สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน
ชื่อเรื่อง (EN): Use of Quizalofop-p-tefuryl with CDA Applicator in Tillage and No-tillage Soybean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pornchai Lueang-a-papong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุเทพ มีบุญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Suthep Meeboon
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการทดลองที่แปลงทดลองภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2538 - เมษายน 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบการใช้สาร [(+)-terahydrofurfuryl(R)-2-[4-(6-chloroquinoxalin-2-yloxy)phenoxy]propanoate] ในการใช้ที่อัตรา และเครื่องมือพ่น (ถังพ่นแบบสะพายหลังและเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA) ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบมีการไถและไม่มีการไถพรวน ซึ่งในแปลงที่ไม่มีการไถพรวนได้ทำการพ่นสาร glyphosate (N-(phosphonomethylglycine) เพื่อกำจัดวัชพืชก่อนปลูกถั่วเหลือง 7 วันในอัตรา 400 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ สำหรับการกำจัดวัชพืชในถั่วเหลืองแบบต่าง ๆ นั้นใช้สาร Quizalofop-p-tefuryl อัตรา 9.6 และ 14.4 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ พ่นภายหลังการปลูกถั่วเหลือง 25 วัน ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำมากแบบถังสะพายหลัง (Knapsack sprayer) ที่มีปริมาณน้ำ (Spray volume) 60 ลิตร/ไร่ และเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ที่มีปริมาณน้ำ (Spray volume) 4 และ 8 ลิตร/ไร่ พบว่าในการพ่นด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าพวกหญ้าตีนนก (Digitaria adscendens) หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-galli) หญ้าตีนกา (Eleusine indica) และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) ได้ดีเหมือนกับการพ่นด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำมากแบบถังพ่นสะพายหลัง สาร Quizalofop-p-tefuryl จะมีประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชดังกล่าวได้ดีทั้งในถั่วเหลืองที่มีการปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน โดยที่จะทำให้เกิดอาการเป็นพิษเล็กน้อยภายหลังการพ่น 21 วันแรก การใช้สาร Quizalofop-p-tefuryl เพื่อการควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าฤดูเดียว จะสามารถให้ผลผลิตของถั่วเหลืองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพที่ไม่มีการใช้สารเคมีนอกจากนี้ยังพบว่าการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวนจะไม่มีความแตกต่างกัน
บทคัดย่อ (EN): The experiment was undertaken at the Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University during November 1995 - April 1996. The objective of the study was to compare the use of postemergence herbicide quizalofop-p-tefuryl [(+)-terahydrofurfuryl(R)-2-[4-(6-chloroquinoxalin-2-yloxy)phenoxy]propanoate] in different rates and applicators (knapsack and CDA applicator) in tillage and no-tillage soybean. In no-tillage plot, glyphosate (N-(phosphonomethy1)glycine) was applied as preplanting herbicide at the rate of 2.5 kg(ae)/ha 7 days before planting. Quizalofop-p-tefuryl at the rate of 60 and 90 g(ai)/ha was applied at 25 days after soybean planting with knapsack sprayer (flat fan nozzle ; spray volume 375 /ha) and CDA (spray volume 25 and 50 1/ha.) The results showed that quizalofop-p-tefuryl at the rate of 60 - 90 g(ai)/ha applied with CDA applicator could control annual grass weeds (Digitaria adscendens; Echinochloa crus-galli :Eleusine indica, Dactyloctenium aegyptium) as effectively as that when applied with knapsack sprayer. Quizalofop-p-tefuryl showed the efficacy on annual grass weed control in both tillage and no-tillage soybean, but caused slight phytotoxicity in soybean during the first 21 days after application. The use of quizalofop-p-tefuryl for annual grass weed control produced significantly higher soybean yicld over the non-treated plot. It was also found that, the crop growth and yield in no-tillage was not different from tillage soybean.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247420/169249
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2539
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อัตราและเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ในถั่วเหลืองหลังนาที่ปลูกแบบเผาและไม่เผาฟาง การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว การจัดการวัชพืชโดยการปลูกพืชแบบหมุนเวียนในข้าวนาน้ำฝนที่มีการเตรียมดินแบบไถพรวนและไม่ไถพรวน การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกในถั่วเหลือง ผลของความสูงของตอซังและวิธีการควบคุมวัชพืชที่มีต่อวัชพืชและผลผลิตข้าวในนาหว่านน้ำตมที่ปลูกโดยไม่ไถพรวน การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง การเปรียบเทียบการใช้น้ำของข้าวระหว่างการไม่ไถพรวนกับการหว่านน้ำตมและปักดำ การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก