สืบค้นงานวิจัย
การบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตเอทานอลจากแป้งมันสำปะหลังด้วยระบบไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม
ภาวิณี ชัยประเสริฐ, อรรณพ นพรัตน์, วาริน รักร่วม - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: การบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตเอทานอลจากแป้งมันสำปะหลังด้วยระบบไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Anaerobic Treatment and Biogas Production from Starch Based Ethanol Stillage using Hybrid Reactor
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของระบบในการรับน้ำเสีย ประสิทธิภาพการบำบัดและการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและน้ำเสียกลีเซอรอล ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม (Anaerobic Hybrid Reactor, AHR) น้ำเสียเอทานอลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีค่าซีโอดี 21,235 มก./ล. พีเอช 4.13 และ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด 610 มก./ล. ขณะที่น้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังที่ใช้ในการศึกษามีค่าซีโอดี 24,000 มก./ล. พีเอช 3.98 ในการศึกษานี้ทำการศึกษาผลอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ (Organic Loading Rate, OLR) ที่มีต่อประสิทธิภาพและเสถีรภาพการทำงานของระบบ AHR ในการศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนผลิตเอทานอล ทำการเดินระบบที่ OLR ตั้งแต่ 0.5 – 4.5 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ในขณะที่การศึกษาการบำบัดน้ำเสียผสมระหว่างน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังและน้ำเสียจากโรงงานผลิตเอทานอลที่อัตราส่วน 80 : 20 โดยทำการเดินระบบที่ OLR ตั้งแต่ 0.5 – 4.5 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ผลการศึกษาพบว่า ในการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบ AHR สามารถรองรับ OLR ได้สูงสุดที่ 4.0 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน และมีระยะเวลากักเก็บทางชลศาสตร์ (Hydraulic Retention Time, HRT) ต่ำสุดที่ 4.6 วัน ที่ OLR ดังกล่าว ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี ประสิทธิผลในการผลิตก๊าซมีเทน (Methane Yield) พีเอชและอัตราส่วนปริมาณกรดระเหยทั้งหมดต่อความเป็นด่าง (TVA/Alk. Ratio) อยู่ที่ ร้อยละ 90-95, 0.25 – 0.32 ลบ.ม./กก.ซีโอดี ที่กำจัด, 6.98 – 8.00 และ 0.21 – 0.39 ตามลำดับ ในขณะที่การบำบัดน้ำเสียผสมบบ AHR สามารถรองรับ ORL สูงสุดที่ 4.0 กก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ที่ HRT 4.6 วัน และระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี ประสิทธิผลในการผลิตก๊าซมีเทน (Methane Yield) พีเอชและอัตราส่วนปริมาณกรดระเหยทั้งหมดต่อความเป็นด่าง (TVA/Alk. Ratio) อยู่ที่ ร้อยละ 90 - 95, 0.25 – 0.26 ลบ.ม./กก.ซีโอดี ที่กำจัด, 6.6 – 6.8 และ 0.40 – 0.70 ตามลำดับ คำสำคัญ: น้ำเสียไบโอดีเซล/น้ำเสียเอทานอล/ศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทน/ ระบบบำบัดน้ำเสียไม่ใช้อากาศ/ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบลูกผสม
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to determine the reactor capacity, the treatment efficiency and the biogas production from anaerobic hybrid reactor (AHR) in treating bioethanol wastewater and casawa wastewater. Bioethanol wastewater using in this study contained 21,235 mg/L of COD with pH of 4.13 and 610 mg/L of total nitrogen. In the other hand, casawa wastewater contained 24,000 mg/L of COD with pH of 3.98 and . This research studied the effect of organic loading rates (OLRs) on the performance and stability of AHR. The OLRs bioethanol wastewater were varied in the range of 0.5 – 4.5 kgCOD/m3.d. While the mixture of waste water treatment plant cassava and wastewater from the ethanol plant, the ratio of 80: 20 by a system the OLRs were varied at 0.5 – 4.5 kgCOD/m3.d. The result showed that AHR treating bioethanol wastewater reached the organic loading rates (OLR) as high as 4.0 kgCOD/m3.d and decreased hydraulic retention time (HRT) as low as 4.6 days. For this condition, the performance and stability of AHR in term of COD removal efficiency, methane yield, pH and total volatile acid/alkalinity ratio (TVA/Alk. ratio) were 90 – 95 %, 0.25 – 0.32 m3CH4/kgCODremove.d, 6.98 – 8.00 and 0.21 – 0.39, respectively. In addition of waste water treatment plant cassava and wastewater from the ethanol plant, the ratio of 80: 20, AHR reached the maximum OLR at 2.5 kgCOD/m3.d and HRT at 10 days. The performance and stability of AHR for COD removal efficiency, methane yield, pH and TVA/Alk ratio of this condition were 90-95 %, 0.25 - 0.26 m3CH4/kgCODremove.d, 6.60 – 6.80 and 0.40 – 0.7, respectively. Keywords: Anaerobic Hybrid Reactor/Anaerobic Wastewater Treatment/ Biochemical Methane Potential/Biodiesel Wastewater/ Biothanol Wastewater
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตเอทานอลจากแป้งมันสำปะหลังด้วยระบบไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2552
การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร ระบบการจัดการผลิตมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล การวิเคราะห์ความพอเพียงของกากน การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียขาออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยระบบไม่ใช้อากาศแบบลูกผสม การผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียโรงงานผลิตไบโอดีเซล การใช้ผลพลอยได้ของมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลในอาหารผสมสำเร็จรูปต่อผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบของน้ำนมในโคนม การศึกษาจลนพลศาสตร์การหมักเอทานอลจากมันสำปะหลัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก