สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ
วีร์ กี่จนา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Culture of Nile Tilapia in Earthen Pond of the Farmer Participant in Project at Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีร์ กี่จนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): wee keejana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจ สภาพการเลี้ยงปลานิล สภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดินที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากรมประมงระดับ SL และระดับ GAP โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 217 ราย จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัยของจังหวัดชัยภูมิตั้งแต่ ปี 2550 ถึงปี 2553 โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส้าเร็จรูป SPSS for Windows วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าความแปรปรวน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ T-test, ANOVA (F-test)และ Scheffe?test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (p=0.05)ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมงระดับ SL และระดับ GAPส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.76 ปี ส่วนใหญ่ส้าเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีรายได้ในภาคการเกษตรมากกว่ารายได้นอกภาคการเกษตร และส่วนใหญ่มีภาวะหนี้สิน สภาพการเลี้ยงปลานิลพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เลี้ยงปลานิลไม่แปลงเพศเพื่อบริโภคและจ้าหน่าย มีระยะทางจากบ้านถึงสถานที่เลี้ยงปลานิลเฉลี่ย 1.18 กิโลเมตร ประสบการณ์ในการเลี้ยงปลานิลเฉลี่ย 9.76 ปี มีพื้นที่ฟาร์มเฉลี่ย 4.98 ไร่ส่วนใหญ่ซื้อลูกพันธุ์ปลานิลขนาด 2 - 3 เซนติเมตร ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างไม่มีการอนุบาลลูกปลานิลก่อนเลี้ยงและปล่อยปลาลงบ่อโดยไม่มีการแช่ถุงลูกพันธุ์ปลาในน้้าก่อนท้าการปล่อย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องโรคปลานิลระหว่างการเลี้ยงแต่ไม่ทราบแหล่งให้ค้าแนะน้าในการปูองกันและรักษาโรค ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมงระดับ SL ส่วนใหญ่มีพื้นที่ฟาร์ม ผลผลิตปลานิลทั้งปี และรายได้จากการจ้าหน่ายปลานิลน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมงระดับ GAP และกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2กลุ่มมีความแตกต่างกัน ในด้านรูปแบบการจับปลาและแหล่งจ้าหน่ายปลานิล กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมงระดับ SLและระดับ GAP มีต้นทุนการผลิตปลานิลเฉลี่ยต่อกิโลกรัมเท่ากับ 20.44 และ 24.43 บาทตามล้าดับ รายได้ทั้งหมดต่อไร่เท่ากับ 13,198.88 และ 22,055.47 บาท ตามล้าดับ ก้าไรสุทธิต่อไร่ เท่ากับ4,352.44 และ 5,838.30 บาท ตามล้าดับ และก้าไรสุทธิต่อกิโลกรัมเท่ากับ 10.06 และ 8.07 บาท ตามล้าดับและพบปัญหาการเลี้ยงปลานิลระดับน้อยกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมงระดับ GAP โดยที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความต้องการระดับมาก เพื่อให้ภาครัฐเข้าไปส่งเสริมรายบุคคลที่ครัวเรือน หรือที่บ่อเลี้ยง และต้องการได้รับการสนับสนุนระดับมากด้านลูกพันธุ์ปลานิลและอาหาร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมงระดับ GAP มีความต้องการสนับสนุนระดับมากด้านการตรวจสอบสุขภาพปลานิล และการให้ค้าแนะน้าเรื่องการรักษาโรคปลานิลจากภาครัฐจากผลการเปรียบเทียบปัจจัยทางด้านเทคนิคการเลี้ยงปลาของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิธีการปล่อยลูกปลานิล และการอนุบาลลูกปลานิลก่อนปล่อยเลี้ยง ตลอดจนการเปรียบเทียบปัจจัยทางด้านความพร้อมและลักษณะทางกายภาพของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การได้รับมาตรฐานฟาร์มจากกรมประมง การได้รับข่าวสารความรู้โครงการอาหารปลอดภัย การได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงปลาของกลุ่มตัวอย่างและขนาดพื้นที่ฟาร์มของกลุ่มตัวอย่างเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยข้างต้นจ้าแนกตามลักษณะทางลักษณะเศรษฐกิจพบว่าผลผลิตสัตว์น้้าต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่ และผลตอบแทนจากการผลิตต่อไร่ ส่วนใหญ่มีความแตกต่างในปัจจัยทางด้านเทคนิคการเลี้ยงปลาและปัจจัยทางด้านความพร้อมและลักษณะทางกายภาพของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการทางสถิติ T-test และ ANOVA (F-test) (p<0.05)เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยข้างต้น จ้าแนกตามปัญหาในการเลี้ยงปลา พบว่า ชนิดพันธุ์ปลา โรคปลา สารเคมีที่ใช้ในการเลี้ยงปลา และการจ้าหน่ายผลผลิต มีความแตกต่างกันในด้านปัจจัยทางด้านความพร้อมและลักษณะทางกายภาพของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการทางสถิติ T-test และ ANOVA (F-test)(p<0.05)เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยข้างต้น จ้าแนกตามความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการความรู้ด้านการส่งเสริมการเลี้ยงและการสนับสนุนตลอดจนการบริการการผลิต และมีความแตกต่างกันในปัจจัยด้านความพร้อมและลักษณะทางกายภาพของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทางสถิติ T-test และ ANOVA (F-test) (p<0.05)
บทคัดย่อ (EN): From the result, socio-economic characteristic, culture situation, problem and needof nile tilapia farmers who culture in the pond were corrected from 217 respondents whoattended Food Safety project including Safety Level and GAP Level in Chaiyaphum provinceduring 2007-2009. Questionnaire survey was used for data collection between January-May 2012.SPSS for windows was used for qualitative and quantitative statistical analysis includingfrequency, percentage, mean standard deviation, T-test, Analysis of Variance – ANOVA (F-test)with Scheffe?s pair-wise comparisons by using 95% confident interval (p=0.05)The result shown that majority of both Safety Level and GAP Level groups weremale and had primary education. There were various mean of demographic characteristics.Age was 55.76 years. Distance from home to farm was 1.18 Kilometer. Fish culture experiencewas 9.76 year while farm area was 4.98 rai. Most of sampling from both two groups culturednile tilapia for consumption and trading. Source of incomes from agriculture activities washigher than non-agricultural activities and they had loan crisis. The fingering were 2-3centimeter length that most of sampling had no nursery and no float fingering bag beforerelease to the pond. A few of them had problem from fish disease but they still had nosource for consult about fish culture. A lot of Safety Level farmers had smaller farm size, lowerproduction, and lower profit than GAP farmers. There had different type of fish harvesting andmarketing sources. Cost of production form Safety Level and GAP Level were 20.44 and 24.43Baht/Kilogram respectively. The income of fish culture form Safety Level and GAP were13,198.88 and 22,055.47 Baht/Rai. Net profit of them were 4352.44 and 5838.30 Baht/Rai. Netprofit per Kilogram of them were 10.06 and 8.07 Baht/Rai. GAP Level groups had low problemsfor fish culture but both of them need contribution from government on household income,pond, fingering and fish feed. For GAP Level groups, they need more contribution fromgovernment on fish health and fish disease.The comparison of cultural technique factors were method of fingering release andfingering nursery. Also comparisons of farm readiness factors were standard of fish culture,awareness of Food Safety project information, fish culture training and size of farm. Result ofcomparison of culture technique factors and farm readiness factors classified by socio-4economic characteristic, there were different on yield, cost of production, and net income byusing T-test analysis and ANOVA (F-test) (p<0.05)However, result of comparison of farm readiness factors classified by problem offish culture, there were different on fingering, fish disease, chemical, trading, by usingT-test analysis and ANOVA (F-test) (p<0.05)Finally, comparison of all factors (cultural technique factors and farm readinessfactors) classified by need of sampling, there were different on knowledge, culture and fishprocessing by using T-test analysis and ANOVA (F-test) (p<0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&opt=mrc&bid=2492&lang=1&db=Main&pat=&cat=aut&skin=s&lpp=20&catop=edit&scid=zzz&op=dsp&opt=mrc&bid=2492&lang=1&db=Main&pat=&cat=aut&skin=s&lpp=20&catop=edit&scid=zzz
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดชัยภูมิ
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ
วีร์ กี่จนา
กรมประมง
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ประมงในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของจังหวัดตาก ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ การเลี้ยงหอยแครง (Anadara sp.)ในบ่อดิน ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก