สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย( Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromis niloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 ( พ.ศ. 2555-2559 )
จอมสุดา ดวงวงษา, บัญญัติ มนเทียรอาสน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย( Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromis niloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 ( พ.ศ. 2555-2559 )
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison on Earthy-Musty Odors concentrations in hybrid walking catfish meat from “Biological-Way-of-Life” system ponds with and without nile tilapia (Oreochromis niloticus ) for food safety standard based on strategy of Maejo University, Stage 1 ( 2012 – 2016 )
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย( Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus ) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล ( Oreochromis niloticus ) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย แม่โจ้ โดยใช้ระบบชีววิถีผักตบชวาในสัดส่วนของพื้นที่ การทดลองใช้ปลาดุกบิ๊กอุย อายุ 21-23 วัน ขนาดตัว 5-10 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัว/ตารางเมตร ปลานิลขนาดตัว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัว/ ตารางเมตร บ่อเลี้ยงแบบคอนกรีตโดยใช้ระบบชีววิถีผักตบชวา 30 % แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.เลี้ยงเฉพาะปลานิล 2.เลี้ยงเฉพาะดุกบิ๊กอุย และ3.เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิล เมื่อสิ้นสุดการ ทดลอง พบว่ารูปแบบการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิล ปริมาณกลิ่นสาปโคลนชนิด Geosmin และ 2-Methylisoborneol เนื้อปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิล เมื่อเทียบกับการเลี้ยงแบบเฉพาะปลานิลและปลา ดุกบิ๊กอุยแยกกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของคุณภาพน้ำในบ่อ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในส่วนของกลุ่มที่ 2 มีค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำและค่าแอมโมเนีย ดีกว่ากลุ่ม 1 และ3 ในส่วนประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาทั้งสามกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นรูปแบบการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิล โดยใช้ระบบชีววิถี ผักตบชวา 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถช่วยควบคุมปริมาณสารกลิ่นสาปโคลนทั้งสองชนิดในเนื้อปลา ดุกบิ๊กอุยและปลานิลได้ คำสำคัญ : ชีววิถี, สารกลิ่นสาปโคลน, ปลาดุกบิ๊กอุย, ปลานิล, ผักตบชวา
บทคัดย่อ (EN): This study was conducted to compare earthy-musty odors concentrations in hybrid walking catfish (Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus) meat from “Biological-Way-Of-Life” system with and without Nile tilapia (Oreochromis niloticus) for food safety standard based on strategy of Maejo University. This study used hybrid walking catfish age 21-23 days with 5-10 cm in size and Nile tilapia 3-5 cm in size, 30 fishes per m2 in the cement pond using Biological-Way-Of-Life system with 30% of water hyacinth. The experiment was assigned to 3 groups: 1) Nile tilapia only 2) hybrid walking catfish only and 3) Hybrid walking catfish and Nile tilapia. The result indicated that the smell of mud from Geosmin and 2-Methylisoborneol in hybrid walking catfish and Nile tilapia was not significant different (P>0.05) compare to the first and second group. In addition, the dissolved oxygen (DO) value and ammonia value in group 2 are greater than group 1 and 3. Whereas, growth performance among three groups were no different. Therefore, hybrid walking catfish culture with Nile tilapia using Biological-Way-Of-Life system 30 % of water hyacinth cannot reduce the amount of mud smell in both types of fish. Keywords: Biological way of life, Mud smell, Catfish, Nile tilapia, Water hyacinth
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย( Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromis niloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 ( พ.ศ. 2555-2559 )
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2559
การวิจัยและพัฒนาระบบชีววิถีเพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ( Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus ) ร่วมกับปลานิล ( Oreochromis niloticus ) เป็นอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โ การใช้ระบบชีววิถีเพื่อลดปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุก [Clarias gariepinus(Linnaeus,1758)] เพื่ออาหารปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus) การศึกษาประสิทธิภาพสารดูดซับสารพิษอะฟลาท็อกซินจากแหล่งดิน ในประเทศไทยในอาหารปลานิล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก