สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายและการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
นิศาชล ฤๅแก้วมา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายและการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity and distribution of aquatic plants in Bueng Khong Long, Bueng Kan province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิศาชล ฤๅแก้วมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nisachol Ruekaewma
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาชนิด ปริมาณ และการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึงกันยายน 2556 โดยเก็บตัวอย่าง 4 ครั้งตามฤดูกาล 22 สถานี 3 ซ้ำ กระจายทั่วพื้นที่บึงโขงหลง จากการสำรวจพบพรรณไม้น้ำทั้งสิ้น 21 วงศ์ 38 ชนิด โดยค่าเฉลี่ยมวลชีวภาพน้ำหนักสดของพรรณไม้น้ำเท่ากับ 1,607.5 ก./ตรม. พรรณไม้น้ำที่พบขึ้นหนาแน่น และมีการแพร่กระจายสูงสุด ได้แก่ สาหร่ายข้าวเหนียว 30.7% รองลงมาได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก แห้วทรงกระเทียม บัวสาย และสาหร่ายเส้นด้าย คิดเป็น 23.3%, 15.8%, 7.9% และ 4.8% ตามลำดับ ปริมาณและการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2555 (2,085.3 ก./ตรม.) รองลงมาได้แก่ เดือนมีนาคม 2556 (1,592.8 ก./ตรม.) และเดือนมิถุนายน 2556 (1,383.8 ก./ตรม.) พบน้อยที่สุดในเดือนกันยายน 2556 (1,367.6 ก./ตรม.) โดยพบการแพร่กระจายมากที่สุดในพื้นที่ตอนบน (1,889.9 ก./ตรม.) รองลงมาได้แก่ พื้นที่ตอนล่าง (1,603.8 ก./ตรม.) และน้อยที่สุดในพื้นที่ตอนกลาง (1,458.3 ก./ตรม.)
บทคัดย่อ (EN): Study on aquatic plants in Bueng Khong Long, Bung Kan province, was carried out on 22 stations 3 replications from December 2012 to September 2013 with 4 field surveys. These aquatic plants samples were analyzed in term of their species, density and distribution. The results showed that 21 families and 38 species of aquatic plants were found in Bueng Khong Long. The average abundance of aquatic plants was 1,607.5 g/m2 w with the highest of species composition of Utricularia spp. (30.7%). The community of aquatic plants were Hydrilla verticillata (L.f.) Royle, Eleocharis dulcis (Burm. f.) Trin.ex Hensch, Nymphaea lotus L. and Najas graminea Del. of 23.3%, 15.8%, 7.9% and 4.8%, respectively. The highest diversity, abundance and distribution of aquatic plants was December 2012 (2,085.3 g/m2), followed by March 2013 (1,592.8 g/m2) and June 2013 (1,383.8 g/m2) while lower in September 2013 (1.367.6 g/m2). It was found that the most spread was in the upper zone (1,889.9 g/m2), followed by middle zone (1,603.8 g/m2) and the lowest in the central (1,458.3 g/m2).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252165/172507
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายและการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ องค์ประกอบชนิดและการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำในลำน้ำชี การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณไม้น้ำในประเทศไทย ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ความหลากชนิดลูกปลาในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ องค์ประกอบของชนิดและการแพร่กระจายของพรรณไม้น้ำและแพลงก์ตอนในแม่น้ำยมและพื้นที่น้ำท่วม ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการละลายเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำไทยสกุลใบพาย เปลี่ยนเป็น ผลของอุณหภูมิต่อการเก็บรักษาเมล็ดเทียมพรรณไม้น้ำสกุลใบพาย การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณไม้น้ำในภาคเหนือของประเทศไทย การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก