สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา
จารี ผลชนะ, จินตนา ดำรงไตรภพ, ศศิวิมล ปิติพรชัย, แสงเดือน นาคสุวรรณ, นวพร พัฒนยินดี, จารี ผลชนะ, จินตนา ดำรงไตรภพ, ศศิวิมล ปิติพรชัย, แสงเดือน นาคสุวรรณ, นวพร พัฒนยินดี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง (EN): Monitoring of Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) and Extra small virus (XSV) in giant freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii DE MAN) farms and wild in Chonburi and Chachoengsao Provinces
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: กุ้งก้ามกราม
บทคัดย่อ: การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2556 โดยเก็บตัวอย่างกุ้งก้ามกรามจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกราม จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 55 บ่อ มีการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภายในฟาร์ม และตรวจสอบการติดเชื้อไวรัส MrNV ในกุ้งก้ามกรามโดยวิธี RT-PCR ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างกุ้งทั้งหมด มาจากการเลี้ยงรวมกับกุ้งขาวในบ่อดิน ที่มีการเลี้ยงในระบบปิดร้อยละ 81.1 และฟาร์มส่วนใหญ่ซื้อลูกพันธุ์มาจาก จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา วิธีการเลี้ยงทั้งหมดจะให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป การจัดการด้านโรคสัตว์น้ำ จะมีวิธีการกำจัดพาหะของเชื้อไวรัส MrNV โดยใช้ส่าเหล้า และสารเคมี ร้อยละ 17 ก่อนการปล่อยลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยงมีการฆ่าเชื้อลูกพันธุ์ ร้อยละ 43.4 การปูองกันสัตว์น้ำพาหะจำพวก กุ้ง ปู และแมลงน้ำ ร้อยละ 96.2 ใช้ตาข่ายในการปูองกันนก ร้อยละ 84.9 การทำความสะอาดฆ่าเชื้ออุปกรณ์หลังการใช้งาน ร้อยละ 9.4 และหลังจากการเก็บเกี่ยวการปล่อยน้ำทิ้งส่วนใหญ่ร้อยละ 84.9 ทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรงโดยไม่ทำการพักหรือฆ่าเชื้อน้ำทิ้ง และ จากการตรวจตัวอย่างกุ้งก้ามกราม 55 ตัวอย่าง พบเชื้อไวรัส MrNV ในตัวอย่างกุ้งก้ามกราม จำนวน 21 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 38.18 ซึ่งจะเห็นว่าเชื้อยังมีการแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงควรที่จะมีการพัฒนาระบบการควบคุมเชื้อไวรัสนี้ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
การศึกษาปฏิสัมพันธ์ในกุ้งก้ามกรามและไวรัสก่อโรคในกลุ่ม nodavirus ผลของสไปรูไลนา (Spirulina platensis) ต่ออัตราการรอดของกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii ) ที่ติดเชื้อ Macrobrachium rosenbergii Nodavirus และ Extra small virus การขนส่งกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) มีชีวิตโดยใช้วัสดุมีความชื้น การศึกษาและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ไคโตซานจากเปลือกกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การตายของลูกกุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อ การสร้างอนุภาคไวรัส MrNV ก่อโรคกุ้งก้ามกรามในระบบเซลล์แมลง SF9 คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อกุ้งก้ามกรามและเศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามจากพื้นที่ต่างกัน การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาโดยใช้อัตราปล่อยต่างๆกัน อิทธิพลของสารยับยั้งแบคทีเรียต่อลักษณะเชิงคุณภาพของกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) หักหัวแช่น้ำแข็ง การผลิตรีคอมบิแนนท์ฮีโมไซยานินของกุ้งก้ามกรามและการทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสMrNV และแบคทีเรียชนิดต่างๆ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก