สืบค้นงานวิจัย
การประเมินสถานภาพของหอยมือเสือครอบครัว Tridacnidae บริเวณแนวปะการังหมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
กิติธร สรรพานิช - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การประเมินสถานภาพของหอยมือเสือครอบครัว Tridacnidae บริเวณแนวปะการังหมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
ชื่อเรื่อง (EN): Assessment on the status of Giant Clams : Family Tridacnidae along the coral reefs at Sattahip Islands, Chonburi Province. (under the Plant Genetic Conservation Project under the Royal initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิติธร สรรพานิช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประเมินสถานภาพของหอยมือเสือครอบครัว Tridacnidae บริเวณแนวปะการังหมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในปีพ.ศ. 2556-2557 จำนวน 22 สถานี พบว่าหอยมือเสือมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุดที่สถานีเกาะขามทิศเหนือจำนวน 8.3±0.7 ตัว/100 ม2 และน้อยที่สุดที่สถานีเกาะแรดทิศตะวันออกจำนวน 0.1±0.3 ตัว/100 ม2 สำหรับหอยมือแมวจะมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุดที่สถานีหาดลูกลม เกาะแสมสารจำนวน 25.4±0.4 ตัว/100 ม2 น้อยที่สุดที่หาดเทียน เกาะแสมสารคือจำนวน 0.1±0.3 ตัว/100 ม2 หอยมือแมวไม่พบ 8 สถานีคือ เกาะขามทิศใต้, เกาะแรด ทิศเหนือ, หาดเตย เกาะแสมสาร, หาดกรวด เกาะแสมสาร, เกาะฉาง เกลือ ทิศตะวันออก, เกาะจวง ทิศตะวันออก, เกาะคราม ทิศตะวันตกและเกาะครามน้อย ทิศตะวันตก หอยมือเสือจะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18.4±0.6 - 37.2±1.8 ซม. หอยมือแมวจะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8.6±1.1 - 15.7±1.9 ซม. ในปีพ.ศ. 2556 พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างทั้งหอยมือเสือกับสัดส่วน (%) ของ ปริมาณปะการังในรูปทรงกึ่งก้อน (submassive) และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (ปะการังอ่อน, สาหร่ายทะเล ฯลฯ) แต่มีสัมพันธ์เชิงลบกับปะการังเขากวางกิ่ง ส่วนหอยมือแมวนั้นจะมีสัมพันธ์เชิงบวกกับปะการังกึ่งก้อนเช่นกัน แต่มีสัมพันธ์เชิงลบกับปะการังเขากวางกิ่งและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในขณะที่ในปีพ.ศ. 2557 พบว่าหอยมือเสือกลับมี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับปะการังรูปทรงต่าง ๆ เกือบทุกชนิดรวมทั้งปะการังตายและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และมีสัมพันธ์เชิงลบกับปะการังกับปะการังรูปทรงก้อน ส่วนหอยมือแมว จะสัมพันธ์เชิงลบกับปะการังตาย ปะการังเขากวางกิ่ง เขากวางโต๊ะ ปะการังเคลือบ ปะการังแผ่นและปะการังกึ่งก้อน Assessment on the status of Giant Clams : Family Tridacnidae along the coral reefs at Sattahip Islands, Chonburi Province was conducted in 22 stations during the year 2013-2014. The maximum mean density of Tridacna squamosa was 8.3±0.7 ind./100 m2 at the north of Karm Island whereas the minimum was 0.1±0.3 ind./100 m2 at the east of Rad Island. The maximum mean density of Tridacna corcea was 25.4±0.4 ind./100 m2 at the Look-Lom beach, Samaesarn Island whereas the minimum was 0.1±0.3 ind./100 m2 at the Tien beach, Samaesarn Island. T. crocea did not find in 8 station: The south of Karm Island, the north of Rad Island, Toey beach, Samaesarn Island, Krouwd beach, Samaesarn Island, the east of Chang Kloe Island, the east of Juang Island, the west of Kram Island and the east of Kram Noi Island. In year 2013, the positive correlation showed in T. squamosa with the percentage proportion of submassive corals and other organisms but showed negative with the branching Acropora sp. The positive correlation also showed in T. crocea and submassive coral but with branching Acropora sp. and other organisms showed in negative. Whereas, in the year 2014, there were the The positive correlation between T. squamosa and almost all coral forms and also dead corals, and other organisms except massive corals. In T.crocea showed the negative correlation in dead corals, branching Acropora sp., table Acropora sp., encrusting corals, plate corals and submassive corals.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
เอกสารแนบ: http://dbsrv.lib.buu.ac.th/buuir/research/node/2989
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินสถานภาพของหอยมือเสือครอบครัว Tridacnidae บริเวณแนวปะการังหมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2557
เอกสารแนบ 1
การศึกษาพันธุ์พืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การทดลองปลูกขยายพันธุ์พืชบางชนิด ที่สำรวจพบในพื้นที่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา อ.เมือง จ.พะเยา การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ ความหลากหลายทางชีวภาพของด้วงมูลสัตว์ในระบบนิเวศ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ การสำรวจและอนุรักษ์ทรัพยากรพืชวงศ์ขิงตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี : องค์ความรู้ผันสู่วิถีไทยและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพร การศึกษามาตรฐานและสารสำคัญจากพืชสมุนไพร ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก