สืบค้นงานวิจัย
ผลตกค้างของสารเคมีพ่นให้ต้นแห้งและผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว
นรีลักษณ์ วรรณสาย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลตกค้างของสารเคมีพ่นให้ต้นแห้งและผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว
ชื่อเรื่อง (EN): Residue of pre-harvest desiccants and its impacts on mungbean seed quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นรีลักษณ์ วรรณสาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nareeluck Wannasai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สารเคมีพาราควอท และ 2,4-ดี เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายโดยการพ่นให้ใบถั่วเขียวร่วงและต้นแห้งพร้อม เก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด การศึกษาปริมาณสารพิษตกค้างในเมล็ด และผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์จึงได้ดำเนิน การ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิษณุโลก ปี 2553 โดยวางแผนการทดลองแบบ Spit plot จำนวน 3 ซ้ำ กำหนด ให้ Main plot คือการใช้สารเคมีพาราควอทอัตรา 100-200 กรัม (a.i)/ไร่ พ่นชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับสาร 2,4-ดี อัตรา 200 กรัม (a.i)/ไร่ ส่วน Subplot คือระยะเวลาเก็บเกี่ยวหลังพ่น 5 และ 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นพิษของสารเคมีต่อถั่ว- เขียวทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกัน โดยสังเกตอาการตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังพ่น และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนกระทั่งต้นและฝัก- แห้งภายใน 4-5 วัน การผสมพาราควอทด้วย 2,4-ดี ไม่ทำให้ความเป็นพิษแตกต่างกับพาราควอทเพียงอย่างเดียว จึงมีผล ทำให้ผลผลิต ปริมาณเมล็ดดี และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้านความงอกและความแข็งแรง ทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการเก็บเกี่ยว 5 หรือ 7 วันไม่ทำให้ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างใน เมล็ดถั่วเขียว พบว่าการใช้พาราควอทอัตรา 100-150 กรัม (a.i)/ไร่ มีปริมาณสารตกค้างต่ำกว่าค่าสูงสุดที่กำหนดให้มีได้โดย Codex ที่อ้างอิงจากถั่วเหลือง ในขณะที่การพ่นสารพาราควอทด้วยอัตราสูงถึง 200 กรัม (a.i)/ไร่ ที่เกษตรกรบางรายใช้พ่น กับถั่วเขียวพบสารพิษตกค้างสูงกว่าค่าที่กำหนด ส่วนสารเคมี 2,4-ดี อัตรา 200 กรัม (a.i.)/ไร่ ที่เกษตรกรใช้ พบปริมาณสาร พิษตกค้างในเมล็ดสูงเกินค่าที่กำหนด ดังนั้น การใช้พาราควอทอัตราต่ำสุดคือ 100 กรัม (a.i/ไร่ มีประสิทธิภาพใกล้เคียง กับการใช้อัตราสูง และไม่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณสารพิษตกค้างในเมล็ดยังคงใกล้เคียงกับค่าสูงสุดที่มีได้ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมด้านพิษ- วิทยาหากมีการนำเมล็ดไปบริโภคอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ (EN): Pre-harvest desiccants as paraquat and 2,4-D have been widely used by the farmers to hasten maturation of mungbean and facilitate machine harvesting. The residue of chemicals and its impacts on seed quality were investigated for safe recommendation by conducting a field experiment at the Phitsanulok Agricultural Research and Development Center in 2010. A split plot design with three replications was used. Main plots consisted of paraquat alone at the rate of 100-200 g/Rai and paraquat plus 2,4-D at the rate of 200 g/Rai. Subplots comprised two harvesting times at 5 and 7 days after application. Paraquat and 2,4-D were applied to mungbean at the R6 stage and harvested 5 and 7 days after the application. The results showed the similar phytotoxicity of desiccants for all treatments on mungbean leaves after the first hour and the whole plant was dry within 4-5 days. No significant difference in grain and seed yield of mungbean was observed due to chemical application and harvesting times. Seed quality was also not affected by chemicals compared to hand harvest. Since the residue of paraquat and 2,4-D was found to be above the maximum residue limits at a high rate of application of 200 g (a.i)/Rai, the lowest rate of paraquat at 100 g (a.i.)/ Rai was recommended as the safe level but further study on toxicology under long-term observation is required.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=311.pdf&id=602&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลตกค้างของสารเคมีพ่นให้ต้นแห้งและผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของสารพอกและวัสดุประสานต่างชนิดกัน ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง ผลของการใช้น้ำร้อนต่อเชื้อรา Macrophomina phaseolina และความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ตำแหน่งและการถ่ายทอดของเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ เชื้อรา Macrophomina phaseolina ที่ติดมากับเมล็ดถั่วเขียวและถั่วเขียวผิวดำ : ผลต่อความงอกและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ฤทธิ์ชีวภาพของผงเมล็ดพริกไทยดำต่อการควบคุมด้วงถั่วเขียว คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยางพาราและอายุการเก็บรักษาที่ระยะการพัฒนาผลต่างกัน ผลของการทำ osmopriming ด้วยสารเคมีต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของรูปแบบค้างที่มีต่อปริมาณและคุณภาพผลของเสาวรสหวาน พันธุ์เบอร์ 2 ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก