สืบค้นงานวิจัย
ผลของแอมโมเนียต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในกุ้งขาวแวนนาไม Litopenaeus vannamei
บวรลักษณ์ คำน้ำทอง - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: ผลของแอมโมเนียต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในกุ้งขาวแวนนาไม Litopenaeus vannamei
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of ammonia on expression of stress-related genes of Pacific white shrimp Litopenaeus vannamei
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บวรลักษณ์ คำน้ำทอง
คำสำคัญ: แอมโมเนีย ความเครียด สนิป กุ้งขาวแวนนาไม
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) เป็นกุ้งทะเลสปีชีส์หลักที่มีการเพาะเลี้ยงเชิงพานิชย์ของประเทศไทยและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก สามารถส่งออกในรูปของกุ้งแช่แข็งและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในปัจจุบันต้องการผลผลิตที่สูง เกษตรกรจึงทำการเลี้ยงกุ้งขาวในลักษณะหนาแน่น (intensive) หรือหนาแน่นมาก (super-intensive) โดยปล่อยลูกกุ้งที่ความหนาแน่นประมาณ 500 ตัวต่อตารางเมตร หรือประมาณ 800,000 ตัวต่อไร่ มากกว่าค่า GAP (Good Aquaculture Practice) ที่กรมประมงแนะนําไว้ที่ 80,000 ตัวต่อไร่ ซึ่งการเลี้ยงในลักษณะหนาแน่นสูงนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง มีการสะสมของเสียมีพิษตกค้างในบ่อเลี้ยงมากขึ้น เช่น แอมโมเนีย จากสิ่งขับถ่ายของกุ้งและอาหารกุ้งที่เหลือ จากรายงานวิจัยในกุ้งขาวและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆพบว่าแอมโมเนียส่งผลเสียและมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำที่เลี้ยง โดยส่งผลให้การเติบโตลดลง ระบบภูมิคุ้มกันลดลงส่งผลให้กุ้งอ่อนแอติดโรคได้ง่ายขึ้น และนำไปสู่การตายของกุ้งที่ทำการเลี้ยงในที่สุด ซึ่งแอมโมเนียสามารถเหนี่ยวนำให้เกิด oxidative stress ก่อให้เกิด endoplasmic reticulum (ER) tress และเหนี่ยวนำให้เกิด apoptosis ในตับของกุ้งขาวแวนนาไม<br />งานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาผลของแอมโมเนียต่อการแสดงออกของยีนที่สัมพันธ์กับความเครียดในกุ้งขาวแวนนาไม โดยทำการคัดเลือกยีนที่มีรายงานวิจัยว่าเกี่ยวข้องกับความเครียดมาทำการวิเคราะห์ระดับการแสดงออกของยีนเมื่อกุ้งมีการสัมผัสกับแอมโมเนียในปริมาณต่างๆ จากนั้นทำการค้นหาสนิป (single nucleotide polymorphism, SNP) ในยีนที่มีระดับการแสดงออกแตกต่างกันและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสนิปกับระดับการแสดงของยีนนั้นๆ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยนี้คือ ทราบระดับการแสดงออกของยีนที่สัมพันธ์กับความเครียดหลังจากกุ้งได้รับแอมโมเนียปริมาณแตกต่างกัน ทราบสนิปและความสัมพันธ์ระหว่างสนิปกับระดับการแสดงออกของยีนที่สัมพันธ์กับความเครียดจากแอมโมเนีย โดยองค์ความรู้ที่ได้นี้จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไมเพื่อให้ได้กุ้งที่สามารถทนต่อสภาวะที่มีปริมาณแอมโมเนียในบ่อเลี้ยงที่สูงได้ในอนาคต ซึ่งการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวให้สามารถทนต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้นับเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวให้ความสนใจและต้องการอย่างยิ่ง</p>
บทคัดย่อ (EN): The Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) is an ecomonically species and is the main aquacultured marine shrimp species in Thailand. It is exported as the frozen shrimp and other forms of products leading to a large revenue to Thailand annually. Typically, super-intensive and intensive culture systems are used to increase the farmed production of L. vannamei. At present, several farmers seed very high density postlarvae at about 500 pieces/m2 (800,000 piece/rai) to increase the cultured production. This is approximately 10 times greater than that recommended for Good Aquaculture Practoce (GAP) by Department of Fisheries. These culture systems affect water quality in cultured ponds and result in the accumulation of toxic substances like ammonia from waste products of cultured shrimp and uneaten food. It has been reported that high ammonis levels are toxic to aquatic species and affect lower growth of cultured shrimp. In addition, it also results in shrimp immunity causing more susceptible to infection by various pathogenic agents.<br />In the present study, effects of ammonia on expression of stress-related genes are of interest. Initially, stress-related genes will be selected and their expression profiles of stress-related genes in the control and treated experimental animals will be analyzed after exposed with different ammonia levels. Subsequently, single nucleotide polymorphism (SNP) in genes showing significant differences between examined shrimp will be further analyzed by DNA sequencing. Association between SNP of interested genes and expression level will be analysed. The benefits of this study are that the information on expression levels of important stress responsive genes after ammonia exposure and association between SNP and gene expression levels will be known. The basic knowledge obtained can be applied for selection of stress toerant strains of L. vannamei in the future where this phenotype is of interest by the shrimp industry at present.</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของแอมโมเนียต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในกุ้งขาวแวนนาไม Litopenaeus vannamei
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2562
อัตราการหายใจ ผลผลิตขั้นต้น คุณภาพน้ำและดินในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว (Penaeus vannamei Boone, 1931) แบบพัฒนา การสร้าง infectious clones ของไวรัส Infectious myonecrosis virus (IMNV) และการผลิตไวรัส IMNV ของกุ้ง ในเซลล์แมลงเพาะเลี้ยงโดยใช้ Baculovirus vector เป็นตัวช่วย การศึกษาโครงสร้าง complementary DNA และการแสดงออกของยีน Insulin like growth factor-I ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ปรียบเทียบวิธีการจำแนกชนิด Vibrio vulnificus และ V. parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์แช่เยือกแข็ง ด้วยวิธีชีวเคมีและเทคนิคพีซีอาร์ การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์ โรคกุ้งคดงอในกุ้งขาว Litopenaeus vannamei การศึกษาผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยว กุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยว และกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคขี้ขาวในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ผลของการใช้จุลินทรีย์ ปม.1 ต่อการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931 ) ในบ่อดินพื้นที่จังหวัดระยอง ผลของการเลี้ยงขุนพ่อพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)ด้วยอาหารต่างกันต่อความสมบูรณ์ของเซลล์สเปิร์ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก