สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมชุดที่ 1 ในสถานที่ต่าง ๆ
สมชาย ลือมั่นคง, ปิยาภรณ์ เพชรสูงเนิน, สุริยะ จันทร์แสงศรี, ลำแพน สารจันทึก, อัญชลี เชื้อบุญมี, ธเนศ จันทร์เทศ, ประชาชาติ นพเสนีย์, ปรีชา แต่งผิว - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมชุดที่ 1 ในสถานที่ต่าง ๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Regional Yield Trial of Mulberry Hybrid Varieties Set 1 in Various Locations
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ: พันธ์ุหม่อนลูกผสมชุดที่ 1
บทคัดย่อ: ทำการเปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมชุดที่ 1 จำนวน 4 พันธุ์ โดยมีหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์บุรีนัมย์ 51 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานใช้ระยะปลูก 1.50 x 0.75 เมตร ปลูก 4 แถวๆ ละ 10 ต้นต่อแปลงย่อย วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ ตัดแต่งหม่อนปีละ 4 ครั้ง คือตัดต่ำ ตัดกลาง ตัดแขนง 1 และตัดแขนง 2 ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 3,000 กก./ไร่/ ปี โดยใส่เพียงครั้งเดียวหลังตัดต่ำ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่/ ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ใส่ทันทีหลังตัดต่ำ หลังตัดกลาง และหลังตัดแขนง 1 ส่วนหลังตัดแขนง 2 ไม่มีการใส่ปุ๋ยเนื่องจากอยู่ในช่วงหมดฝน ทำการเก็บข้อมูลปีละ 4 ครั้ง ห่างกันประมาณ 3 เดือน หลังตัดแต่งแต่ละครั้ง โดยเก็บข้อมูลจาก 2 แถวกลาง เว้นต้นหัวท้ายข้างละ 1 ต้น รวมเก็บข้อมูล 16 ต้นต่อแปลงย่อย ลักษณะที่บันทึกได้แก่ ผลผลิตใบ(กก./ไร่)องค์ประกอบของผลผลิตใบ ได้แก่ ระยะปล้อง(ซม.) จำนวนกิ่งสมบูรณ์ต่อต้น(กิ่ง/ต้น) ความยาวกิ่งสมบูรณ์(ซม.) ความยาวกิ่งเก็บเกี่ยว(ซม.) และน้ำหนัก 50 ใบ(กรัม) นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ชัยภูมิ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เลย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สกลนคร และเก็บข้อมูลติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี พบว่า พันธุ์บุรีรัมย์ 60 ให้ผลผลิตใบรวมเฉลี่ย 3 ปี 6 สถานที่ สูงสุด SRCM 9124-12, SRCM 9005-142, SRCM 9102-20, บุรีรัมย์ 51 และ SRSM 8601-66 ให้ผลผลิตใบรวมเฉลี่ยรองลงมาและต่ำสุดเท่ากับ 1,331, 1,305, 1,258, 1,216, 1,115 และ 1,078 กก./ไร่/ปี คิดเป็น 100, 98, 94, 91, 84 และ 81 % ของพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ตามลำดับพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ให้ผลผลิตใบรวมเฉลี่ยไม่แตกต่างจากพันธุ์ SRCM 9124-12, SRCM 9005-142 และ SRCM 9102-20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ให้ผลผลิตใบสูงกว่าพันธุ์ บุรีรัมย์ 51 และ SRSM 8601-66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนองค์ประกอบของผลผลิตใบโดยเฉลี่ย ทั้ง 5 ลักษณะของหม่อนทั้ง 6 พันธุ์ มีทั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2553-15.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมชุดที่ 1 ในสถานที่ต่าง ๆ
กรมหม่อนไหม
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
เปรียบเทียบหม่อนลูกผสมชุดที่ 2 การประเมินและคัดเลือกหม่อนลูกผสมชั่วที่หนึ่งเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ทดสอบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมชุดที่ 1 ในภาคเกษตรกร การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน เปรียบเทียบมาตรฐานผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมในศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ การปรับปรุงพันธุ์หม่อนเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพใบ หม่อนชุดที่ 2 การคัดเลือกครั้งที่ 1 การเปรียบเทียบคุณสมบัติของไหมพันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสมชั่วที่1 และพันธุ์ลูกผสมชั่วที่2 ในแง่ของการผลิตไข่ไหม เปรียบเทียบผลผลิตพันธุ์หม่อนลูกผสมชุดที่ 3 ในสถานที่ต่าง ๆ การเปรียบเทียบผลผลิตหม่อนสายพันธุ์แก้วชนบทภายในศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา การเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นของอ้อยลูกผสมชุด CSB15 ในเขตภาคกลาง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (ชุดที่ 2)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก