สืบค้นงานวิจัย
ปัญหาและความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก ตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
พจน์ สมแพง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก ตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พจน์ สมแพง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพริกของเกษตรกรตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพด้านทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร การปฏิบัติและใช้เทคโนโลยีการผลิตและปัญหาในการผลิตพริกของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 226 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกร ร้อยละ 54.43 เป็นชาย อายุเฉลี่ย 45.45 ปี ร้อยละ 77.88 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานเกษตรในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานเกษตรในครอบครัวเฉลี่ย 3 คน ร้อยละ 96.90 มีอาชีพหลักทำนา ส่วนมากเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.02 ไร่ ลักษณะการถือครองที่ดินส่วนมากเป็นของตนเอง มีการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายทำเกษตร แหล่งเงินกู้ที่เกษตรกรกู้ยืมมากได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน เกษตรกรมีรายได้รวมเฉลี่ย 34656.57 บาทต่อครอบครัวต่อปี มีรายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ย 21,130 บาท ต่อครอบครัวต่อปี มีรายได้จากนอกภาคเกษตร เฉลี่ย 17,340 บาทต่อครอบครัวต่อปี และ เกษตรกรส่วนมากมีประสบการณ์ในการปลูกพริกมาแล้ว เฉลี่ย 5.73 ปี มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 1.35 ไร่ พันธ์พริกที่นิยมปลูกคือ พันธ์จินดา แหล่งที่มาของพันธุ์พริก เกษตรกร ร้อยละ 92.92 เก็บพันธ์ไว้เอง การปลูกพริกเกษตรกร ร้อยละ 84.96 เตรียมดินปลูกโดยการไถแล้วยกแปลงทำร่องน้ำ ร้อยละ 56.20 ใช้ต้นกล้าอายุ 30 วัน เกษตรกรร้อยละ 65.93 ใช้ระยะการปลูก 40 5 60 เซนติเมตร ร้อยละ 51.77 ใช้ต้นกล้าจำนวน 2,000 ต้น แรงงานในการปลูกพริกส่วนมากใช้แรงงานในครอบครัว การให้น้ำในแปลงพริก ร้อยละ 96.90 ใช้วิธีการปล่อยน้ำตามร่องแปลง แหล่งน้ำที่ใช้ปลูกพริก ร้อยละ 92.04 มาจากบ่อตอกหรือบ่อน้ำตื้น การใส่ปุ๋ยเกษตรกรส่วนมากจะนิยมใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก อัตราการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่อไร่ เฉลี่ย 64.80 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยเคมีเกษตรกรทุกรายใช้สูตร 15-15-15 อัตราเฉลี่ย 64.80 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 97.79 พบการระบาดของโรคพริก ร้อยละ 36.20 พบการระบาดของโรคราน้ำค้าง เกษตรกรร้อยละ 98.30 พบการระบาดของแมลงศัตรูพริก ร้อยละ 50.00 เพลี้ยไฟ การป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงพริก ร้อยละ 96.02 มีการป้องกันกำจัดวัชพืชโดยร้อยละ 73.73 กำจัดวัชพืชโดยวิธีกล การใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตพริก เกษตรกรร้อยละ 58.85 ใช้แรงงานในครัวเรือน ร้อยละ 89.82 มีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตสูง ร้อยละ 84.96 มีปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ ร้อยละ 82.77 มีปัญหาด้านตลาดรับซื้อ ร้อยละ 67.70 มีปัญหาการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพริก ร้อยละ 66.81 มีปัญหาการกำจัดวัชพืช ร้อยละ 56.64 มีปัญหาปุ๋ยเคมีและวิธีการใช้ ร้อยละ 56.64 มีปัญหาการควบคุมคุณภาพพริก และร้อยละ 51.77 มีปัญหาการขาดเงินทุนการผลิตพริก ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต ควรส่งเสริมให้เกษตรกรป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธี IPM และควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มในการผลิตและจำหน่ายพริก ทำให้เกษตรกรสามารถต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้จำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัญหาและความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก ตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
พจน์ สมแพง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ลมสำหรับอบแห้งพริก ในตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา ชีวเคมีของพริก ตอนที่ 1 สีสันแสนสวยด้วยเม็ดสีที่แตกต่าง การสำรวจพรรณปลาในนาข้าว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ ข้าวชุมชน ปี 2544 - 2547 อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก ปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก