สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จุมพฏ สุขเกื้อ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing Factors Influencing Decision to Use Services at Central Rubber Market of Rubber Farmer in Northeast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุมพฏ สุขเกื้อ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พัชรินทร์ ศรีวารินทร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป พฤติกรรมการขายยาง ทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกขายยางที่ตลาดกลางยางพาราหนองคายและบุรีรัมย์ของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตามรายชื่อผู้สมัครขายยางที่ตลาดกลางยางพาราและผู้ที่ขายยางพาราให้กับแหล่งรับซื้ออื่นในพื้นที่จังหวัดหนองคายและบุรีรัมย์ ระหว่างมกราคม – มิถุนายน 2553 โดยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ ได้ทั้งสิ้นจำนวน 192 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.56 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.18 ปี สมรสแล้ว และจบการศึกษาสูงสุดขั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นภาระต้องเลี้ยงดูเฉลี่ย 2.08 คน กลุ่มตัวอย่างมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท และค่าใช้จ่าย(รวมหนี้สิน) เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท ส่วนยางที่นำมาขายส่วนใหญ่มาจากสวนยางของตนเอง โดยขายยางแผ่นดิบเป็นผลผลิตหลัก ปริมาณยางที่นำมาขายแต่ละครั้งเฉลี่ยรายละ 600 กิโลกรัม ใช้รถยนต์บรรทุกปิคอัพในการขนส่ง มีระยะทางจากแหล่งผลิตถึงแหล่งรับซื้อเฉลี่ย 43.50 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการขนส่ง 40 นาที และมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเฉลี่ยครั้งละ 301 บาท ด้านทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อตลาดกลางยางพารา ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อตลาดกลางยางพาราในระดับสูง ด้านความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อส่วนประสมการตลาดทั้ง 4 ด้านได้แก่ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขายพบว่าโดยรวม มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษายังพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการของเกษตรกรในการใช้บริการตลาดกลางยางพาราหนองคายและบุรีรัมย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=993
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การยางแห่งประเทศไทย
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลยุทธ์ความสำเร็จของการบริหารจัดการตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษา ตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราหนองคายที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ และตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์ท การตัดสินใจในการปรับลดพื้นที่การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก การพัฒนาระบบตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา ประเมินความสำเร็จตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา กลุ่มวิจัยยางพารา การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก