สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Camellia Oil Tea.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมพล นิลเวศน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการการวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน ประกอบด้วย 6 การทดลอง ได้แก่ 1. การเปรียบเทียบพันธุ์ชาน้ำมันพันธุ์การค้าจากต้นเพาะเมล็ดของประเทศจีน เปรียบพันธุ์ชาน้ำมันพันธุ์การค้าจากต้นเพาะเมล็ดของประเทศจีนจำนวน 9 พันธุ์ ดำเนินการปลูกเมื่อ ก.ค.-ก.ย. 2554 เดือน มีความสูงเฉลี่ย 47.12 - 127.62 ซม. ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย 32.22 - 82.72 ซม. ขนาดเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย 4.03 – 8.38 ซม. สำหรับการออกดอกและติดผล พบว่า เริ่มออกดอกเมื่อต้นอายุ 2 ปี (ปี 2556) ในเดือน ธ.ค. และ เพิ่มมากขึ้นเมื่อต้นอายุ 4 ปี (ปี 2558) ตั้งแต่ เดือน ม.ค. และออกดอกอีกครั้งใน เดือน มิ.ย.-ธ.ค. ทั้ง 9 เบอร์รวมทั้งหมด 57 สายต้น โดยพบการออกดอกมากที่สุด ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) 2. การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากแหล่งต่างๆของประเทศไทยและสายพันธุ์จากต่างประเทศ รวบรวมและคัดเลือกจากแหล่งต่างๆของประเทศไทย จำนวน 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์จากต่างประเทศ จำนวน 7 พันธุ์ รวมทั้งหมด 9 สายพันธุ์ ปัจจุบันต้นชาน้ำมันมีอายุ 4 ปี 4 เดือน มีความสูงเฉลี่ย 81.47-147.30 ซม. ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย 46.22-67.27 ซม. ขนาดเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย 4.77-7.99 ซม. โดยที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่เหียะ) พบว่า พันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากต้นเพาะเมล็ดของ C. vietnamensis C. gauchowensis และ C. polydonta มีการเจริญเติบโตดีที่สุดตามลำดับ สำหรับที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) พบว่า พันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากต้นเพาะเมล็ดของ C. vietnamensis C. kissii (pongnoy) และ C. gauchowensis มีการเจริญเติบโตดีที่สุดตามลำดับ โดยพบการออกดอก ของ C. vietnamensis จำนวน 4 ต้น และ C. kissii (Pongnoy) จำนวน 22 ต้น และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) พบว่า พันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากต้นเพาะเมล็ดของ C. polydonta C. semiserrata var. Albiflora C. semiserrata Chi และ C. vietnamensis มีการเจริญเติบโตดีที่สุดตามลำดับ โดยพบการออกดอกเมื่อต้นอายุ 2 ปี (ปี 2556) และเมื่อต้นอายุ 4 ปี (ปี 2558) ใน เดือน ก.ย.-ธ.ค. จำนวน 2 เบอร์ ได้แก่ C. gauchowensis 18 ต้น และ C. semiserrata var. Albiflora 1 ต้น 3. การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ชาน้ำมันพื้นเมือง ดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างชาเพื่อใช้ขยายพันธุ์และตรวจสอบลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โดยเก็บตัวอย่างในสถานที่ต่าง ๆ 5 สถานที่ ดังนี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ จ.เลย อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนน์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน ทำการเก็บตัวอย่างเมล็ดชาน้ำมันเพื่อนำเมล็ดบางส่วนมาเพาะเพื่อทำการทดสอบในแปลงปลูกและนำมาวิเคราะห์หาปริมาณน้ำมัน เพื่อเป็นข้อมูลในการหาต้นแม่พันธุ์ที่ดีสำหรับการขยายพันธุ์ต่อไป พบว่า ปริมาณน้ำมัน ของตัวอย่างเมล็ดที่เก็บจาก จ.น่าน น่าน 4 27.74% และน่าน 5 มีปริมาณน้ำมัน 34.76% 4. การศึกษาการขยายพันธุ์ชาน้ำมันด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฟอกเนื้อเยื่อชาน้ำมันด้วยสารกำจัดเชื้อรา(อาลีเอท) อัตราส่วนต่อน้ำกลั่น 3 กรัม : 100 ซีซี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำกลั่นเป็นเวลา 1 นาที แล้วจุ่มด้วยแอลกอฮอล์ 95 % ประมาณ 30 วินาที จากนั้นนำมาฟอกด้วย Clorox ผสม Tween 20 ประมาณ 2-3 หยด ที่ความเข้มข้น 10% และ 5% เป็นเวลา 10 นาที และ 20 นาที ตามลำดับ แล้วนำมาล้างด้วยน้ำกลั่น 3 ครั้ง ครั้งละ 5 นาที ตัดยอดและข้อ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของยอดชาน้ำมันในอาหารสูตร MS และย้ายลงในอาหารสูตร WPM ที่ชักนำให้เกิดยอดและราก พบว่าเนื้อเยื่อเจริญที่นำมาเพาะเลี้ยงในส่วนปลายยอด มีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าเนื้อเยื่อเจริญส่วนอื่น และอาหารสูตร WPM สามารถชักนำชิ้นส่วนเจริญให้เกิดรากได้ ส่วนการเกิดแคลลัส เมื่อนำไปเพาะเลี้ยงไม่มีการเจริญเติบโต 5. การศึกษาการตัดแต่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มชาน้ำมัน ดำเนินการเตรียมแปลงและต้นกล้าชาน้ำมันพันธุ์ Camellia vietnamensis 1 แปลง จำนวน 80 ต้น ย้ายต้นกล้าปลูกในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2557 เพื่อทำการทดลองตัดแต่งแต่งตามกรรมวิธี โดยต้นชาน้ำมันที่ปลูกลงแปลงมีการเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่สามารถตัดแต่งได้ เนื่องจากต้องการให้ต้นชาน้ำมันมีระดับความสูง50-75 เซนติเมตร ตามกรรมวิธี โดยคาดว่าจะเริ่มทำการตัดแต่งควบคุมทรงพุ่มในปี 2559 6. การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตชาน้ำมัน เพื่อศึกษาสัดส่วนและอัตราการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพชาน้ำมัน และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรในพื้นที่ ดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ผลการทดลอง พบว่า ความต้องการปุ๋ยชาน้ำมันในรอบปีต้องการปุ๋ยไนโตรเจน 45 กิโลกรัม ปุ๋ยฟอสเฟต 4 กิโลกรัม และปุ๋ยโพแทส 12 กิโลกรัม/ไร่ โดยสัดส่วน N:P2O5:K2O เท่ากับ 11:1:3 การทดสอบอัตราปุ๋ยไนโตรเจน (N) วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ N 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 กิโลกรัม/ไร่ พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ต้นชาน้ำมันมีการเจริญเติบโตด้านความสูงต้นสูงที่สุด 196.0 เซนติเมตรเมื่ออายุ 2 ปี 3 เดือน รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ มีความสูงต้น 165.5 เซนติเมตร แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยอัตรา 40 และ 50 กิโลกรัม/ไร่ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The research and development on camellia oil Tea composed of six trials including 1. comparison of oil tea variety for commercial from China’s seedling Comparable of seeds from China amount of nine commercial varieties by transplant on July - September 2011. Currently oil tea is 4 years and 4 months, They are height average from 47.12 cm to 127.62 cm, width’s bush average 32.22 cm to 82.72 cm and girth average 4.03 cm to 8.38 cm. Oil tea was began flowery and fruitful at two years (2013) in December and increase of flowery at 4 years (2015). Found the most flowery at Khunwang substation(1,300 meters above the sea) in January and again in November – December. 2. Collection and selection of tea variety for oil produce from Thailand and abroad. Collected and selected from Thailand two species (Camellia kissii from Inthanon National Park and C. kissii from Pongnoy substation) and abroad seven species (C. semiserrata Chi, C. vietnamensis, C. gauchowensis Chang, C. polydonta How ex Hu, C. semiserrata var. Albiflora, C. mairei (levl.)Melchior and C. octopetala Hu) They are height average 81.47 cm to 147.30 cm, bush average 46.22 cm to 67.27 cm and girth stem average 4.77 cm to 7.99 cm. Result of growth measured at at Mae Hia (400 meters above the sea) found that C. vietnamensis, C. gauchowensis and C. polydonta was the best growth respectively. Growth at Pong Noi substation (1,100 meters above the sea) found that C. vietnamensis, C. kissii (Pongnoy) and C. gauchowensis was the best growth respectively. C. vietnamensis was flowery 4 tree and C. kissii (Pongnoy) was flowery and fruitful 22 tree at 4 years old. Growth at Khunwang (1,300 meters above the sea) found that C. polydonta, C. semiserrata var. Albiflora, C. semiserrata Chi and C. vietnamensis was best growth respectively, C. gauchowensis 18 tree and C. semiserrata var. Albiflora 1 tree was began early flowery at 2 years old (2013) in September – December. 3. Collection and selection of native varieties of tea oil. Conduct surveys and collect samples of tea to determine the species and botanical characteristics. Samples were collected in different places fifth place at the Sanctuary Phu Luang Wildlife district Phu Rua district, Doi Pha Hom Pok, Doi in Thanon, Park Suthep, Chiang Mai and Doi Phu Kha, Nan. Sampled tea seed oil to bring some seeds were planted in the field to test and analyzed for oil content. For information on how to find a good breeder for the species to find the oil content of seed samples collected from the province. Nan Nan Nan 5 4 27.74% and 34.76% oil content. 4. Study of propagation oil tea by tissue culture. Cleaned tissue oil tea with a fungicide (ratio of distilled water, 3 g: 100 cc) for one hour then washed with distilled water for 1 minute then dipped by ethylalcohol 95% about 30 seconds then bring it to Clorox bleach mixed with 2-3 drops of Tween 20 at a concentration of 10% and 5% for 10 minutes and 20 minutes respectively and then washed with distilled water three times for 5 minutes and cut the tissue culture of the elite. tea oil in MS medium and transferred into the medium WPM induced peaks and roots. Found that bud tissues was grown better than other tissues, WPM media can induced to develop parts of roots and callus cannot growth in culture . 5. Study of trim for control the oil tea’s bush. Prepare and seedling oil tea Camellia vietnamensis about 80 plants then move the seedlings planted in June - July 2557 for trim process. The tea oil plants are growing well. But it cannot trim until they are height 50-75 centimeters follow experimental. Expect to begin trimming for control the bush in 2016. 6. Soil and Chemical Fertilizer Management to Increase Camellia Oil Tea Yield aimed to increase yield and quality of Camellia oil tea production. The amounts of plant nutrients, nitrogen (N) phosphorus (P) and potassium (K) in leaves was examined and fertilizer trial was subsequently conducted during October 2012 and September 2015 at the Chiang Rai Horticulture Research Center. A Randomized Complete Block Design experiment with 4 replications was set up to examine the appropriate rate of N fertilizer for Camellia oil tea. The treatments were assigned according to the amount of NPK in leaves. There were 0 (control), 10, 20, 30, 40 and 50 kg N/rai, all treatment applied 4 and 12 kg/rai of phosphate and potash respectively. It was found that applying N fertilizer at the rate of 10 kilograms/rai gave the highest tree at 196.0 centimeter. Nitrogen fertilizer in rate 30 kilograms/rai got high tree at 165.5 centimeter, significant different in statistic with N in rate 40 and 50 kilograms/rai. Applied N fertilizer in rate 10-50 kilograms/rai made increase stem diameter but were not statistically different from the control treatment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292798
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยและพัฒนาเฟิน โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องอัดฟางข้าว โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์ โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ทุเรียน โครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ดาหลา โครงการวิจัยและพัฒนามะลิ โครงการวิจัยและพัฒนาสบู่ดำ โครงการวิจัยและพัฒนาหน้าวัว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก