สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนารูปแบบการตลาดเนื้อโคและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการตลาดเนื้อโคและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thananan Suppahakitchanon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนารูปแบบการตลาดเนื้อโคและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม : กรณีศึกษาจังหวัด เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษามูลค่าของกระบวนการแปรรูปตั้งแต่โคมีชีวิตที่เข้าสู่โรงฆ่า จนถึงการตัดแต่งซากโคออกเป็นชิ้นส่วนที่สําคัญเพื่อการจําหน่ายในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อ ศึกษาการเพิ่มมูลค่าของผลพลอยได้จากการชําแหละโคให้ได้ประโยชน์สูงสุด (3) เพื่อศึกษารูปแบบ การตลาดเนื้อแดงจากชิ้นส่วนหลักและชิ้นส่วนรองที่ได้จากการตัดแต่งซากโค (4) เพื่อวิเคราะห์ถึง มูลคาาเพิ่มผลิตภัณฑ์เนื้อโคจากการบริโภคของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ ดังต่อไปนี้ โคพื้นเมืองและโคนมเพศเมียคัดทิ้ง ที่เข้าสู่โรงฆ่าผ่านกระบวนการแปรรูปโคมีชีวิตจนถึงการ ตัดแต่งซากโคออกเป็นชิ้นส่วนที่สําคัญ เพื่อการจําหน่ายมีน้ำหนักเข้าฆ่าเฉลี่ย 265 และ 483 กิโลกรัม/ตัว (ราคาโคมีชีวิต 37 และ 40 บาท/กิโลกรัม) มีต้นทุนการชําแหละโคเฉลี่ย 11,632 และ 21,580 บาท/ตัวและหากมีการนําไปจําหน่ายเป็นชิ้นส่วนเนื้อแดง เครื่องในรวม และผลพลอยได้พบว่า จะมีรายได้รวมจากการจําหน่ายในราคาส่งเฉลี่ย 11,505 และ 34,496 บาท/ตัว และรายได้รวมในราคา ปลีกเฉลี่ย 14,728 และ 36,918 บาท/ตัว ทําให้มีส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3,223 และ 2,421 บาท/ตัวและ เมื่อหักต้นทุนการชําแหละ พบว่าผลตอบแทนจากโคพื้นเมืองที่จําหน่ายในราคาส่งจะขาดทุนเฉลี่ยตัว ละ 127 บาท ขณะที่โคนมเพศเมียคัดทิ้งจะได้กําไรเฉลี่ยตัวละ 12,916 บาท และหากจําหน่ายในราคา ปลีก พบว่าจะได้กําไรสุทธิเฉลี่ยตัวละ 3,095 และ 15,338 บาท ตามลําดับ การจําหน่ายชิ้นส่วนเนื้อและผลพลอยได้แบบเดิมตามท้องตลาด (จําหน่ายชิ้นส่วนเนื้อเครื่องใน ผลพลอยได้กระดูกและไขมันจากการตัดแต่ง) ของโคทั้งกลุ่มโคพื้นเมือง (4 ตัว น้ำหนักผลผลิตรวม 692.3 กิโลกรัม) และโคนมเพศเมียคัดทิ้ง (3 ตัว น้ำหนักผลผลิตรวม 966.7 กิโลกรัม) ทําให้ได้ผลตอบแทนสุทธิ (รายได้สุทธิ) 35,240.00 บาท เมื่อทําการเพิ่มมูลค่าให้มีรูปแบบการจําหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น (จําหน่าย เป็น เนื้อสด เนื้อสไลด์ชุดลาบ และเนื้อหมักเครื่องในบรรจุในถุงสุญญากาศผลพลอยได้ผลิตภัณฑ์กระดูก และไขมันจากการตัดแต่ง) ทําให้ได้ผลตอบแทนสุทธิ (รายได้สุทธิ) 66,676.13 บาท (รวมเนื้อคงเหลือมูลค่า 28,061.00 บาท) เมื่อนําผลตอบแทนสุทธิ (รายได้สุทธิ) ของทั้ง 2 รูปแบบการจําหน่ายมาเปรียบเทียบกันจะ พบว่าผลตอบแทนหลังการเพิ่มมูลค่าเนื้อโคจะมีผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 31,436 บาท (ร้อยละ 89.20) แต่อย่างไรก็ตามผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่รวมค่าลงทุนและเสื่อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อ (EN): The objectives of the meat and the products marketing development for build the value added : Chiang Mai province case study were (1) for study the cost of the procedure processes since the cow are alive that reach slaughter until the carcass cutting goes out to are important component for the sale in Chiang Mai. (2) for study the value added of the by-product from meat cutting for maximize profit. (3) for study meat marketing format from major and minor component that from the carcass cutting. (4) for analyze the value added of meat products from consuming in the Chiang Mai. Can conclude the education has as follows; The natives cow and dairy cow selected to abandon reach to the slaughter through the procedure processes the cow is alive until the carcass cutting goes out to are important component for the sale. it had slaughter weighs are average 265 and 483 kg./cow (alive cow price are 37 and 40 baht/kg.). There is cutting open average 11,632 and 21,580 baht/cow and if there is the lead goes to sell is red meat component, the entrails and the by-product found that will have the totals income from the sale in the wholesale price average 11,505 and 34,496 baht /cow and the totals income in the retail price average 14,728 and 36,918 baht/cow. It's make participate differ that increase average 3,223 and 2,421 baht/cow and when erase the cutting cost found that the gain from natives cow that sells in the wholesale price will to lose average 127 baht/cow while dairy cow will selected to abandon are profitable average 12,916 baht/cow and if sell in the retail price found that will net profitable average 3,095 and 15,338 baht/cow respectively. Meat and the by-product sale in the originally market model (sell a piece of meat, entrails, by-product, the bone and the fat from the cutting) of both of natives cow (4 cow; product total weight are 692.3 kg.) and dairy cow selected to abandon (3 cow; product total weight are 966.7 kg.) and make the net profit was 35,240.00 baht. When do value added has various sale format (sell the fresh meat, sliced meat, minced meat set, the marinate meat, the entrails packs in vacuum bag, by-product, products and the bone and the fat from the cutting) make the net profit was 66,676.13 baht (the meat remains total up 28,061.00 baht). When compare the both of the net profit found that the benefit after value added of meat cow were increase 31,436 baht (89.20 %) however the benefit that increased not include the cost of invests and deteriorate the equipment that used in doing products.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สกว.-53-003
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5320017
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนารูปแบบการตลาดเนื้อโคและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลการเสริมข้าวกล้องงอกในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปรี้ยวจากเนื้อโค การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพด้านการตลาดและความเต็มใจจะจ่ายสินค้าเนื้อสุกรอินทรีย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน – อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ศึกษาแนวโน้มความต้องการการบริโภคเนื้อคุณภาพสูงและเนื้อคุณภาพปานกลางภายในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ข้อจำกัดของการมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเพียงพอในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ความชุกของ Sarcocystis spp. ในเนื้อโค ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก