สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียในการควบคุมโรคผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียของเมลอน
สุดารัตน์ แก้วน้ำอ่าง, อังสนา อัครพิศาล, อรอุมา เรืองวงษ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียในการควบคุมโรคผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียของเมลอน
ชื่อเรื่อง (EN): Selection of Rhizobacteria to Control Bacterial Fruit Blotch of Melon
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
คำสำคัญ: โรคผลเน่าแบคทีเรีย(Bacterial fruit blotch) ไรโซแบคทีเรีย(rhizobacteria) Acidovorax citrulli Bacillus subtilis Pseudomonas monteilii
บทคัดย่อ: การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียปฏิปักษ์จากดินบริเวณรอบรากของเมลอน เพื่อใช้ในการควบคุมการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax citrulli สาเหตุโรคผลเน่าของเมลอน สามารถแยกเชื้อได้ทั้งหมด 149 ไอโซเลท ด้วยวิธี soil dilution plate ซึ่ง 141 ไอโซเลท แยกจากแปลงเกษตรกรในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และ 8 ไอโซเลท จากศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียปฏิปักษ์ด้วยวิธี paper disc diffusion พบว่า มี 4 ไอโซเลท ที่สามารถยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคได้ ได้แก่ ไอโซเลท S93, S97, S125 และ S126 โดยมีบริเวณยับยั้งเท่ากับ 1.44, 1.36, 1.74 และ 0.86 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อนำไรโซแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในสองลำดับแรกไปทดสอบการควบคุมโรคในโรงเรือนทดสอบ พบว่า ไอโซเลท S125 สามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ร้อยละ 70.00 และไอโซเลท S93 สามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ร้อยละ 63.33 เมื่อจัดจำแนกไรโซแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 2 ไอโซเลท โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น และการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีน 16S rDNA พบว่า ไอโซเลท S125 มีความเหมือนกับเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas monteilii ถึงร้อยละ 100 และ ไอโซเลท S93 มีความเหมือนกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis ถึงร้อยละ 99
บทคัดย่อ (EN): Selection of antagonistic bacteria from melon rhizosphere for controlling Acidovorax citrulli causing bacterial fruit blotch disease of melon was carried out. Total of 149 rhizobacteria isolates were isolated by soil dilution plate method, 141 isolates from Ban Ruean subdistrict, Pa Sang district, Lamphun province and 8 isolates from Mae Hia Agricultural Research, Demonstrative and Training Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. Paper disc diffusion method was used to evaluate the antagonistic activity of isolated rhizobacteria against A. citrulli. Four isolates of rhizobacteria demonstrated an inhibitory activity including isolates S93, S97, S125 and S126 with inhibition zone of 1.44, 1.36, 1.74 and 0.86 cm, respectively. The results of screening test for controlling bacterial fruit blotch disease in greenhouse exhibited that isolates S125 and S93 could inhibit disease development with 70.00% and 63.33%, respectively. Identification of both effective antagonistic rhizobacteria, isolates S125 and S93, was conducted based on morphological characteristic and 16S rDNA sequencing. The result showed that partial gene sequencing of isolate S125 was 100% homology with Pseudomonas monteilii and isolate S93 was 99% homology with Bacillus subtilis.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียในการควบคุมโรคผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียของเมลอน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2561
เอกสารแนบ 1
ระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์สำหรับการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดโรคเน่าของผลมังคุด การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การคัดเลือกแบคทีเรียจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลิตเอทานอล การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบคทีเรีย Xenorhabdus nematophila เพื่อควบคุมไรศัตรูเห็ด การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002 โรคผลเน่าของเงาะหลังการเก็บเกี่ยวและการควบคุม การคัดเลือกฟักทองเพื่อความหลากหลายของทรงผลและคุณภาพผลที่ดี โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม ชนิด ปริมาณ และชีววิทยาของไรบนฝ้ายในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก