สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
จีราภรณ์ อินทสาร - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): A Pilot Program for Increasing the Efficiency of Organic Longan Production in the Northern Region of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จีราภรณ์ อินทสาร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการปุ๋ยอินทรีย์ต่อผลผลิตและคุณภาพของลำไย ในเขด อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2553 -ตุลาคม 2554 โดยได้ทำการสำรวจกลุ่มเกษตรกรเพื่อ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการทดลอง พบว่าสาเหตุของเกษตรกรในกลุ่มลำไยอินทรีย์ที่ ตัดสินใจเลือกการใช้ระบบอินทรีย์แทนการจัดการด้วยปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว มาจากเหตุผลที่วัสดุ ของปุ๋ยอินทรีย์หาง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะปุ๋ยคอก และยังพบว่า ปุ๋ยมูลวัวเป็นปุ๋ยที่เกษตรกรนิยมใช้ มากที่สุด ความถี่ในการเติมปุ๋ยอินทรี่ย์ให้กับแปลงลำไย เฉลี่ย 3 ครั้งปี และใช้ในอัตรา 20 กก./ต้น โดยประมาณ จากผลการสำรวจดังกล่าวทำให้เลือกชนิดปุ๋ยเพื่อวางตำรับการทดลองคือ คือ ปุ๋ย อินทรีย์ (ปุ๋ยที่มีเครื่องหมายทางการค้าที่เกษตรกรกลุ่มลำไยอินทรีย์นิยมใช้) ปุ๋ยมูลวัว และปุ๋ยมูลไก่ ในอัตรา 10 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยเปรียบเทียบกับตำรับควบคุม โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ทำการทดลอง 4 ซ้ำ (Replication) ขนาดของพื้นที่ เกษตรกรที่ใช้ในการปลูกลำไยอิมทรีย์ส่วนมากคือ 11-20 ไร่ และจากการศึกษาและทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยมูลไก่ ทำให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด คือ 48.5 กิโลกรัมตัน รองลงมาคือ ปุ๋ยมูลวัว 45.7 กิโลกรัม/ต้น และปุ๋ยอินทรีย์ 43.2 กิโลกรัม/ต้น และตำรับควบคุมให้ผลผลิต 27.2 กิโลกรัม/ต้น สำหรับปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Total Soluble solid : %Brix) ปริมาณ Total Titratable Acidity (% citic acid) และเกรดซึ่งกำหนดโดยขนาดของลำไยที่จำหน่ายในรูปผลสด เพื่อนำไปทำ ลำไยอบแห้ง ตามมาตรฐานของการซื้อขายทั่วไป พบว่าตำรับที่มีการใช้ปุ๋ยมูลวัวนั้นมีผลทำให้มี ปริมาณต่างๆดังกล่าวสูงกว่าตำรับอื่นๆ คือ 16.5 % Brix , 0.97 %ITA และ 27.57 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนคุณภาพในด้านของปริมาณน้ำหนัก โดยได้แยกส่วนในการชั่งคือ น้ำหนักเปลือก เนื้อ และเมล็ด พบว่าในตำรับปุ๋ยมูลวัวมีน้ำหนักทุกส่วนมากกว่าตำรับอื่นๆ สำหรับเปอร์เซ็นต์ของ ส่วนที่รับประทานได้นั้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้มีเปอร์เซ็นด์สูงที่สุดคือ 56.70% ปริมาณธาตุอาหารในดินใต้ทรงพุ่มมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง โดยในดินระดับบน (0-15 ซม. พบว่า ปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมที่สกัดได้ และสังกะสีมีปริมาณสูงขึ้น ในขณะที่ดินล่าง (15-30 ซม.)มี ปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ สังกะสีและทองแดงมีค่าเพิ่มขึ้นหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ปริมาณธาตุอาหารในใบลำไยก่อนการออกดอกพบว่าใบตำรับควบคุม มีการสะสมธาตุ อาหารสูงกว่าตำรับอื่นๆ ขณะที่การใช้ปุ๋ยมูลไก่ให้ปริมาณ ไนโตรเจนสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นคือ 1.33 % N ส่วนปริมาณ โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และแมงกานีสที่สกัดได้ ไม่มีความ แตกต่างกันในทางสถิติแต่อย่างใด ปริมาณธาตุอาหารของใบจากกึ่งที่ติดผลพบว่า ปริมาณเหล็กที่ สกัดได้สูงที่สุด จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คือ 98 mgFe/kg ในกรณีของใบไม่ติดผลไม่มีความแตกต่าง ทางสถิติของปริมาณธาตุอาหาร การสะสมปริมาณธาตุอาหารในผลลำไย ในส่วนของเปลือก เนื้อ และเมล็ด พบว่าในส่วน ของเปลือกลำไยมีปริมาณธาตุอาหารเกือบทุกตัวสูงกว่าสัดส่วนของเนื้อและเมล็ด โดยมีค่าเฉลี่ยของ ปริมาณแคลเซียมสูงที่สุด คือ 3:33 % ขณะที่เนื้อของลำไยมีปริมาณ โพแทสเซียมสูงที่สุด เฉลี่ยคือ 1.4 % โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ มีการสะสมฟอสฟอรัส และธาตุแมงกานีส มีค่าสูงที่สุดในทุกๆ ส่วนของผลลำไยคือ 0.1038 0.1412 และ 0.1625%P ส่วนปริมาณการสะสมแมงกานีสในผลลำไย คือ 47.66, 47.66 และ 11.20 mgMn/kg ในส่วนของเปลือก เนื้อ และเมล็ดตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The study of organic fertilizer management on yield and quality of longan in Hang Dong, Chiang Mai during October 2010 - October 2011. This experiments was discovered by the questionnaire of organic longan farmer group for participate to design treatments. The main reasons to decide for choosing organic farming instead of conventional technique were answering as organic fertilizer easy to find around their orchard. Moreover, they informed that cow manure is the most popular to use for adding like organic fertilizer with 3 times a year at the rate of 20 kg/tree. Then, this experiment was contained with 4 treatments; 1) Control-C, 2) Organic Fertilizer-OF at application rate 10 kg/tree/year, 3) Cattle Manure-CM at rate 10 kg/tree/year, 4) Chicken Manure-CHM at rate 10 kg/tree/year, with Randomized Complete Block Design (RCBD) and 4 replicates. The area of organic longan orchard is approximately 11- 20 rai. CHM provided the highest of yield at 48.5 kgtree. CM gave the longan yield of 45.7 kg/tree and OF showed the yield at 43.2 kg/tree. Moreover, Total Soluble Solid (%Brix) of Total Titratable Acidity (%TTA), and grading of marketable fresh quality dry longan were collected. CM caused the highest of all quality as 16.5 %Brix and 0.97 %TTA and 27.57 mm. of fruit diameter respectively. However, was separated as rind, pomace and seed. CM also provide the high fresh weight the qualities of fresh weight all of partition. The highest ratio of edible was analyzed in treatment of OF at 56.70 %. The amount of mineral under longan canopy increased after application with all fertilizers. On top soil, the result showed that available phosphorus, extractable potassium, extractable calcium, extractable magnesium and extractable zinc were increased whereas the available phosphorus, extractable zinc and copper were rose after harvesting. The mineral concentration of longan leaves before flowering was analyzed and C treatment showed the higher value than other treatment. CHM gave the highest concentration of nitrogen in leaf samples at this stage more than other treatments with 1.33 %N. The concentration of potassium, calcium, magnesium and manganese were not significantly. However, the mineral concentration of fruiting leaves showed the highest of iron concentration with OF treatment at 98 mgFe/kg. The concentration of plant nutrition in non-fruiting leaves was not significant. The amount of nutrient in longan fruit that separate as rind, pomace and seed showed the higher nutrient in rind than pomace and seed. The average of calcium in rind partition hit the peak at 3.33%. Whereas, the average content of potassium was 1.4 % in pomace. OF application caused the content of phosphorus and manganese in all partitions of longan fruit at 0.1038, 0.1412 and 0.1625% P and 47.66, 47.66 and 11.20 mgMn/kg in rind, pomace and seed respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2554
การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี (ปีที่2) การพัฒนาต้นแบบการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพความหอมตลอดห่วงโซ่การผลิต การพัฒนาต้นแบบการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ ด้วยเทคโนโลยีการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพความหอมตลอดห่วงโซ่การผลิต ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 : การวิจัยเพื่อทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในการผลิตและการตลาดไม้ผลในพื้นที่ขยาย โครงการพัฒนาวิชาการ การผลิตต้นพันธุ์ยางพาราคุณภาพดี เพื่อเผยแพร่ให้กับเกษตรกรของสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร การประเมินคุณภาพฟักทอง (Cucurbita spp.) และการพัฒนากระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตแป้งฟักทอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาขี้ม้อนที่มีคุณภาพดี การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการผลิตลำไยอินทรีย์ การวิจัยและพัฒนาการผลิตก้อนเชื้อเห็ดและอาหารเสริมอินทรีย์สำเร็จรูปสำหรับการผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่นอินทรีย์ให้ได้ปริมาณและคุณภาพสูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก