สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี
กฤษณ์ ลินวัฒนา, กฤษณ์ ลินวัฒนา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี
ชื่อเรื่อง (EN): Crop Improvement of Chinese cabbage (Brassica rapa var. pekinensis (Lour) Olsson
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปรับปรุงพันธุ์พืชผักให้เหมาะสมกับฤดูปลูก โดยการคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ กวางตุ้ง ฮ่องเต้ และคะน้าเป็นการศึกษาการผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน ซึ่งเป็นเชื้อพันธุ์ที่ได้รับจาก Asian Vegetable Research and Development Center–The world vegetable center (AVRDC-The world vegetable center) ร่วมกับพันธุ์พืชตระกูลกะหล่ำอื่นที่มีอยู่ในประเทศ ที่ปรับตัวได้ดีแล้ว โดยได้ดำเนินการคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ ในแปลงวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ขณะที่การเปรียบเทียบพันธุ์ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จ. พิจิตร และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี จ. ราชบุรี และการผสมพันธุ์ กวางตุ้งที่เป็นผลจากการเปรียบเทียบที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จ. น่าน ปี 2555-2557 ได้ดำเนินการการคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ กวางตุ้ง ฮ่องเต้ และคะน้าพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน โดยวิธีการคัดเลือกแบบสายพันธุ์แม่เพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิด ผลการศึกษา พบว่า คะน้าสายพันธุ์ LB 001 ให้ผลผลิตและคุณภาพในเกณฑ์ที่เหมาะสมที่จะแนะนำให้เป็นพันธุ์ผสมเปิด ขณะที่ กวางตุ้ง สายพันธุ์ที่นำมาจาก AVRDC ให้คุณภาพในการบริโภคมีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยต่ำ แต่ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ร้านค้า น้ำหนักเมล็ดที่ได้จากต้นคะน้าสายพันธุ์ LB 001 มีปริมาณสูงที่สุด (246 กรัม) ส่วนการคัดเลือกผักกาดกวางตุ้ง เพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ LB 003 (ฮ่องเต้) LB 006 (ฮ่องเต้) LB 007 (กวางตุ้ง) LB 009 (กวางตุ้ง) LB 010 (กวางตุ้ง) และ LB 012 (กวางตุ้ง+ฮ่องเต้) พบว่าผักกาดกวางตุ้งสายพันธุ์ LB010 และ LB012 มีรูปร่างของต้นทรงแจกัน ก้านใบสีเขียว และไม่แตกหน่อด้านข้าง ให้ผลผลิตดี กากใยต่ำ และมีการติดเมล็ดดี จึงมีความเหมาะสมในการนำมาคัดเลือกเพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อนในรอบการคัดเลือกต่อๆไป จากผลการปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ร้าค้า อย่างไรก็ตาม พบว่ามีบางชิดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงในการเปรียบเทียบพันธุ์ นอกฤดูขณะที่พันธ์กวางตุ้งจาก AVRDC ให้คุณภาพการบริโภคดี จึงได้ดำเนินการผสมเกสร และจะได้นำลูกผสมดังกล่าวมาคัดเลือกแบบผสมเปิดเป็นพันธุ์เพื่อเผยแร่ต่อไป การผลิตเมล็ดพันธุ์คัดกวางตุ้งพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน ด้วยการผสมเกสรข้ามสายพันธุ์ระหว่างผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า ร้านค้า 1, ร้านค้า 2, และผักกาดกวางตุ้งสายพันธุ์ LB 010 และ LB 012 เพื่อผลิตพันธุ์ผสมเปิดทนร้อน 4 คู่ผสม ได้แก่ คู่ผสม พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 x LB 010 พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 x LB 012 พันธุ์การค้า ร้านค้า 2 x LB 010 และ พันธุ์การค้า ร้านค้า 2 x LB 012 พบว่าน้ำหนักเมล็ดที่ได้จากการผสมข้ามระหว่างต้นผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า ร้านค้า 2 เป็นต้นแม่กับผักกาดกวางตุ้ง สายพันธุ์ LB 010 มีปริมาณสูงที่สุด (1.3 กรัม/ต้น) มีการติดเมล็ดสูงที่สุด 50% และจะนำไปคัดเลือกพันธุ์ผสมเปิดในระยะที่สองต่อไป การเปรียบเทียบพันธุ์ผักกาดกวางตุ้ง ที่นำมาจากแหล่งปลูกที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาผลิตพันธุ์ผสมเปิด โดยการปลูกผักกาดกวางตุ้งพันธุ์การค้า ร้านค้า 1-4 ปลูกเปรียบเทียบกับผักกาดกวางตุ้งพันธุ์น่าน และพันธุ์ที่ได้รับมาจาก AVRDC ซึ่งนำมาคัดเลือกพันธุ์จนได้พันธุ์ทนร้อน ได้แก่ กวางตุ้งสายพันธุ์ LB 012 และ LB 01 พบว่าผักกาดกวางตุ้ง พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 ร้านค้า 5 และ ร้านค้า 4 มีความสูง และความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด พันธุ์การค้า ร้านค้า 5 และ ร้านค้า 4 มีขนาดความยาว-กว้างใบมากที่สุด พันธุ์การค้า ร้านค้า 3 และ ร้านค้า 5 มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูงที่สุด พันธุ์การค้า ร้านค้า 4 มีผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด ส่วนผักกาดกวางตุ้งพันธุ์ LB 010 มีความหนาก้านใบ และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบ น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด นอกจากนี้สีใบจะเป็นสีเหลืองอมเขียวเข้ม-สีเขียวอมเทามะกอก ค่าสีอยู่ระหว่าง 142A-143C ส่วนสีก้านใบ เป็นสีเขียว ค่าสีอยู่ระหว่าง 138A-137D และปลูกผักกาดฮ่องเต้พันธุ์การค้า ร้านค้า 1-5 เปรียบเทียบกับผักกาดฮ่องเต้จาก AVRDC ซึ่งนำมาคัดเลือกพันธุ์จนได้พันธุ์ทนร้อน ได้แก่ สายพันธุ์ LB 003 พบว่าผักกาดฮ่องเต้ พันธุ์การค้า ร้านค้า 1 มีความสูง และความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด มีขนาดความยาว-กว้างใบมากที่สุด มีความยาว- ความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบมากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยว น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. สูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความยาว-กว้างใบ ความยาว-ความหนา และเส้นผ่าศูนย์กลางก้านใบ น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อพื้นที่ 6 ตร.ม. ของพันธุ์การค้า ร้านค้า 1 ไม่มีความแตกต่างจากพันธุ์การค้าพันธุ์อื่น นอกจากนี้สีใบจะเป็นสีเขียวอ่อน ค่าสีอยู่ระหว่าง 140C-143D ส่วนสีก้านใบ เป็นสีเขียวอมเทามะกอก ค่าสีอยู่ระหว่าง 137B-139A การเปรียบเทียบพันธุ์คะน้าในช่วงเหลื่อมฤดูร้อน เพื่อหาคะน้าพันธุ์ที่ทนร้อน พบว่าต้นคะน้าสายพันธุ์ LB 001 มีการเจริญเติบโต ด้านความสูงดีที่สุด และทรงพุ่มในช่วงสัปดาห์แรกมากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูงถึง 96.7% น้ำหนักต่อต้นสูง น้ำหนักต่อพื้นที่ และผลผลิตต่อไรสูง และ LB 002 มีการเจริญเติบโตด้านความสูง ทรงพุ่ม มีขนาดใบกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางยอดใหญ่ เปอร์เซ็นต์การเก็บเกี่ยวสูง 83.3% น้ำหนักต่อต้นสูงที่สุด น้ำหนักต่อพื้นที่ และผลผลิตต่อไรสูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างจากพันธุ์การค้าอื่น คำหลัก: การผสมพันธุ์ พันธุ์ทนร้อน การคัดเลือกพันธุ์ การเปรียบเทียบพันธุ์ พืชตระกูลกะหล่ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์ โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มันเทศประกอบการรับรองพันธุ์ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โครงการวิจัยและพัฒนาสบู่ดำ โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ว่านสี่ทิศ โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตมะนาว โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการศัตรูที่สำคัญของมันฝรั่ง โครงการวิจัยเทคนิคการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก