สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการควบคุมภายในด้านการเงินการบัญชีและงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร
จงกลนี ชีรนานนท์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการควบคุมภายในด้านการเงินการบัญชีและงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จงกลนี ชีรนานนท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: รายงานการศึกษาเรื่องการควบคุมภายในด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ศึกษาจากผลการตรวจสอบภายในของหน่วยงานตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ 2544 โดยศึกษาระบบการควบคุมภายในด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งไม่มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงิน การบัญชีของหน่วยงาน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการควบคุมภายในด้านการเงิน การบัญชี และงบประมาณของหน่วยรับตรวจได้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอ ทำให้การปฏิบัติงานการเงิน การบัญชีและงบประมาณเป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและเสนอแนะแนวทางแก้ไขการควบคุมภายในด้านการเงิน การบัญชี และงบประมาณของหน่วยรับตรวจ ผลการศึกษา พบว่าจำนวนหน่วยรับตรวจ 27 หน่วยงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา มีหัวหน้าหน่วยงานที่ปฏิบัติงานจำนวน 22 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 81.48 ที่ยืมตัวมาช่วยปฏิบัติราชการจำนวน 4 หน่วยงาน และรักษาราชการแทนในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน จำนวน 1 หน่วยงาน รวม 5 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 18.52 สำหรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีไม่มีทั้ง 27 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 100 จึงใช้เจ้าหน้าที่ในตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี โดยเป็นข้าราชการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทางด้านเกษตร ร้อยละ 29.63 เจ้าหน้าที่ธุรการ ร้อยละ 33.34 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ร้อยละ 3.70 และตำแหน่งวิศวกรกับนายช่างเครื่องกล ร้อยละ 7.41 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ร้อยละ 18.52 และเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานธุรการ ร้อยละ 3.70 ตำแหน่งคนงาน ร้อยละ 3.70 เจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีความรู้พื้นฐานทางด้านการเงินและบัญชีระดับมาก จำนวน 2 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 7.41 ระดับปานกลาง จำนวน 16 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 59.26 ระดับน้อย จำนวน 5 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 18.52 และไม่มีความรู้พื้นฐานทางการเงินและบัญชี จำนวน 4 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 14.81 เมื่อพิจารณาระบบควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจด้านงบประมาณ การเงินและการบัญชี ปรากฏผลดังนี้ - ด้านงบประมาณในเรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณ พบว่า การควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจอยู่ในระดับปานกลาง-สูง คือร้อยละ 75 มีอยู่จำนวน 17 หน่วยงาน ระดับปานกลาง ร้อยละ 50 มีจำนวน 7 หน่วยงาน ระดับน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 0 - ร้อยละ 25 จำนวน 3 หน่วยงาน - ด้านการเงิน การบัญชี ในเรื่อง การก่อหนี้ผูกพัน หน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50 - ร้อยละ 75 มีจำนวน 21 หน่วยงาน ระดับร้อยถึงระดับน้อยมาก คือร้อยละ 0 - ร้อยละ 25 มีจำนวน 6 หน่วยงาน การจ่ายเงิน หน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.33 - ร้อยละ 100 จำนวน 14 หน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50 - ร้อยละ 66.67 จำนวน 6 หน่วยงาน และอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 33.33 มีจำนวน 5 หน่วยงาน การรับเงิน หน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80 - ร้อยละ 100 จำนวน 13 หน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50 - ร้อยละ 71.43 จำนวน 7 หน่วยงาน และอยู่ในระดับน้อย คือร้อยละ 30 - ร้อยละ 40 จำนวน 2 หน่วยงาน ระดับน้อยมาก ร้อยละ 20 - ร้อยละ 28.57 มีจำนวน 5 หน่วยงาน การเก็บรักษาเงิน หน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80 - ร้อยละ 100 จำนวน 13 หน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60 จำนวน 1 หน่วยงาน ระดับน้อยมาก ร้อยละ 40 จำนวน 1 หน่วยงาน และอยู่ในระดับน้อยมาก ร้อยละ 0 - ร้อยละ 20 มีจำนวน 12 หน่วยงาน เงินยืมราชการ หน่วยรับตรวจดำเนินการในเรื่องนี้ 20 หน่วยงาน พบว่ามีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง คือร้อยละ 100 จำนวน 10 หน่วยงาน ระดับปานกลาง ร้อยละ 50 - ร้อยละ 75 จำนวน 5 หน่วยงาน ระดับน้อย ร้อยละ 40 จำนวน 2 หน่วยงาน และระดับน้อยมาก คือ ร้อยละ 0 - ร้อยละ 25 มีจำนวน3 หน่วยงาน เงินรายได้แผ่นดิน หน่วยรับตรวจดำเนินการในเรื่องนี้ 11 หน่วยงาน พบว่ามีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง คือร้อยละ 100 จำนวน 7 หน่วยงาน ระดับปานกลาง ร้อยละ 50 จำนวน 4 หน่วยงาน เงินนอกงบประมาณ หน่วยรับตรวจดำเนินการในเรื่องนี้ 10 หน่วยงาน พบว่ามีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง คือ ร้อยละ 100 จำนวน 5 หน่วยงาน ระดับปานกลาง ร้อยละ 50 จำนวน 2 หน่วยงาน และระดับน้อยมาก คือ ร้อยละ 0 จำนวน 3 หน่วยงาน เงินฝากธนาคาร หน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง คือ ร้อยละ 100 จำนวน 18 หน่วยงาน ระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 66.67 จำนวน 6 หน่วยงาน ระดับน้อย ร้อยละ 33.33 จำนวน 1 หน่วยงาน และระดับน้อยมาก คือ ร้อยละ 0 จำนวน 2 หน่วยงาน การบัญชี หน่วยรับตรวจมีการควบคุมภายในอยู่ในระดับสูง คือ ร้อยละ 80 - ร้อยละ 100 จำนวน 17 หน่วยงาน ระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 50 - ร้อยละ 70 จำนวน 3 หน่วยงาน ระดับน้อย คือ ร้อยละ 40 จำนวน 2 หน่วยงาน และระดับน้อยมาก คือ ร้อยละ 0 - ร้อยละ 20 มีจำนวน 5 หน่วยงาน ปัญหาอุปสรรค บุคลากรปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณ มีไม่เพยงพอในการปฏิบัติงาน และมีความรู้ความเข้าใจน้อยมากในเรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งมีการลาออกหรือเปลี่ยนงาน เป็นการปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง ขาดการกำกับดูแลด้านการปฏิบัติงาน การเงิน การบัญชีและงบประมาณจากหัวหน้าหน่วยงาน ข้อเสนอแนะ หัวหน้าหน่วยงานกำหนดภารกิจ การปฏิบัติงาน มอบหมายงานและกำหนดคุณลักษณะงาน รวมทั้งควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณได้เข้ารับการอบรมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ ให้มีการวางระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานที่กำหนดของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการควบคุมภายในด้านการเงินการบัญชีและงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2536 การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาการประสานงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษา การสื่อสารภายในองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร กรณีศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง การปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในของหน่วยงานในส่วนกลางกรมส่งเสริมการเกษตร บทบาทหน้าที่ที่เป็นจริงของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการผลิตปศุสัตว์ในส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมการเกษตร ความคิดเห็นของผู้ติดตามและนิเทศงานของภาคและส่วนกลางเกี่ยวกับระบบติดตามและนิเทศงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ความพึงพอใจในการให้บริการเอกสารเผยแพร่ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก