สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก
พุฒนา รุ่งระวี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Statistical Techniques for Standard Plot Size of Vegetable
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พุฒนา รุ่งระวี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Standard
บทคัดย่อ: ศึกษาขนาดมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก ได้แก่ มะเขือเทศ คะน้า และถั่วฝักยาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานด้านเทคนิคทางสถิติในการปฏิบัติงานวิจัยของนักวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานวิจัย ดำเนินการศึกษาวิจัยที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ในปี พ.ศ. 2557 และทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยัน ปี พ.ศ. 2558 โดยปลูกพืชแต่ละชนิดจำนวน 4 แปลงย่อยที่มีลักษณะยกร่อง ขนาดแปลงของพืชทดลองแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามลักษณะการเพาะปลูก และการดูแลรักษา โดยมะเขือเทศ (พันธุ์ศรีสะเกษ 1) มีขนาดแปลงกว้าง 4 เมตร ยาว 20 เมตร ระยะปลูก 1.0 x 0.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 1 เมตร คะน้า(พันธุ์การค้า) ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ระยะปลูก 0.25 x 0.25 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 0.5 เมตร ขณะที่ถั่วฝักยาว (พันธุ์พิจิตร 3) มีขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร ยาว 20 เมตร ระยะปลูก 0.75 x 0.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 0.5 เมตร ในปี พ.ศ. 2558 ได้เพิ่มขนาดความยาวแปลงปลูกคะน้าเป็น 19 เมตร เนื่องจากมีความแปรปรวนของแปลงทดลองมากในปีแรก ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกแปลงเว้นหัว-ท้ายแปลงออกด้านละ 2 หน่วยย่อย (basic unit) หน่วยย่อยของมะเขือเทศ คะน้า และถั่วฝักยาวมีขนาด 4 x 0.5 1 x 0.25 และ 1.5 x 0.5 เมตร ตามลำดับ ดังนั้นทุกแปลงทดลองจะมี 36 หน่วยย่อย ยกเว้นแปลงปลูกคะน้าในปี 2558 จะมีทั้งหมด 72 หน่วยย่อย นำข้อมูลน้ำหนักผลผลิตทั้ง 4 แปลง ของแต่ละพืชมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน ศึกษาสมการความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เก็บเกี่ยว กับค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน ในรูปสมการ และทดสอบความเท่ากันของค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น ผลการทดลองพบว่า ขนาดแปลงทดลองที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นมาตรฐานแปลงทดลองมะเขือเทศที่มีระยะปลูก 1.0 x 0.5 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 12 ตารางเมตร มาตรฐานแปลงทดลองคะน้าที่มีระยะปลูก 0.25 x 0.25 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตร และมาตรฐานแปลงทดลองสำหรับถั่วฝักยาว ที่มีระยะปลูก 0.75 x 0.5 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยวต้องไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร ทั้งนี้ไม่รวมอิทธิพลแถวริม (border row)
บทคัดย่อ (EN): This study was aimed to achieved the optimum plot size of tomato (Lycopersicon esculentum), Chinese kale (Brassica alboglabra), and yard long bean (Vigna unguiculata subsp.sesquipedalis) in order to be the standard and basic data used in statistical techniques for agricultural research practices. The experiments were conducted at Phichit Agricultural Research and Development Center during 2014-2015. Four experimental plots with raised grooves were designed for each vegetable. The uniformity trial plot of Tomato (var.Sisaket 1), Chinese Kale (commercial variety) and yard long bean (var.Phichit 3) were 4 x 20 , 1 x 10 and 1.5 x 20 meters in width and length size and spacing between plot were 1, 0.5 and 0.5 meters respectively. Planting space for tomato was 1.0 x 0.5 meters. Whereas, 0.25 x 0.25 and 0.75 x 0.5 meters were the planting space for chinese kale and yard long bean. Due to the high variation of experimental plots only Chinese kale in 2014 , therefore, uniformity trial plot was extended to 19 meters length in 2015. At the harvesting stage, two basic units at both end as border rows of each plot were discard and not included for analysis. A basic unit of tomato, Chinese kale and yard long bean were 4 x 0.5, 1 x 0.25 and 1.5 x 0.5 meters respectively. Hence, each plot of all tested plant had 36 basic units for harvesting except in the year 2015, chinese kale had 72 basic units. Yield data from 4 plots of each tested plant were statistically analyzed for mean, variance, coefficient of variation (C.V.) and relationship between harvested area and C.V. as the model . Homogeneity of regression coefficients of 4 plots was also analyzed. The result revealed that, the standard optimum plot sizes for agricultural research of tomato, chinese kale and yard long bean were not less than 12 ,6 and 9 m2 for harvested area with 1.0 x 0.5, 0.25 x 0.25 and 0.75 x 0.5 meters planting space respectively. This specified optimum harvested area was not including both end as border rows.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ โครงการวิจัยพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชและสินค้าพืช โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยการบูรณการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ให้เข้าสู่มาตรฐานอาเซียน โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านที่ได้มาตรฐาน โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก