใส่ครั้งเดียวหรือหลายครั้งสามารถลดปริมาณการสะสม ammonical-N มากกว่า 50% การใส่สารยับยั้งยูรีเอสผสมร่วมกับยูเรียให้รูปแบบปริมาณการสะสสมของ ammoniacal-N คล้ายคลึงกับการใส่ NBPT เพียงอย่างเดียวร่วมกับยูเรีย อัตราการสูญเสียแอมโมเนียเกิดขึ้นสูงสุด (6.7 ug N m-2 s-1) 2 วัน ภายหลังการใส่ปุ๋ยยูเรีย และค่อย ๆ ลดลงจนเหลือต่ำสุด ในวันที่ 9 ในกรรมวิธีที่ใส่ยูเรียเพียงอย่างเดียว การสูญเสียแอมโมเนียเกิดขึ้น 20.5๔ ของปริมาณที่ใส่ลงไป การใส่ algicide ร่วมกับยูเรียสามารถลดปริมาณการสูญเสียแอมโมเนียลงครึ่งหนึ่ง (10.2%) ส่วนการใส่ CaC2 ร่วมกับยูเรียมีผลทำให้การสูญเสียแอมโมเนียเกิดขึ้น 14% ในขณะที่การใส่ CaC2 ร่วมกับยูเรียชักนำให้เกิดการสูญเสียแอมโมเนีย 10% ส่วนตำรับที่มีการสูญเสียแอมโมเนียน้อยที่สุดคือยูเรียร่วมกับสารยับยั่งยูรีเอสผสม และ algicide ซึ่งลดการสูญเสียให้เหลือเพียง 75 และให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 31% ๖745.6 กก. ต่อไร่) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับที่ใส่ยูเรียเพียงอย่างเดียว
บทคัดย่อ (EN): Attempts were made to reduce N loss from urea broadcast into the floodwater after transplanting and increase the efficient utilization of fertilizer N by flooded rice. A field experiment was conducted at the Suphanburi Rice Experiment Station in the 1991 wet season to study the effect of inhibitors; phenylphosphorodiamidate (PPD), N-(n-butyl) tjop[jps[jproctroa,ode (NBPT), lgicide terbutryn and wax-coated calcium acarbide (CaC2) , on the fate and effciency of urea applied to flooded rice (variety SPR90) grown on a Phimai soil (Fluvic Tropaquept) at the rate of 12 kg N rai The results showed that the addition of algicide with ure maintained the floodwater pH values below 8.5 for the first three days after urea application and increased the accumulation of ammoniacal N higher than that of urea alone particularly the first five days. In the CaC2 treatment, although slight increases in floodwater pH were apparent, ammoniacal-n increased at a faster rate than the control. in contrast, single and repeated additions of NBPT with urea resulted in much lower ammoniacal-N accumulation (<50%). Application of the mixed inhibitors with urea also resulted in a similar pattern of ammoniacal -N accumulation as was obtained with the single NBPT treatment. The maximum rate of NH3 loss (6.7 g N m-2s-1) occurred two days after urea application and decreased thereafter to a minimum after days 9. In the urea treatment, NH3 loss accounted for 20% of the applied N. Addition of algicide with urea reduced the total NH3 to a half (10.2%). In the presence of CaC2, 15% of the applied N was lost as NH3 compared with 10% from the NBPT treatment. The lowest NH3 loss to 7% and increased a maximum grain yield up to 31% (746.6 kg rai-2) when compared with the control (unamended urea).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารยับยั้งการสูญเสียไนโตรเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยยูเรียในนาข้าว
กรมวิชาการเกษตร
2540
เอกสารแนบ 1
การเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าว โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี อิทธิพลของธาตุอาหารพืชไนโตรเจนที่ตรึงในดินต่อผลผลิตข้าว ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลการใช้สารยับยั้งยูรีเอสที่มีต่อการสูญเสียแอมโมเนียและประสิทธิภาพของปุ๋ยยูเรียเมื่อหว่านในนาข้าว สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร การใช้แผ่นเทียบสีเพื่อการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าว การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก