สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง
สิรินทร์รัตน์ ผู้ยอดยิ่ง - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Subproject 1 Integrated Research on Enhancing the Efficiency of Rose Production in Royal Project Foundation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิรินทร์รัตน์ ผู้ยอดยิ่ง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมสำหรับกุหลาบ และศึกษาระยะตัดดอกที่เหมาะสมของกุหลาบ โดยกิจกรรมประกอบด้วย (1) การศึกษาวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมสำหรับกุหลาบในแปลงของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามวิธีการเดิมโดยใช้สารเคมีอย่างเดียว เปรียบเทียบแปลงที่ปฏิบัติตามวิธีการใหม่เน้นวิธีการผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM) (เน้นการปฏิบัติตามหลักการดังนี้ การหมั่นสำรวจโรคและแมลงในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ การจัดการแปลงปลูกอย่างเหมาะสม การใช้วิธีการทางเขตกรรมในการป้องกันศัตรูพืช การใช้จุลินทรีย์หรือสารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน และการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย) ดำเนินงานในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ระหว่างเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน 2558 ผลการสำรวจโรคและแมลงศัตรู พบการเข้าทำลายของโรค 3 ชนิด คือ โรคราแป้ง (Powderly mildew) โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) และโรคราสีเทา (Botrytis) สำหรับแมลงศัตรูพืชมีการเข้าทำลายทั้งหมด 3 ชนิด คือ หนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ และไร จากผลการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและจำนวนของแมลงศัตรูพืชในแปลงที่ปฏิบัติตามวิธีการใหม่ (IPM) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ กับแปลงที่ปฏิบัติตามวิธีเดิมของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีอย่างเดียว โดยเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคคิดเป็น 0-10 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของหนอนกระทู้ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ในส่วนของเพลี้ยไฟ พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยพบเพลี้ยไฟในแปลงที่ใช้สารเคมีอย่างเดียวเฉลี่ย 3.26 ตัวต่อต้น สูงกว่าแปลงที่ใช้วิธีการแบบผสมผสานเฉลี่ย 0.66 ตัวต่อต้น ขณะที่ไรแดงพบการระบาดในสัปดาห์สุดท้าย โดยพบระดับความรุนแรงของแปลงที่ใช้วิธีการแบบผสมผสาน 21-40% สูงกว่าแปลงที่ใช้สารเคมีอย่างเดียว 0-20% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) การศึกษาระยะตัดดอกที่เหมาะสมของกุหลาบ ในการศึกษาครั้งนี้ได้จัดการทดลองแบบแฟคทอเรียลตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ เพื่อศึกษาพันธุ์กุหลาบ 7 พันธุ์ คือ Gold strike , Green Planet, King Pride, ดารา, Magenta Pink, Cool Water และ Coral Beauty ร่วมกับระยะตัดดอก 3 ระยะ ซึ่งจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแยกแต่ละปัจจัยพบว่า กุหลาบพันธุ์ Gold strike มีอายุการปักแจกันมากที่สุด รองลงมาคือ Coral Beauty โดยมีอายุปักแจกัน 6.93 วันและ 6.23 วัน ตามลำดับและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากพันธุ์ Green Planet, King Pride, ดารา, Magenta Pink และ Cool Water สำหรับระยะตัดดอกที่เหมาะสม พบว่า ระยะตัดดอกที่ 2 มีอายุปักแจกันที่สุด คือ 5.04 วัน แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่ออายุปักแจกันของกุหลาบ สำหรับอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์และระยะตัดดอกไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของระยะตัดดอกร่วมกับพันธุ์ดอกกุหลาบแต่ละพันธุ์ พบว่า พันธุ์ Gold Strike ระยะตัดดอกที่ 3 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 7.70 วัน พันธุ์ Green Planet ระยะตัดดอกที่ 2 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 2.80 วัน พันธุ์ King Pride ระยะตัดดอกที่ 1 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 3.50 วัน พันธุ์ดารา ระยะตัดดอกที่ 2 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 5.50 วัน พันธุ์ Magenta Pink ระยะตัดดอกที่ 2 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 6.00 วัน พันธุ์ Cool Water ระยะตัดดอกที่ 1 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 4.90 วัน พันธุ์ Coral Beauty ระยะตัดดอกที่ 2 มีอายุปักแจกันมากที่สุด 7.00 วัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง การจัดการความรู้สำหรับโครงการวิจัยเชิงบูรณาการ การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของเสาวรสหวาน บนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้า บนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาวิธีการจัดการศัตรูพืชในถั่วลูกไก่ โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโด การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโดบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าอาโวกาโดและการปลูกอาโวกาโดบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก