สืบค้นงานวิจัย
เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็กในเขตภาคใต้ตอนบน
สมมาต แสงประดับ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็กในเขตภาคใต้ตอนบน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมมาต แสงประดับ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางของชาวสวนยางในเขตภาคใต้ตอนบน ได้สำรวจและเก็บข้อมูลจากชาวสวนยางที่ประสพวาตภัยในจังหวัดชุมพร จำนวน 76 ตัวอย่าง ระยะเวลาเก็บข้อมูลอยู่ระหว่างเพาะปลูก 2533 / 2534 ถึงปีเพาะปลูก 2534 / 2535 จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรในจังหวัดชุมพร ใช้พื้นที่ปลูกพืชแซมยางร้อยละ 39 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด ชนิดของพืชแซมยางที่ปลูกร้อยละ 35, 17 , 17 และร้อยละ 9 ปลูกข้าวโพด สับปะรด ฟักทอง และมะละกอตามลำดับ นอกนั้นปลูกพืชอื่น ๆ ได้แก่กล้วย พริก แตงโม ถั่วลิสง ฟักแฟง และข้าวโพดไร่ ผลผลิตต่อไรของข้าวโพด ประมาณ 423 กิโลกรัม สับปะรด 6,910 กิโลกรัม ฟักทอง 1,117 กิโลกรัม มะละกอ 3,642 กิโลกรัม กล้วย 1,500 กิโลกรัม พริก 214 กิโลกรัม แตงโม 1,533 กิโลกรัม แฟง 1,271 กิโลกรัม และข้าวไร่ 86 กิโลกรัม จากการศึกษาต้นทุนการผลิตพืชแซมยางชนิดต่าง ๆ แสดงรายละเอียดของต้นทุนผันแปรทั้งเงินสดสำหรับปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรซื้อหรือจ้างและไม่เป็นเงินสดจากการใช้แรงงานในครอบครัว เมล็ดพันธุ์ที่ได้รับแจกหรือที่เก็บไว้เอง พบว่าพืชแซมยางที่ต้นทุนสูงสุดได้แก่ สับปะรด รองลงมาได้แก่ พริก กล้วย มะละกอ ฟักทอง แตงโม ข้าวโพด และแฟง คิดเป็นเงินไร่ละ 6,874, 2,989, 1,984, 1,562, 1,230, 963, 823 และ 667 ตามลำดับ ผลตอบแทนของการปลูกพืชแซมยางคิดจากรายได้สุทธิเหนือต้นทุนผันแปรทั้งพืชอายุยาวและพืชอายุสั้น ก็พบว่า สับปะรดให้รายได้สูงที่สุด รองลงมาได้แก่มะละกอ พริก แตงโม กล้วย แฟง และฟักทอง ส่วนข้าวโพดเป็นพืชชนิดเดียวที่ขาดทุน ตัวเลขรายได้สุทธิของแต่ละพืชคิดเป็นไร่ละ 8,742, 7,652, 4,073, 3,329, 2,516, 1,620 และ 1,082 บาท ตามลำดับส่วนข้าวโพดขาดทุนสุทธิ 141 บาท สรุป การแนะนำพืชแซมยางนอกจากโดยการวิเคราะห์ตัวเลขต้นทุนและผลตอบแทนแล้ว ยังต้องอาศัยข้อมูลทางด้าน สภาพดิน น้ำ การระบาดของโรคและแมลง ตลอดจนวิธีการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสมมาประกอบด้วย แต่ข้อดีเด่นของการปลูกพืชแซมยางในเขตนี้ก็คือการมีพ่อค้ารับซื้อในท้องถิ่นที่แน่นอนอยู่ก่อนแล้ว การปลูกในแหล่งที่ไกลจากตลาดรับซื้อ นอกจากจะเสียค่าขนส่งสูงแล้ว ผลตอบแทนที่ได้ก็ยังลดต่ำลงจากการสูญเสียของผลผลิตอีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็กในเขตภาคใต้ตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน ทดสอบการกรีดยางสำหรับสวนยางขนาดเล็ก การพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิตยางของสวนยางขนาดเล็ก การปลูกพืชแซมในแปลงยางที่ปลูกต้นยางชำถุงขนาดต่างกัน ทดสอบการปลูกพืชตามฤดูกาลเป็นพืชแซมยาง การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . ศึกษาระบบการปลูกพืชแซมในสวนยางอ่อน การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การปลูกพืชแซมยางและผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจสำหรับเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก