สืบค้นงานวิจัย
การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังโดยหมอดินอาสามีส่วนร่วม
สุมาลี กลางสุข, จันทร์เรียง พลายละมูล, กิตติ วงษ์แสง, สุมาลี กลางสุข, จันทร์เรียง พลายละมูล, กิตติ วงษ์แสง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังโดยหมอดินอาสามีส่วนร่วม
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate extension and technology transfer for optimizing the production of cassava by Dr. soil volunteer
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตมันสำปะหลัง ในพื้นที่เกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ทำการศึกษาในชุดดินบ้านไผ่ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามอัตราค่าวิเคราะห์ดินและอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินอย่างเดียว และร่วมกับการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพทุก 15 วัน และเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร และตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์(Randomized Complete Block Design) มี 7 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ โดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยะปลูก 50X80 เซนติเมตร ผลการทดลองพบว่า ดินมีค่าความเป็นกรด – ด่าง อยู่ในช่วงกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย ( 5.9 – 6.3) ปริมาณอินทรียวัตถุในช่วง 0.35 – 0.52 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลดลงในทุกตำรับการทดลอง ยกเว้นตำรับที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตราครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 6.0 – 8.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และโพแทสเซียมก็ลดลงหลังปลูกมันสำปะหลังเช่นกัน ยกเว้นตำรับควบคุม ปริมาณโพแทสเซียมอยู่ในช่วง 18.0 – 30.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นเดียวกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามค่าวิเคราะห์ดิน มันสำปะหลังมีความสูงเฉลี่ย 2 ปี สูงสุด คือ176.84 เซนติเมตร ให้ผลผลิตมันสำปะหลัง 2 ปีเฉลี่ยสูงสุด 6,724.0 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้ง 24.82 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลตอบแทนสุทธิ ปีที่ 1 และปีที่ 2 สูงสุด คือ 3,819.1 และ 3,807.6 บาทต่อไร่ตามลำดับ ที่ราคาหัวมันสด 1.75 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีตามเกษตรกรให้ผลตอบแทน ปีที่ 1 และปีที่ 2 คือ 339.5 และ 348.9 บาทต่อไร่ ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-10-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังโดยหมอดินอาสามีส่วนร่วม
กรมพัฒนาที่ดิน
31 ตุลาคม 2559
การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง อาหารจากมันสำปะหลัง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ การจัดการระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพในผลิตมันสำปะหลัง แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการจัดการดินและพืช การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดินและการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์เพื่อการผลิตมันสำปะหลังในชุมชน วิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มศักยภาพการผลิตของดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังตามด้วยข้าวไร่ในดินทราย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก