สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยงยุทธ เฉลิมชาติ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท
ชื่อเรื่อง (EN): Using pulsed electric fields (PEF) technique as a pretreatment for extraction of bioactive compounds from purple rice sprout for protecting cancer and brain neurodegenaration
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยงยุทธ เฉลิมชาติ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:        สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผศ.ยงยุทธ เฉลิมชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการเพาะที่เหมาะสมและปริมาณสารออกฤทธิ์สำคัญได้แก่ สารแอนโทไซยานินชนิด cyaniding-3-glucoside สารแกมม่าโอไรซานอล และกาบา ในต้นอ่อนข้าวก่ำพันธุ์ห้วยฮ่องไคร้ 1และห้วยฮ่องไคร้ 2 ที่เปรียบเทียบกับต้นอ่อนข้าวสันป่าตอง 1 และข้าวสาลีฝาง 60 และใช้แผนการทดลองแบบ Split split plot in CRD โดยให้ main plot คือ ข้าวจำนวนสี่สายพันธุ์ sub plot คือ สภาวะน้ำท่วมขังและไม่ท่วมขังขณะเจริญเติบโต และ sub-sub plot คือ อายุการเก็บเกี่ยวต้นกล้าข้าวต่างกันสี่ช่วงเวลา (7, 14, 21 และ 28 วัน)           จากการศึกษาวิจัย พบว่า สภาวะในการสกัดแอนโทไซยานินที่เหมาะสมที่สุด คือ อัตราส่วนระหว่างสารทำละลายต่อต้นข้าวก่ำอ่อน 29.50 มิลลิลิตรต่อหนึ่งกรัมต้นอ่อนข้าวก่ำ อุณหภูมิ 53.70 องศาเซลเซียส เวลาสกัด 146 นาที สามารถสกัดแอนโทไซยานินได้ 38.12 mg Cyn-3-Glu/g ต้นอ่อนข้าวก่ำ เมื่อทดลองสกัดแอนโทไซยานินจากต้นอ่อนข้าวก่ำด้วยสภาวะที่เหมาะสมที่คัดเลือกพบว่า ปริมาณแอนโทไซยานินที่สกัดได้เป็น 42.78 mg Cyn-3-Glu/g ต้นอ่อนข้าวก่ำ สำหรับสภาวะในการสกัดกาบาที่เหมาะที่สุดคือ อัตราส่วนระหว่างสารทำละลายต่อต้นข้าวก่ำอ่อน 18.10มิลลิลิตรต่อหนึ่งกรัมต้นอ่อนข้าวก่ำ อุณหภูมิ 53.60 องศาเซลเซียส เวลาสกัด 42 นาที สามารถสกัดกาบาได้ 5.57 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกรัมต้นข้าวแห้ง เมื่อทดลองสกัดกาบาจากต้นอ่อนข้าวก่ำด้วยสภาวะที่เหมาะสมที่คัดเลือกพบว่า ปริมาณกาบาที่สกัดได้เป็น 5.43 ± 0.01 ต้นอ่อนข้าวก่ำ             ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือได้องค์ความรู้การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเพื่อเตรียมสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อพัฒนาปํนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในอนาคตต่อไป
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-06-27
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-06-26
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26 มิถุนายน 2555
การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขั้นต้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องกันมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท (ต่อเนื่องปีที่ 2) การใช้เทคนิคสนามไฟฟ้าความต่างศักย์สูงกระตุ้นเป็นจังหวะเพื่อเตรียมขึ้นในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นอ่อนข้าวก่ำเพื่อป้องมะเร็งและการเสื่อมของเซลล์ประสาท (ต่อเนื่องปีที่ 2) การวิจัยคุณลักษณะจาเพาะต่อการแปรรูปของข้าว 84 พันธุ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ- การใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาวิถีการผลิตโปรตีนหลักในเมล็ดข้าวและการเตรียมเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดและรำข้าว แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก