สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการส่งเสริมการเกษตร ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ในจังหวัดขอนแก่น
วุฒิศักดิ์ พลพินิจ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการส่งเสริมการเกษตร ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ในจังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วุฒิศักดิ์ พลพินิจ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องความต้องการในงานส่งเสริมการเกษตรของสมาชิก สถาบันเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการ สภาพการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานและความต้องการได้รับบริการส่งเสริมสนับสนุน โดยวิธีการสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 290 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ ผลการดำเนินงานของกลุ่ม สำหรับการแปลระดับปัญหา ใช้วิธีนำค่าเฉลี่ยระดับปัญหา ในแต่ละประเด็นไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์แปลความหมายที่ใช้ค่าเฉลี่ยกลาง ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยเฉลี่ยมีอายุ 45.4 ปี ร้อยละ 84.5 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 85 ทำนา มีพื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 17.9ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 73,215 บาท ร้อยละ 91.4 มีหนี้สิน เฉลี่ย 69,325.6 บาท มีแหล่งเงินกู้ที่สำคัญ คือ กองทุนหมู่บ้านและ ธ.ก.ส. สำหรับสภาพการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 7.4 ปี มีหุ้นเฉลี่ย 7.4 หุ้น แหล่งความรู้ทางการเกษตรร้อยละ 50.3 ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และได้รับความรู้จากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด คือ ร้อยละ 69 ส่วนมาก เคยรับการอบรมทางการเกษตร คือ ร้อยละ 75.8 และเคยไปศึกษาดูงานร้อยละ 66.9 มีสมาชิกเฉลี่ย 33 คน การผลิตสินค้า กลุ่มมีการวางแผนร้อยละ 89.8 โดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น ร้อยละ 67.9 สมาชิกมีการขอกู้เงินจากกลุ่มร้อยละ 48.37 กลุ่มจัดหาตลาดจำหน่ายผลผลิตร้อยละ 87.2 ปัญหาการดำเนินงานของกลุ่ม ที่อยู่ในเกณฑ์มาก คือ ต้นทุนการผลิตสูงและไม่มีตลาด ความต้องการในการส่งเสริมการเกษตร สมาชิกมีความต้องการมากทุกเรื่องได้แก่ ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านการถนอมอาหารและการแปรรูปจากพืชและจากสัตว์ สำหรับความต้องการสนับสนุนสมาชิกกลุ่มมีความต้องการมากทุกเรื่อง เช่น งบประมาณอุดหนุน ความรู้และเทคนิคการผลิต ฯลฯ วิธีการส่งเสริม สมาชิกมีความต้องการมาก คือ การอบรมและฝึกปฏิบัติ การศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ และงานแสดงสินค้าใหญ่ ๆ ส่วนวิธีการส่งเสริมที่สมาชิกต้องการอยู่ในเกณฑ์น้อย คือ การอบรมในห้องเรียนแบบนักเรียนและการดูวีดีโอ สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.4 เพศชายร้อยละ 45.69 อายุเฉลี่ย 14.7 ปี ร้อยละ 97.1 อยู่ระหว่างการศึกษา ร้อยละ 98.1 อาศัยร่วมกับบิดามารดา มีรายได้เงินสดเฉลี่ย 25,593.6 บาท เป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 1.7 ปี ใช้เวลาในการทำกิจกรรมเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยทำกิจกรรมกลุ่มรวมเฉลี่ย 2.3 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำกิจกรรมกลุ่มย่อยเฉลี่ย 2.3 ชั่งโมง/สัปดาห์ มีผู้ที่ช่วยในการตัดสินใจให้เป็นสมาชิกกลุ่ม คือ ครู และผู้นำท้องถิ่น สมาชิกร้อยละ 64.1 อยากนำความรู้เพื่อไปประกอบอาชีพ แหล่งความรู้ ข้อมูลข่าวสารการเกษตรที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ (30.1%) และคณะกรรมการกลุ่ม (29.1 %) ได้รับข่าวสารการเกษตรจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด คือร้อยละ 51.5 ครอบครัวสมาชิกมีพื้นที่การเกษตรร้อยละ 72.8 และโดยเฉลี่ย 13.7 ไร่ สมาชิก มีรายได้ร้อยละ 35.9 โดยมีรายได้เฉลี่ย 8,933.80 บาท แยกเป็นรายได้จากพืชเฉลี่ย 4,644 บาทและรายได้จากสัตว์เฉลี่ย 3,400.1 บาท ในด้านความต้องการพัฒนาการเกษตรและเคหกิจเกษตรของสมาชิก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ การรับความรู้เรื่องพืช สัตว์ เคหกิจเกษตร การดำเนินงานธุรกิจและการตลาด การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มรวม และความรู้การพูดในชุมชน การสาธิต ส่วนความต้องการพัฒนาด้านสังคมโดยเฉลี่ย ทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์มาก เช่น การประชุมประจำเดือน การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่ม ความต้องการการพัฒนาด้านเศรษฐกิจโดยเฉลี่ย ทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์มาก เช่น กลุ่มให้บริการด้านการเงินแก่สมาชิก บริการเกี่ยวกับเครื่องมือการเกษตร กลุ่มมีการติดต่อกับหน่วยงานภายนอกเกี่ยวกับการตลาดหรือเครดิตในการเงินและสินค้า ความต้องการการสนับสนุนจากผู้ปกครองที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ทุกกิจกรรมเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาก เช่น การได้รับสนับสนุนเงินทุนในการทำกิจกรรม พื้นที่ทำการเกษตร และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การเกษตร การสนับสนุนจากที่ปรึกษา สมาชิกมีความต้องการได้รับการสนับสนุนทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเกษตรและเคหกิจเกษตร วัสดุอุปกรณ์การเกษตร เงินทุนในการทำกิจกรรม พื้นที่ทำการเกษตรและได้รับการเยี่ยมเยียน ความต้องการการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของสมาชิกทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ การสนับสนุนความรู้ทางการเกษตรและเคหกิจเกษตร วัสดุอุปกรณ์การเกษตร เงินทุนในการทำกิจกรรม พื้นที่ทำการเกษตร และการเยี่ยมเยียน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการส่งเสริมการเกษตร ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ในจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความต้องการส่งเสริมการเกษตรของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรกิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร ในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง สภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินในจังหวัดนครราชสีมา สภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในจังหวัดปราจีนบุรี ความต้องการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการเกษตรของผู้อำนวยการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดขอนแก่น ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรในการผลิตพันธุ์ข้าวของโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการผลิตพันธุ์ข้าวของ โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่การส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก