สืบค้นงานวิจัย
โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง ปี 2556
รัชนีวรรณ ตาฬุมาศสวัสดิ์ - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง ปี 2556
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชนีวรรณ ตาฬุมาศสวัสดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการโครงการความร่วมมือด้านวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงร่วมกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ในแผนงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีฝน หลวง โครงการการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเผฆอุ่น ปี 2556 ตามอนุมัติหลักการที่ กษ:.2800.04/54 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2556 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2556 ณ ห้องประชุมกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ นายวราวุธ ขันติยานันท์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ประชุมวางแผนปฏิบัติการร่วมกับ น.อ.มนูญ รู้กิจนา ผู้อำนวยการกองปฏิบัติกิจพิเศษ กรมยุทธการทหารอากาศ กองทัพอากาศ ใช้เครื่องบินโจมตีธุรการแบบ ที่ 2 (AU-23A) จำนวน 2 เครื่อง ตั้งฐานปฏิบัติการที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ สนามบินกองบิน 41 จังหวัด เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2556 บินปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นโซเดียมคลอไรด์ จำนวน 100 นัด ที่ติดตั้งกับเครื่องบิน AU-23A เพื่อใช้ท่ฝนในสภาวะเมฆอุ่น ในปีงบประมาณ 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ผลงานวิจัยพลุสารดูดความชื้นไปใช้ประโยชน์ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการนำพลุสารดูดความชื้นมาใช้ร่วมในการ ปฏิบัติการฝนหลวง โดยมีนางรัชนีวรรณ ตาฬุมาศสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าโครงการฯ นักบินกองทัพอากาศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง บินปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง โดยมีคณะที่ ปรึกษา คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดำเนินงานโครงการฯ รวม 111 คน สรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาเทคนิคการใช้พลุสารดูดความชื้น (Hygroscopic Flare) เพื่อทำฝนจากสารฝนหลวง 3-4 ชนิด ประกอบด้วยเนื้อพลุน้ำหนัก 800 กรัมต่อนัด อนุภาคของสารที่เผาไหม้ (ควัน) ที่ได้จากการจุดพลุสารดูดความชื้นมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 20 จะให้สาร "โซเดียมคลอไรด์" ขนาดอนุภาคเฉลี่ย 0.77 ไมครอน โครงการปฏิบัติการวิจัยฯ ครั้งนี้ ใช้พลุสารดูดความชื้นโซเดียมคลอไรด์ทั้งหมด 56 นัด (ทั้งหมด 100 นัด) ประสิทธิภาพในการจุดติดร้อยละ 98 ระยะเวลาในการเผาไหม้เฉลี่ยนัดละ 4 นาที 2) การปฏิบัติการในแต่ละวัน หลังจากประชุมร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เพื่อประเมินสถานการณ์ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว นักวิชาการและนักบินกองทัพอากาศจะร่วมกันวางแผนก/ระปฏิบัติงานประจำวันทุกวัน วิธีการทดสอบโดย นักวิชาการจะทำการเลือกเมฆเป้าหมายที่ Project Center จากการใช้งาน Remote TTAN ที่สถานีเรดาร์ฝนหลวง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นเจ้าหน้าที่สรรพาวุธจะทำการติดตั้งพลุสารดูดความชื้นที่บริเวณปีกทั้งสองข้างของ บ .AU-23A ซึ่งเมื่อไปถึงกลุ่มเมฆเป้าหมาย นักบินจะประสานกับนักวิชาการที่ Project Center เพื่อตรวจสอบกลุ่มเมฆ เป้าหมายที่จะปฏิบัติการฝนหลวง และดัดเลือกกลุ่มมฆเป้หมายที่อยู่ในเกณฑ์การทำฝน และบันทึกข้อมูลการปฏิบัติการทำ ฝนไว้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ถ่ายรูปถ่ายภาพกลุ่มเมฆเป้าหมายก่อนปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับกลุ่ม เมฆเป้าหมายหลังจากที่ทำการจุดพลุแล้ว โดยระหว่างที่มีการจุดพลุออกไปแล้วนั้น เรดาร์ตรวจกลุ่มฝนที่สถานีเรดาร์ฝนหลวงอมก๋อย จะทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเมฆเป้าหมาย ซึ่งทำให้นักวิชาการประเมินผลสามารถนำข้อมูลมา เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลุทำฝนได้อย่างแม่นยำ และในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ เครื่องบิน AU-23A สามารถใช้งาน ได้ดี 3) ผลการปฏิบัติการกับกลุ่มเมฆเป้าหมายที่อยู่ในเกณฑ์ทำฝนเมฆอุ่น โดยการจุดพลุใต้ฐานเมฆที่ระดับความสูง 4,000 ฟุต เครื่องบิน AU-23A สามารถบินปฏิบัติการวิจัยพลุทำฝนได้ร้วม 14 วัน 22 เที่ยวบิน 38 ชั่วโมง 20 นาที (เที่ยวบิน/ชั่วโมงบินรวมเวลาเดินทาง) ปฏิบัติการทำฝนกับกลุ่มเมฆเป้าหมายรวม 16 กลุ่มเมฆ เพื่อจะได้วิเคราะห์ เปรียบเทียบกลุ่มเมฆที่จุดพลุทำฝน (Seed) และกลุ่มเมฆธรรมชาติ (No-seed) 4) การดำเนินงานโครงการปฏิบัติการวิจัยฯและปฏิบัติภารกิจจริงในภาคอากาศ ทำให้ทราบว่าการปฏิบัติการทำฝน โดยนำศักยภาพของแต่ละหน่วยงานมาบูรณาการร่วมกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น สรุปได้ว่า การปฏิบัติการฝนหลวงด้วยพลุสารดูดความชื้นในสภาวะเมฆอุ่น สามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนแระเพิ่มพื้นที่ของการเกิดฝนได้ ในช่วงฤดูฝนจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีพื้นที่ฝนตกที่ได้รับประโยชน์จากการใช้พสุโซเดียมคลอไรด์ทำฝน เฉลี่ย 11,083 ไร่ต่อกลุ่มเมฆ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ อำเภอแม่วาง แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง แม่ทา จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง เกาะคา ห้างฉัตร เสริมงาม แม่เมาะ งาว เมืองปาน จังหวัดลำปาง 5) อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบพลุสารดูดความชื้นทำฝนที่ผ่านมายังไม่สามารถอธิบายปริมาณของฝนที่ได้จาก การปฏิบัติการว่า มีปริมาณฝนจากการทำฝนสูงกว่าฝนที่เกิดจากธรรมชาติเท่าใด ซึ่งในปี 2556 ได้พยายามนำข้อมูลจากรใช้งานโปรแกรมประยุกต์ TIT AN ที่สถนีรดาร์ฝนหลวง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มาเปรียบเทียบ พลุทำฝน (Seed) กับกลุ่มเมฆที่ไม่ได้จุดพลุหรือกลุ่มเมฆธรรมชาติ (No-รeed) แต่จำนวนตัวอย่างน้อยไม่เพียงพอในการ ประเมินผลเชิงสถิติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการต่อไป และเป็นโครงการปฏิบัติการวิจัยด้านฝนหลวงเพื่อเสริมการ ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: http://164.115.23.116:8060/Frontend/download?DocumentID=47&fileIndex=0&originalFileName=27%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%202556.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: เชียงใหม่ ลำปาง
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง ปี 2556
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
2557
เอกสารแนบ 1
โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2557 การพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการประยุกต์ผลการวิจัยฝนหลวงในการปฏิบัติการฝนหลวงของศูนย์ฝนหลวงประจำภาค การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS เพื่อการปฏิบัติการฝนหลวง ของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง โครงการทดสอบประสิทธิภาพพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2554 โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต กรณีศึกษา : ลุ่มน้ำภาคกลาง โครงการการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต กรณีศึกษา ลุ่มน้ำภาคตะวันออก โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง ปี 2555

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก