สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย
วีระ วรปิติรังสี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Production System Trial of London Low Canopy Pruning Orchard in Chiang Rai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระ วรปิติรังสี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Veera Vorapitirangsree
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยใน จ.เชียงราย ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2550 – กันยายน พ.ศ. 2554 โดยการเปรียบเทียบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ย และแบบเกษตรกร (พุ่มสูง) ในแปลงเกษตรกรตามแหล่งผลิตสำคัญของ อ.เมือง แม่ลาว พานและป่าแดด จ.เชียงราย จำนวน 10 แปลง สุ่มคัดเลือก ต้นลำไย จำนวน 20 ต้น/แปลง แบ่งเป็น 2 กรรมวิธีๆ ละ 10 ต้น เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี t-test ผลการทดสอบพบว่าระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยไม่ทำให้ลำไยมีการออกดอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับระบบการผลิตแบบเกษตรกร ในระยะ 2 ปีแรก แต่ในปีที่ 3 การผลิตแบบพุ่มเตี้ยส่งผลให้ลำไยออกดอกดีกว่าแบบเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการติดผลพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ปี ของทั้ง 2 ระบบการผลิต ส่วนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นในปีแรก (พ.ศ.2552) ระบบการผลิตแบบพุ่มเตี้ยมีผลผลิตต่อต้นต่ำกว่าแบบเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในปีที่ 2 และ 3 สำหรับค่าประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยว (กก.ชม./แรง) พบว่า การผลิตแบบพุ่มเตี้ยมีค่าประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยว สูงกว่าการผลิตแบบเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งทางสถิติทั้ง 3 ปี และเมื่อคำนวณรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อต้น พบว่าระบบการผลิตแบบพุ่มเตี้ยเริ่มให้มากกว่าการผลิตแบบเดิมของเกษตรกรในปีที่ 3
บทคัดย่อ (EN): Production system trial of longan low canopy pruning orchard in Chiang Rai province had conducted during October 2007-September 2011. The trail was compared low canopy pruning (LCP) and farmer practice (FP) – or high canopy in 10 farmer orchards, at Muaeng, Mae Lao, Phan and Pa Daet districts in Chiang Rai province. Twebty longan trees were sampling in each orchard and divided into 2 groups for treated. The t-test is used to compare the values of the means from two methods. The result had shown no significant in flowering percentage during the first 2 years but LPC tree was highly significant different in blossom in the 3 year. Number of fruit per panicle was no significant from all 3 years, between LCP and FP. Yield per tree in LPC tree was no significant different in 2 and 3 years but in 1 year that LPC tree gave yield per tree lower than FC tree. Harvesting efficiency (kg/hrs/man), LPC tree was highly significant different from FC tree over 3 years and net revenue became higher than FC tree in 3 year.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย
กรมวิชาการเกษตร
2556
เอกสารแนบ 1
สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สภาพการผลิตขิงของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเชียงราย สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี แนวทางการผลิตและการตลาดลำไยในจังหวัดเชียงราย การทดสอบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารและการจัดการทรงพุ่มในระดับแปลงเกษตรกรเพื่อประสิทธิภาพการผลิตลำไยนอกฤดู ผลของการตัดแต่งกิ่งต่อการแตกช่อใบและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลำไย การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก