สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีกับคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรสาคร
ก้องเกียรติ ปานพรหมมินทร์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีกับคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่อง (EN): RELATIONSHIP BETWEEN DOMINANT RED TIDE AND WATER QUALITY IN SAMUTSAKHON PROVINCE
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ก้องเกียรติ ปานพรหมมินทร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วารินทร์ ธนาสมหวัง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีกับคุณภาพน้ำบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรสาคร เก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 9 สถานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2551-พฤศจิกายน 2552 ผลการศึกษาพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเกิดขึ้นตลอดทั้งปี สามารถจำแนกแพลงก์ตอนที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีออกเป็น 2 กลุ่ม คือแพลงก์ตอนกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลท ประกอบด้วย Noctiluca scintillans และ Ceratium spp. และแพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอม ประกอบด้วย Skeletonema spp., Chaetoceros spp. และ Pseudo-nitzschia spp. โดยN. scintillans เป็นแพลงก์ตอนชนิดเด่นมากที่สุดของปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีรองลงมาคือ Chaetoceros spp.และ Skeletonema spp. จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำทะเล กับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช ชนิดเด่นพบว่าปัจจัยคุณภาพน้ำที่มีความสัมพั นธ์กับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชมากที่สุด ได้แก่ ไนไตรท์ มีความสัมพันธ์ทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ Skeletonema spp.ถัดมาคือสารแขวนลอยทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ Skeletonema spp. ความเป็นกรดด่างมีความสัมพันธ์ทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ Chaetoceros spp.และอุณหภูมิน้ำมีความสัมพันธ์ทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลง ความหนาแน่นของ Skeletonema spp.แต่มีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้ามกับการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ N. scintillans ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Study on relationship between dominant red tide phytoplankton and water qualities in Samutsakhonprovince coast was conducted, sampling time per month 1 of 9 stations from December 2008-November 2009. The results shown that red tide phenomena occurred throughout the year. The dominant red tide phytoplankton were classified into 2 groups: dinoflagellates (Noctiluca scintillans and Ceratium spp.) and diatom (Skeletonema spp., Chaetoceros spp. and Pseudo-nitzschia spp.). While N. scintillans was the major species founded causing of red tide phenomena in this area, following by Chaetoceros spp. And Skeletonema spp. The relationship between water quality and dominant red tide phytoplankton densities shown that the water quality factors result in the highest density of phytoplankton wasnitrate with positively related to densities of Skeletonema spp. subordinate, total suspended solids was positively related to densities of Skeletonema spp., pH was positively related to densities of Chaetoceros spp. and temperature was positively related to densities of Skeletonema spp. but negatively related to densities of N. scintillans respectively
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-02-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีกับคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรสาคร
กรมประมง
1 กุมภาพันธ์ 2553
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ความสัมพันธ์ของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำบางประการในบึงแก่งน้ำต้อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การแก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดำเนินสะดวกโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและการใช้ประโยชน์ที่ดิน. ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก ความสัมพันธ์ของแพลงก์ตอนกับคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำบริเวณกระชังเลี้ยงปลาทับทิมในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก ผลของการเติมอินูลินต่อคุณภาพด้านต่างๆ ของแหนม การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์กับลักษณะสีขนของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดพิษณุโลก คุณภาพน้ำและความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในแม่น้ำอิง การเกิดอาการแพนิคกับประวัติการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะกัญชาความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ผลของการใช้สารเคลือบผิวที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพผลเสาวรสพันธุ์สีเหลือง ลักษณะความแตกต่างและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างชนิดโดยเครื่องหมายพันธุกรรมอัลโลไซม์ในปูทะเลและปูม้าของไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก