สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
จิรพงศ์ ใจรินทร์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of rice introgression lines with brown planthopper resistance and KDML105 grain quality characteristics through marker-assisted selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิรพงศ์ ใจรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jirapong Jairin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ใช้โมเลกุลเครื่องหมาย simple sequence repeats (SSR) วิเคราะห์หาตำแหน่งยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Bph3 จากพันธุ์ข้าว Rathu Heenati โดยการพัฒนาประชากรข้าวผสมกลับ BC3F2 จากคู่ผสม Rathu Heenati X ขาวดอกมะลิ105 เพื่อใช้ทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลและสร้างแผนที่พันธุกรรม คัดเลือกโมเลกุลเครื่องหมาย SSR ที่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างพ่อ-แม่ จำนวน 36 ไพร์เมอร์ บนโครโมโซม 4, 6 และ 10 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มสายพันธุ์ต้านทานและอ่อนแอจำนวนกลุ่มละ 15 สายพันธุ์ พบว่ามีเพียงโมเลกุลเครื่องหมาย RM190 ที่สัมพันธ์กับลักษณะต้านทานและอ่อนแอ คัดเลือกโมเลกุลเครื่องหมายเพิ่มเติมที่มีตำแหน่งใกล้กับ RM190 เพื่อวิเคราะห์หาตำแหน่งยีนต้านทานที่แน่นอนบนโครโมโซม จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฟีโนไทป์ และจีโนไทป์ของประชากรผสมกลับ BC3F2 จำนวน 333 สายพันธุ์ พบว่ายีนต้านทาน Bph3 มีตำแหน่งอยู่ระหว่างโมเลกุลเครื่องหมาย RM588 และ RM589 บนโครโมโซม 6 นำโมเลกุลเครื่องหมายที่มีตำแหน่งใกล้กับยีนต้านทานไปใช้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดดี สามารถแยก linkage drag ระหว่างอัลลีล Bph3 และ Wx sup(a) ออกจากกันโดยการคัดเลือกฟีโนไทป์และการใช้โมเลกุลเครื่องหมายร่วมกัน สายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากการวิจัยครั้งนี้แสดงความต้านทานต่อความหลากหลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่พบในประเทศไทยและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์ข้าว ดังกล่าวสามารถจะพัฒนาเป็นพันธุ์ต้านทานหรือใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มี Wx sup(b) อัลลีล ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไป
บทคัดย่อ (EN): In this study, a simple sequence repeat (SSR) analysis was performed to identify and localize the Bph3 gene derived from cv. Rathu Heenati. For mapping of the Bph3 locus, we developed the backcross population, BC3F2, from a cross of Rathu Heenati X KDML105 and evaluated this for BPH resistance. Thirty-six polymorphic SSR markers on chromosomes 4, 6 and 10 were used to survey 15 resistant and 15 susceptible individuals from the backcross population. One SSR marker, RM190, on chromosome 6 was associated with resistance and susceptibility in the backcross population. Additional SSR markers surrounding the RM190 locus were examined to define the location of Bph3. Based on the linkage analysis of 333 BC3F2 individuals, we were able to map the Bph3 locus between two flanking SSR markers, RM588 and RM589, on the short arm of chromosome 6. The tightly linked SSR markers were further used to develop introgression lines (ILs) with essential grain quality traits and BPH resistance. The linkage drag between Bph3 and Wx sup(a) alleles was successfully broken by phenotypic selection integrated with marker-assisted selection. All fifty-one selected ILs developed in this study showed a broad spectrum resistance against BPH populations in Thailand and had KDML105 grain quality standards. Finally this study was revealed that the ILs can be directly developed into BPH resistance varieties or can be used as genetic resources of BPH resistance to improve rice varieties with the Wx sup(b) allele in rice breeding programs.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/156004
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 9 ill., 7 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนาความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ความสัมพันธ์ของพันธุ์ข้าวส่งเสริมบางพันธุ์ต่อปริมาณประชากรของ การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ที่พัฒนาได้จากพันธุ์ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ให้มีความต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว Jasmine IR57514 ให้ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก