สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสารสำคัญ Shikimic acid ในพืชสมุนไพรไทย
ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสารสำคัญ Shikimic acid ในพืชสมุนไพรไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Shikimic Acid in Thai medicinal Plants.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thawalrat Ratanadachanakin
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กรดชิคิมิก (shikimic acid) เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ในการสังเคราะห์ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์หากรดชิคิมิกในพืชสมุนไพร 18 ชนิด เช่น ย่านาง จันทน์แดง และบอระเพ็ด เป็นต้น โดยใช้โป๊ยกั๊กเป็นพืชอ้างอิง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดชิคิมิกด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีและแมสสเปกโทรเมตรี (GC-MS) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดชิคิมิก โดยใช้ไอออนโมเลกุล (molecular ion) ของอนุพันธ์กรดชิคิมิก–ไตรเมทิลไซเลน ซึ่งมีค่ามวลต่อประจุ (m/z) เท่ากับ 462 [M]+ ยืนยันว่าในพืชตัวอย่างมีกรดชิคิมิก ผลการทดลองพบกรดชิคิมิกในสารสกัดพืชสมุนไพร 15 ชนิด มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.01-16.78%
บทคัดย่อ (EN): Shikimic acid is used to synthesize oseltamivir, the most important anti-influenza drug. The shikimic acid content of eighteen medicinal plants, including Tiliacora triandra (Colebr.) Diels, Dracaena lourieri Gagnep., and Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson etc. were determined. Illicium verum Hook.f. was used as a reference. Gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) was used to quantitate the shikimic acid content by comparison with a shikimic acid standard. The shikimic acid-trimethylsilane molecular ion at m/z 462 [M]+ was used to verify the presence of shikimic acid in the plants examined. Results indicate that shikimic acid was found in fifteen of the medicinal plant extracts with a range of 0.01-16.78%.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-036
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 300,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/310771
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสารสำคัญ Shikimic acid ในพืชสมุนไพรไทย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แอนโดไฟติกแอคติโนมัยซิสจากพืชสมุนไพรไทย การศึกษาการแยกสารและโครงสร้างของสารจากพืชสมุนไพร Gynura auriculataCass. ที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน สารออกฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรป่าชายเลนที่มีต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งปอด A549 ของสารสกัดเอทานอลของเถาตดหมา เพื่อเพิ่มมูลค่าทางยาของพืชสมุนไพรไทย ผลของสารสกัดสมุนไพรไทยต่อการยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อ Aromonas hydrophila ต้นทุนการปลูกพืชสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเชียงเพ็ง สารสกัดอย่างหยาบของพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อรา โครงการพัฒนาพื้นที่ศึกษาและรวบรวมพืชสมุนไพร พืชอาหาร พืช พื้นเมือง พืชที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ในเขตภาคเหนือตอนบน ฐานข้อมูลการตรวจกรองหาสารมีฤทธิ์์์ืทางชีวภาพจากพืชสมุนไพรบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สังคมพืชสมุนไพรในป่าชุมชน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก