สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจและระบบการผลิตที่เหมาะสมของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน
พัชรินทร์ สุภาพันธ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจและระบบการผลิตที่เหมาะสมของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): The Economic Value-Added and Optimal Production System Analysis of Fresh Vegetable Processed by Good Agricultural Practice (GAP) to Organic Farming in the Upper Northern of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชรินทร์ สุภาพันธ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และระบบการผลิตที่เหมาะสมของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยการสำรวจภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้ผลิตผักตามมาตรฐานการรับรอง GAP ที่ได้รับการจดทะเบียนรับรองตามระบบฐานข้อมูลของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ของกรมวิชาการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 210 ครัวเรือน นำมาวิเคราะห์หามูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value Added: EVA) ของความแตกต่างระหว่างกำไรจากการดำเนินงานหรือกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี และผลคูณของค่าเฉลี่ยต้นทุนการลงทุนของกิจการกับเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ขององค์กรในการทำธุรกิจ เท่ากับเงินลงทุนในเงินทุนหมุนเวียนบวกกับเงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และการวิเคราะห์ระบบการผลิตที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรมเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่าค่า EVA มีค่าเป็นบวก แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรที่ปลูกผักในระบบ GAP มีรายได้สูงกว่าต้นทุนการลงทุน และการผลิตผัก GAP นำมาซึ่งกำไรสูงสุดให้แก่ครัวเรือนเกษตรกร ซึ่งมีค่าเท่ากับ 25,327.19 บาท โดยมีลักษณะการผลิตผักมากกว่าหนึ่งชนิดในพื้นที่เดียวกันเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ อีกทั้งการผลิตผักตามมาตรฐานการรับรอง GAP ถือเป็นแรงจูงใจ ที่จะเกิดการพัฒนาต่อยอดให้เป็นการผลิตอินทรีย์ในอนาคตได้ เนื่องจากมาตรฐาน GAP นั้นเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืช ของการตรวจสอบรับรองกระบวนการผลิตพืช ที่ระบุรายละเอียดข้อกำหนดด้านการจัดการกระบวนการผลิต ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติที่ดีทางการผลิตพืชทุกชนิด เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืช และมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
บทคัดย่อ (EN): Objective of this study was to analyze the economic value added (EVA) that is difference between net operating profit after tax (NOPAT) and product weighted average cost of capital and invested capital which was investment in working capital plus investment in non-current assets. Second objective analyzed the optimum production system of fresh vegetable meeting good agricultural practice standard using linear programming. Data were collected by field surveys and interviews with the questionnaire. The sample group in this study consisted of 210 farmers who received the GAP certification in Chiang Mai province from Office of Agriculture Research Development Region 1 (OARD1). Findings showed that the EVA was positive value. It meant that farmers who grew vegetables in the GAP system had higher income than investment costs and brought about the maximum profit for farmer households. The maximum profit was equal 25,327.19 baht. The production of fresh vegetable meeting good agricultural practice standard should be diversified for preventing the risk of revenue. This production is motivation to develop for organic vegetables production. However, the GAP standard is used for improvement and certification of crop production processes that identifies details of requirement management process to provide safe and quality products for consumers
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-55-031.1
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-55-031.1.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจและระบบการผลิตที่เหมาะสมของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2555
เอกสารแนบ 1
การวิเคราะห์ระบบตลาดผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบปฏิบัติ การทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบห่วงโซ่อุปทานของผักที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สู่เกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ ระบบโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อการผลิตผักสลัดอินทรีย์ การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก