สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องลำเลียงผลสับปะรด
นางสาวขนิษฐ์ หว่านณรงค์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องลำเลียงผลสับปะรด
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Handling Equipment for Pineapple Fruit
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาวขนิษฐ์ หว่านณรงค์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ขนิษฐ์ หว่านณรงค์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เครื่องลำเลียงผลสับปะรดยาว 12 เมตร ลากพ่วงโดยรถแทรกเตอร์ขนาด 80 แรงม้า ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดเวลาในการลำเลียงผลสับปะรดออกจากแปลงปลูก โดยคนเก็บสับปะรดจะยืนเรียงแถวหน้ากระดานเพื่อตัดสับปะรดและวางบนสายพานลำเลียง สับปะรดจะถูกลำเลียงมาลงในกระบะที่อยู่ด้านหลังรถแทรกเตอร์ เครื่องต้นแบบประกอบด้วยโครงสร้างหลัก ลักษณะคล้ายรถเทรลเลอร์ 4 ล้อ ต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์ ซึ่งใช้วางกระบะขนาด 1x2x0.6 เมตร (กว้างxยาวxสูง) สำหรับบรรจุผลสับปะรด และโครงสร้างสำหรับติดตั้งสายพานลำเลียงขนาด 0.3x12x0.3 เมตร (กว้างxยาวxสูง) ซึ่งต่อเข้ากับโครงสร้างหลักโดยใช้สลิงยึด สายพานลำเลียงขนาดกว้าง 10 นิ้ว ใช้ไฮดรอลิกมอเตอร์เป็นตัวขับสายพาน ความเร็วเชิงเส้นของสายพานประมาณ 0.5 เมตร/วินาที เครื่องต้นแบบสามารถพับขณะเดินทาง และยืดออกเพื่อทำงานในแปลงสับปะรด อีกทั้งยังสามารถทำงานในแปลงซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาและไหล่เขาได้ โดยใช้ใช้ไฮดรอลิกมอเตอร์ขับ จากการทดสอบในแปลงสับปะรด จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งวางผังปลูกสับปะรดแบบโรงงาน คือแถวของต้นสับปะรดยาวขนานกับถนนในแปลง คนเก็บสับปะรดสามารถเดินไปตามร่องปลูกตามการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์ได้ ใช้แรงงานคนเก็บผลสับปะรด 11 คน พบว่า ความสามารถการทำงานเฉลี่ย 2.10 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ย 77.01% อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 0.67 ลิตร/ไร่ จากการทดสอบในแปลงปลูกสับปะรดที่วางผังปลูกแบบเกษตรกร คือแถวของต้นสับปะรดตั้งฉากกับถนนในแปลง คนเก็บสับปะรดต้องเดินข้ามร่องปลูกเพื่อเก็บสับปะรด ตามแนวการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์ ใช้แรงงานคนเก็บผลสับปะรด 5 คน พบว่า ความสามารถการทำงาน 0.81 ไร่/ชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงาน 89.47% อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 1.14 ลิตร/ไร่
บทคัดย่อ (EN): A 12-m pineapple boom harvester attached to a 4-wheel tractor was researched and developed in order to convince timeliness of pineapple harvesting process. By using this prototype, the worker decrown and place the pineapple on a conveyor boom which extends across the rows and carries the fruits to a container. The main frame was designed to be a trailer with 4 tires attached to a 4-wheel tractor. A 1x2x0.6 m (WxLxH) pineapple container established on the main frame. The boom harvester structure was size 0.3x12x0.3 m (WxLxH). It was connected to the main frame by iron slings. The 10-inch belt conveyor was driven by a hydraulic motor at driven speed of 0.5 m/s. The prototype can be kept while transporting and stretched while working. Moreover it can be work in slope area by using a hydraulic motor for lifting boom harvester structure according to slope land. Testing were conducted in pineapple field at Prachuapkhirikhan Province. Testing results in industry pineapple plant pattern which planted along with the road in the field. It was found that average field capacity was 2.10 rai/h, field efficiency was 77.01%, fuel consumption was 0.67 lit/rai by using 11 workers for harvesting. Testing results in normal pineapple plant pattern which plant perpendicular with the road in the field. It was found that the field capacity were 0.81 rai/h, field efficiency was 89.47%, fuel consumption was 1.14 lit/rai by using 5 workers for harvesting.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องลำเลียงผลสับปะรด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของสับปะรดในระบบตลาด การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตสับปะรดสำหรับการส่งออก วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสับปะรดผลสดเพื่อการส่งออกให้เกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ 280662 โครงการวิจัยและพัฒนาพืชไร่เศรษฐกิจหลังการเก็บเกี่ยว ผลของการผสมผสานการใช้ 1-Methylcyclopropene ร่วมกับ Methyl Jasmonate ต่อการเกิดอาการไส้สีน้ำตาล และคุณภาพหลัง การเก็บเกี่ยวของสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร การพัฒนาผลิตภัณฑ์สับปะรดในรูปแผ่น โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกโครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการเก็บเกี่ยวและแปรรูปถั่วเขียว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก