สืบค้นงานวิจัย
สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
พิทยา เรียงทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิทยา เรียงทอง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าว และปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวของเกษตรกร ประชากรเป็นเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว 1,460 ราย สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 146 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.31 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.52 คน มีแรงงานในครอบครัว เฉลี่ย 3.87 คน ร้อยละ 59.59 เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเป็นของตนเอง ร้อยละ 39.68 โดยมีพื้นที่ถือครองต่อครอบครัว เฉลี่ย 17.23 ไร่ มีพื้นที่เช่าทำการเกษตรต่อครอบครัว เฉลี่ย 11.54 ไร่ เกษตรกรทั้งหมดประกอบอาชีพทำนา ร้อยละ 92.46 ใช้เงินทุนของตนเองในการทำการเกษตร มีรายได้ในภาคการเกษตรระหว่าง 20,001 - 30,000 บาท เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งมีรถไถเดินตามเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่จ้างเครื่องนวดข้าว สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าว เฉลี่ย 20.16 ไร่ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย อาศัยน้ำฝนในการทำนาอย่างเดียว ส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อย่างเดียว ทั้งหมดปลูกข้าวเพื่อบริโภคและจำหน่าย เกษตรกรเกินครึ่งเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวของตนเองปลูก เกษตรกรร้อยละ 80.14 เคยเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ร้อยละ 44.52 ปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ ตกกล้าเดือนมิถุนายน เกษตรกรร้อยละ 49.23 ใช้กล้าอายุ 30 - 40 วันไปปักดำ ร้อยละ 61.54 ปักดำในเดือนกรกฎาคม ส่วนการทำนาหว่าน ไถดะ 1 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม ไถแปรเดือนมิถุนายน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ เฉลี่ย 19.60 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 - 16 - 8 โดยใช้ปุ๋ยเคมีหลังจากปักดำ 7 - 10 วัน ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่าเกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เกษตรกรร้อยละ 90.41 เก็บเกี่ยวข้าวด้วยแรงงานคน โดยมากกว่าครึ่งตากข้าวในนามากกว่า 4 วัน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เครื่องนวดข้าว และมีการไถกลบตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว สำหรับปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าว พบว่า เกษตรกรมีปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ปลูกข้าว เรื่องปัจจัยการผลิต และปัญหาเรื่องโรคแมลงศัตรูข้าว เนื่องจากมีหนอนกอระบาด และพบโรคใบไหม้ระบาด โดยส่วนใหญ่แก้ปัญหาด้วยตนเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลหนองตาด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลศรีวิลัย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2546/2547

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก