สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองบางชนิดเพื่อการส่งออก
เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์, เบญญา มะโนชัย - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองบางชนิดเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Breeding of some Thai typical orchids for exporting support
บทคัดย่อ: รวบรวมกล้วยไม้ดินใบหมาก 3 สายพันธุ์ สีชมพู เหลืองและขาว เพื่อใช้เป็นต้นพ่อแม่พันธุ์ในการสร้างลูกผสม พบว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกล้วยไม้ลูกผสมทั้ง 3 สายพันธุ์ มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ต่างกันเพียงลักษณะสีของกลีบดอก แต่เนื่องจากกล้วยไม้ดินดอกสีขาวไม่ทนทานต่อสภาพอุณหภูมิสูงและมีอาการโคนเน่าง่าย จึงคัดออกจากแผนการปรับปรุงพันธุ์ การศึกษาจำนวนโครโมโซมของกล้วยไม้ดินลูกผสมสีชมพูพันธุ์ ‘จุฬาลักษณ์’ และลูกผสมดอกสีเหลือง พบว่ามีจำนวนโครโมโซม 2n = 2x = 40 การผสมตัวเองของลูกผสม ‘จุฬาลักษณ์’ มีอัตราการผสมติดเป็น 54.00 เปอร์เซ็นต์ และลูกผสมสีเหลืองมีอัตราการผสมติด 71.43 เปอร์เซ็นต์ กรณีผสมข้ามเมื่อให้ลูกผสม ‘จุฬาลักษณ์’ เป็นต้นแม่พันธุ์ พบว่า มีอัตราการผสมติด 69.23 เปอร์เซ็นต์ ถ้าให้ลูกผสมสีเหลืองเป็นต้นแม่พันธุ์ จะมีอัตราการผสมติด 50 เปอร์เซ็นต์ สูตรอาหารที่เหมาะในการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ลูกผสม คือ อาหารสูตร ? MS ในสภาพมีแสง โดยเมล็ดจากคู่ผสม สีเหลือง x สีเหลือง มีอัตราการงอกสูงกว่าเมล็ดจากคู่ผสม สีเหลือง x ‘จุฬาลักษณ์’ แต่อัตราการงอกของเมล็ดเป็น 0 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้ลูกผสม ‘จุฬาลักษณ์’ เป็นต้นแม่ในการผสมตัวเองและผสมข้าม เนื่องจากเมล็ดลูกผสมเป็นเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ หลังจากโปรโตคอร์มพัฒนาเป็นต้น พบว่าต้นลูกผสมที่ได้จากการผสมข้ามระหว่าง สีเหลือง x ‘จุฬาลักษณ์’ มีการเจริญเติบโตและการแตกกอมากกว่าลูกผสมที่ได้จาก สีเหลือง x สีเหลือง แต่ยังไม่มีการคัดเลือกลูกผสมเนื่องจากถูกน้ำท่วมเสียหาย
บทคัดย่อ (EN): Three hybrids of Spathoglottis hybrida with pink, yellow and white flowers were collected. The morphological characteristics of the three hybrids were similar excepted for flower colors. The white flower hybrid was not selected to use in breeding program because it did not tolerate to high temperature and stem rot. Chromosome numbers of pink flower ‘Chulaluck’ and yellow flower hybrid were 2n = 2x = 40. Self-pollination of ‘Chulaluck’ showed percentage of pod set 54 % and selfing of yellow hybrids showed 71.43%. In case of using ‘Chulaluck’ and yellow hybrid as seed parental plants for cross pollination, percentage of pod set was 69.23 and 50%, respectively. The appropriate media for seed culture was ? MS cultured in light condition. Hybrid seeds from yellow x yellow cross combination had higher germination rate than seeds of yellow x ‘Chulaluck’. Seed germination rate was 0 % when using ‘Chulaluck’ as seed parental plants in selfing and cross pollination. The ingeminated seeds were caused from embryo abortion. After protocorms developed to be explants, hybrid plants from yellow x ‘Chulaluck’ showed higher growth rate and branch number than yellow x yellow hybrids. Hybrid selection was still in process due to flood.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองบางชนิดเพื่อการส่งออก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีกลายพันธุ์ การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองไทย การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเป็นไม้ประดับกระถาง การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้พื้นเมืองในสวนผลไม้เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ การประเมินพันธุ์และพัฒนาการขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าเพื่อการค้า การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป การปรับปรุงพันธุ์ยาง การปรับปรุงพันธุ์ไหมชนิดฟักออกตลอดปี
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก