สืบค้นงานวิจัย
ผลกระทบต่อยุงก้นปล่องจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อทำสวนยางพาราในภาคะวันออก เฉียงเหนือตอนบน
นายกองแก้ว ยะอูป - กรมควบคุมโรค
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบต่อยุงก้นปล่องจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อทำสวนยางพาราในภาคะวันออก เฉียงเหนือตอนบน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายกองแก้ว ยะอูป
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2521 และเพิ่มจำนวนพื้นที่ขึ้นทุกๆ ปีจน ทำให้สภาพนิเวศวิทยาเปลี่ยนจากป่าเสื่อมโทรมแห้งแล้งกลายเป็นป่าสวนยางพาราซึ่งอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อ มาลาเรีย และอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการสำรวจและเฝ้าระวังทางกีฏ วิทยาของยุงพาหะโรคมาลาเรียในท้องที่สวนยางพารามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวนิสัย ความพร้อมของยุง พาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดความหนาแน่น ช่วงเวลากัดกินเลือดของยุงพาหะกับ ช่วงเวลาการกรีดยางพาราของประชาชนจากผลกระทบจากสวนยางพาราต่อยุงพาหะไข้มาลาเรียในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยทำการศึกษาสวนยางพาราที่กรีดยางพาราในบ้านเหล่าหม้อ หมู่ 5 ต.โคก สว่าง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด และ บ้านน้ำคิว หมู่ 5 ต.เสี้ยว อ.เมือง จ.เลย ที่เป็นสวนยางพาราที่มีอายุ 7 ปี ขึ้นไป สามารถกรีดยางได้ และมีข้อมูลการสำรวจพบยุงพาหะตัวเต็มวัยหรือลูกน้ำ เนื้อที่ประมาณ 2,500 ไร่ ทำการสำรวจสภาพแวดล้อมในพื้นที่ จับยุงกัดคนในบ้านและนอกบ้าน 2 วันตั้งแต่เวลา 18.00 น. - 06.00 เข้าศึกษาเดือนธันวาคม 2559-กันยายน 2560 รวม 3 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไป และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนยุงที่เข้ากัดในบ้านและนอกบ้าน ด้วย Two samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาบ้านเหล่าหม้อ หมู่ 5 ต.โคกสว่าง อ. หนองพอก จ.ร้อยเอ็ดไม่พบยุงก้นปล่องพาหะหลัก พบแต่ยุงก้นปล่องพาหะสงสัย 2 ชนิด คือ An. barbrirostris 3 ตัว (60.00%) An. campestis 2 ตัว (40.00%) บ้านน้ำคิว หมู่ 5 ต.เสี้ยว อ.เมือง จ. เลย พบยุงกันปล่อง 163 ตัวเป็นเพศเมียทั้งหมด แยกเป็นยุงกัดคนในบ้าน 109 ตัว (69.57%) นอกบ้าน 54 ตัว (30.43%) จำแนกชนิดยุงพาหะหลักที่พบได้ 2 ชนิดคือ Anopheles minimus 720 ตัว (97.82%) An. maculatus groups 1 ตัว (0.14%) และ An. dirus 4 ตัว (0.14%) พบยุงพาหะ สงสัย 2 ชนิด คือ An. barbrirostris 5 ตัว (0.68%) An. campestis 9 ตัว (1.22%) ยุงพาหะที่พบ มากที่สุดคือ An. minimus มีความหนาแน่นของยุงเข้ากัดคนในบ้านและนอกบ้านคิดเป็นอัตราส่วน 2.38 : 1 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนยุงที่เข้ากัดระหว่างในบ้านและนอกบ้าน พบว่า ยุงเข้ากัดในบ้านเฉลี่ย 69.58 ตัว (SD= 35.70 ตัว) และยุงเข้ากัดนอกบ้านเฉลี่ย 48.58 ตัว (SD= 42.84 ตัว) ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่ มีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = 21.00 (95%CI: 12.38-54.39, p-value = 0.21) และมีค่าเฉลี่ย ตลอดทั้งปี 2.64 และ 1.11 ตัว/คน/ชั่วโมง จากการจับยุงตลอดคืน (12 ชั่วโมง) พบยุงเข้ากัดคนเกือบทุก ชั่วโมง และช่วงเวลาเข้ากัดคนสูงสุดในบ้านคือ 03.00-04.00 น. (6.25) นอกบ้าน คือ 02.00-03.00 น. (3.00) เดือนที่พบความหนาแน่นของยุงเข้ากัดคนในบ้านมากที่สุดคือ มิถุนายน (7.73) เข้ากัดคนนอกบ้าน (2.58) โดย สรุปจากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามียุงพาหะโรคมาลาเรียในสวนยาง จ.เลย ซึ่งช่วงเวลาที่ยุงพาหะเข้ากัดคน สอดคล้องกับช่วงเวลาออกกรีดยางของซาวบ้าน แม้ว่าพื้นที่เข้าไปดำเนินการศึกษาไม่พบปัญหาการระบาดของ ไข้มาลาเรีย แต่ควรเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้โรคกลับมาอุบัติซ้ำในพื้นที่โดยการให้สุขศึกษาประซาสัมพันธ์แก่ผู้ที่ กรีดยางเรื่องการป้องกันตนเองจากยุงกัดเช่นสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใช้สารชุบหรือทา เป็นต้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/research/download/textfull/130
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักโรคติดต่อทั่วไป
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลกระทบต่อยุงก้นปล่องจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อทำสวนยางพาราในภาคะวันออก เฉียงเหนือตอนบน
สำนักโรคติดต่อทั่วไป
2547
เอกสารแนบ 1
กลุ่มวิจัยยางพารา ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.Arg.) ในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ผลกระทบจากสวนยางพาราต่อยุงก้นปล่องในพื้นที่แพร่เชื้อไข้มาลาเรีย จังหวัดตรัง สำรวจโรคและศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจในสวนยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การยอมรับสวนยางพาราของชุมชน และการเจริญเติบโตของต้นยางพารา ในโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ บ้านนาศิริอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผลกระทบจากสวนยางพาราต่อยุงก้นปล่อง ในพื้นที่ยับยั้งการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย จังหวัดตรัง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก