สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว แบบโรงเรียนเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิต พันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ไชยรัตน์ เหลือจันทร์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว แบบโรงเรียนเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิต พันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไชยรัตน์ เหลือจันทร์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกร ที่มีต่อวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร กรณีศึกษา โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการ การดำเนินโครงการโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อวิธีการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปี 2545 ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 51.6 เป็นชาย ร้อยละ 48.4 มีอายุ 51 ปีขึ้นไป อายุเฉลี่ย 48.8 ปี ร้อยละ 80.6 จบระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 21 ไร่ เป็นนาดำ ใช้ต้นทุนการผลิต เฉลี่ยไร่ละ 1,387 บาท เกษตรกรทั้งหมดได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยเคมี จากโครงการตรงตามเวลาและสายพันธ์ที่ต้องการ ร้อยละ 91.9 เข้าใจวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของโครงการ ร้อยละ 96.8 เคยได้เข้ารับการอบรมความรู้ด้านการผลิตข้าวพันธุ์ดี และร้อยละ 91.9 ได้ผลผลิตสูงและจำหน่ายได้ราคาเท่ากับข้าวทั่วไป ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร จากการศึกษา พบว่าเกษตรกรเห็นด้วยกับการถ่ายทอดฯ ด้วยวิธีการสาธิตและการฝึกปฏิบัติ ด้านการทดสอบเปอร์เซ็นต์ความงอกและแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำเกลือ การสำรวจแปลงนา วิเคราะห์ศัตรูข้าวและบทบาทของศัตรูธรรมชาติ การวิเคราะห์ดินก่อนการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว และเห็นด้วยกับวิธีการถ่ายทอดฯ การจัดทำแปลงสาธิตการหว่านกล้าเป็นแปลงย่อยเพื่อลดการเกิดโรคใบไหม้ การปักดำข้าวในช่วงเดือนกรกฎาคม การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยแต่งหน้า ช่วงกำลังออกดอก เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว การตัดใบข้าวและกรงแมลงทำให้ตัดสินใจลดการใช้สารเคมีและการเกี่ยวข้าวหลังจากข้าวออกดอก 30 วัน ทำให้คุณภาพข้าวดีขึ้น และเห็นด้วยกับวิธีการถ่ายทอดฯ วิธีการบรรยายและกระบวนการกลุ่ม การใช้วิทยากรเกษตรกร ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมวันละ 3 ชั่วโมง การเล่นเกมกลุ่มสัมพันธ์ และการนำปัญหาการทำนามาจัดทำเป็นหลักสูตรในการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะคือ ควรให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้เกษตรกร มีความรู้ด้านการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำเกลือเพื่อลดต้นทุนการใช้เมล็ดพันธุ์ และจัดทำแปลงทดสอบการใช้ปุ๋ยแต่งหน้าช่วงกำลังออกดอกโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กก./ไร่ เพื่อทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจถูกต้องมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มการเรียนรู้ทีมวิยากรเกษตรกรให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับต่อเกษตรกรในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวในชุมชน และควรปรับใช้การฝึกอบรมที่มีการเล่นเกมกลุ่มสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับวัยวุฒิของผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2545
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว แบบโรงเรียนเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิต พันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 : กรณีศึกษาในเขตชลประทาน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 ตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 จังหวัดยโสธร ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก