สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด
ทวีศักดิ์ แสงอุดม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development Technology to Increase Efficiency of Pineapple Production
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การจัดการการผลิตสับปะรดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการจัดการโรคเหี่ยว ดำเนินการที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานีและสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ระหว่างปี 2553-2557 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เพลี้ยแป้งพาหะโรคเหี่ยว การควบคุมโรคฯ วัชพืชและตอสับปะรด รวมทั้งเทคนิคการขยายพันธุ์สับปะรดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลการดำเนินงานพบว่า ต้นสับปะรดที่รับเชื้อไวรัส PMWaV-2 และ PMWaV-1 + PMWaV-2 เริ่มตรวจพบแถบดีเอ็นเอของไวรัส PMWaV-2 ขนาด 609 คู่เบส หลังการถ่ายทอดโรคแล้ว 2 เดือน แต่ต้นสับปะรดเริ่มแสดงอาการใบอ่อนนิ่ม สีเหลืองซีด และ ลู่ลง หลังจากถ่ายทอดเชื้อแล้ว 4 เดือน สำหรับไวรัส PMWaV-1 เริ่มตรวจพบแถบของดีเอ็นเอ หลังการถ่ายทอดโรคแล้ว 4 เดือน และแสดงอาการเหี่ยวไม่รุนแรงเท่ากับต้นที่มีไวรัส PMWaV-1 + PMWaV-2 อยู่ร่วมกัน และเปอร์เซ็นต์การถ่ายทอดโรคของไวรัสทั้ง 2 strain ค่อนข้างสูงประมาณ 80-100% แสดงว่าเพลี้ยแป้งสีชมพูเป็นพาหะที่สำคัญในการถ่ายทอดโรคเหี่ยวสับปะรด สำหรับเพลี้ยแป้งสีเทา มีเปอร์เซ็นต์การถ่ายทอดโรคค่อนข้างต่ำ ประมาณ 20 % และสับปะรดไม่แสดงอาการของโรคหลังจากการถ่ายทอดไวรัสแล้ว 5 เดือน ด้านการจัดการโรคเหี่ยวโดยการจุ่มหน่อพันธุ์ด้วยวิธีการต่างๆมี 5 กรรมวิธี คือ 1) วิธีเกษตรกร 2) จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที 3) จุ่มหน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีอิมิดาโคลพริด อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 4) จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสาร NAA และ 5) จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกด้วยน้ำหมัก พบว่ากรรมวิธีการจุ่มน้ำร้อน 55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที มีต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวต่ำสุด 16.30 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่การจุ่มหน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีอิมิดาโคลพริด ส่วนกรรมวิธีการจุ่มหน่อในน้ำหมักและสาร NAA และกรรมวิธีเกษตรกร มีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคเหี่ยว 20.73 29.17 31.71 และ 62.95 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ด้านรายได้สุทธิพบว่า กรรมวิธีที่จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูกในน้ำร้อน ให้รายได้สุทธิสูงสุด คือ 20,380 บาท/ไร่ รองลงมา ได้แก่การจุ่มหน่อพันธุ์ด้วยสารเคมีอิมิดาโคลพริด น้ำหมัก สาร NAA และกรรมวิธีเกษตรกร ให้รายได้สุทธิ 15,150 7,220 2,400 และ -6790 บาท/ไร่ ตามลำดับ ด้านการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกในสับปะรด พบว่า ประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกสาร bromacil+diuron สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีและไม่เป็นพิษต่อสับปะรด วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.). Scop.) หญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachya Stapf.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) และ ผักยาง (Euphorbia heterophylla L.) ส่วนสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกพบว่า สาร bromacil+atrazine และ bromacil+diuron+ametryn สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีและไม่เป็นพิษต่อสับปะรด วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้ากินนี (Panicum maximum) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) ครามขน (Indigofera hirsute L.) สาบม่วง (Praxelis clematidea R.M. King) และ ผักยาง (Euphorbia heterophylla L.) ส่วนสารกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าตอสับปะรดคือสาร ที่สุด paraquat อัตรา 890 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ สามารถทำให้ต้นตอสับปะรดแสดงอาการเป็นพิษรุนแรง แต่สาร triclopyr มีประสิทธิภาพในการทำลายเนื้อเยื่อภายในลำต้นตอสับปะรดดีกว่าและจำนวนต้นตอสับปะรดที่งอกใหม่น้อย สำหรับการจัดการวัชพืชบาหยาในสับปะรด ได้ทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก 10 ชนิด ได้แก่ tebuthiuron+pendimethalin, flumioxazin, pendimethalin+diuron, hexaxinone/diuron, alachlor+diuron, pendimethalin+dimethenamid และ tebuthiuron+oxyfluorfen อัตรา 125+165, 20, 165+320, 600, 320+320, 165+225 และ 125+24 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ ก่อนการปลูกสับปะรด และการพ่นสารกำจัดวัชพืช metribuzin และ bromacil+diuron อัตรา 140 และ 560+560 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ หลังจากปลูกสับปะรด และกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลอง พบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืช พบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืชทุกกรรมวิธีสามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และสารกำจัดวัชพืชไม่เป็นพิษต่อสับปะรด ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ใช้สาร 10 ชนิด พบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกที่ระยะ 60 วันหลังพ่นสาร โดย bromacil+diuron, bromacil+atrazine, bromacil+ diuron+ametryn และ diuron+ametryn สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีและไม่เป็นพิษต่อสับปะรด วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้าท่าพระ (Richardia brasiliensis Gomez.) บาหยา (Asystasia gangetica ssp.) และ สาบม่วง (Praxelis clematidea R.M. King) ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบการเพิ่มปริมาณยอดอ่อนสับปะรดในอาหารเหลว (suspension culture) และระบบ temporary immersion bioreacter (TIB) ดำเนินการในสัปปะรด 2 พันธุ์ พบว่าสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียสามารถเพิ่มปริมาณยอดอ่อนสูงสุด 22.4 เท่า ในอาหารเหลว MS ที่เติม BA 3 ?M พันธุ์เพชรบุรีสามารถเพิ่มปริมาณยอดอ่อนได้ 18-19 เท่า ในอาหารเหลว MS ที่เติม BA 3 -6 ?M ร่วมกับNAA 2 ?M ภายในเวลา 8 สัปดาห์ โดยที่ยอดอ่อนที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่มีการพัฒนาเป็นราก ต้องชักนำให้เกิดราก บนอาหารแข็ง MS ที่เติม IBA 2-6 ?M ส่วนการเลี้ยงเพิ่มปริมาณยอดอ่อนในระบบ TIB ในระยะเวลาที่เท่ากัน สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย สามารถเพิ่มจำนวนยอดรวมสูงสุด 18.2 เท่าเมื่อใช้อาหาร MS เติม BA 3 ?M ในขณะที่พันธุ์เพชรบุรีสามารถเพิ่มจำนวนยอดรวมได้ 16.4-15.6 เท่า เมื่อได้รับอาหาร MS ที่มี BA 3 และ 6 ?M ร่วมกับ NAA 2 ?M ตามลำดับ ระยะเวลาให้อาหารสัมผัสชิ้นส่วนพืช 6-8 ครั้ง ต่อวัน ครั้งละ 1 นาที จะให้ผลต่อการเพิ่มปริมาณยอดรวมสูงสุดและพบการพัฒนาของรากเกิดขึ้นบ้างซึ่งสามารถนำออก acclimatize ในสภาพโรงเรือนได้เลยและมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง 89-90 % เหมาะสำหรับการนำไปขยายผลเพื่อการขยายพันธุ์ปริมาณมากๆ ส่วนการเลี้ยงบนอาหารแข็งจะเพิ่มปริมาณได้เพียง 3 -4 เท่า
บทคัดย่อ (EN): The study on tissue culture technique and pineapple mealybug wilt associated virus management for pineapple was conducted during October 2011 to September 2015 which the following objectives; to know the correlation between pineapple mealybug wilt association virus, method to control this desease, efficiency of herbicides to control weed and kille stem of pineapple for replanting and comparision on suspension culture and temporary immersion to propagate plantlet of pineapple. The results of the correlation between mealy bug and severe of pineapple wilt was found that after PMWaV-2 and PMWaV-1 + PMWaV-2 infected in plant cell 2 months, the DNA of these virus were found and the symptoms was showed after infected 4 months. The PMWaV-1 was found after infected in plant 4 months and the plant did not showed symptom after infected 5 months. The severe of only PMWaV-1 intected was less than both virus infect together. Mealybug, Dysmicococus brevipes can transmisst on this desease 80-100% while only 20% for D. neobrevipes Beardsley transmissted. To control these insects attacked suckers before planting, the result was found that soaked sucker with hot water 55 at degree celsius 30 minutes and soaking with imidarcoplid 4 g/20 l of water 3 minites can decreased this disease and increase income to farmers. Efficiency of herbicides, the results were found that bromacil+diuron was highly effective to control pre-emergence weeds and bromacil+atrazine and bromacil+diuron+ametryn were effective for post-emergence weeds. Paraquat at rate 890 g a.i/rai was higly toxic to stem of pineapple but triclopyr was more effective to tissue of pineapple’s stem which have number of new shoot emergenced lower than paraquat. Many herbicides included tebuthiuron+pendimethalin, flumioxazin, pendimethalin+diuron, hexaxinone/diuron, alachlor+diuron, pendimethalin+dimethenamid and tebuthiuron+oxyfluorfen at rates 125+165, 20, 165+320, 600, 320+320, 165+225 and 125+24 g a.i/rai respectively were effective to control pre-emergence weeds but for post-emergence weeds, bromacil+diuron, bromacil+atrazine, bromacil+ diuron+ametryn and diuron+ametryn were effective and non-toxic to pineapple. Comparision on suspension culture and temporary immersion, the results were found that suspension culture of pineapple cv. pattavia was used media MS+ BA 3 ?M 8 weeks which was increased new shoot highest 22.4 times but for pineapple cv. Petchaburi No.1 with media MS+ BA 3 -6 ?M + NAA 2 ?M new shoot increased 18-19 times . For TIB, in pineapple cv. pattavia used media MS+ BA 3 ?M 8 weeks it can increased new shoot highest 18.2 times but for pineapple cv. Petchaburi No.1 with media MS+ BA 3 and 6 ?M + NAA 2 ?M new shoot increased 16.4-15.6 times . Time to feeding this media to plant cell dwing 6-8 times/day and 1 minute/time.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย สภาพการผลิตสับปะรดจังหวัดหนองคาย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเงาะคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาการจัดการธาตุอาหารเบญจมาศ การพัฒนาเทคโนโลยีการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก