สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก
ธีรยุทธ ตู้จินดา - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Marker Assisted Development of Irrigated Rice Varieties for Submergence Tolerance and Bacterial blight and Brown planthopper resistance
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีรยุทธ ตู้จินดา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวกล้องงอก (pre-germinated brown rice หรือ GABA rice) เป็นข้าวที่มีสารสารกาบา (Gamma aminobutyric acid; GABA) ในปริมาณสูง ซึ่งกาบาเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยปรับสมดุลให้กับระบบประสาท การนำข้าวกล้องงอกมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นทางเลือกในการนำมาใช้ในการป้องกัน หรือรักษา หรือ ฟื้นฟูระบบประสาท จึงเป็นที่น่าสนใจ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวที่เป็นพืชเศรษฐกิจ ของประเทศอีกด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาข้าวกล้องงอกในรูปแบบเครื่องดื่มผงกาบาสูง และศึกษาผลของการได้รับข้าวกล้องงอกในรูปเครื่องดื่มผงต่อ การทำงานของสมองระดับสูง นอกจากนั้นแล้วยังศึกษาถึงผลของการได้รับข้าวกล้องงอกต่อการทำงานของระบบสารสื่อประสาทในสมองโดยมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาข้าว กล้องงอกกาบาสูงในการนำมาใช้ฟื้นฟูระบบประสาทจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่เกิดขึ้นจากภาวะซึมเศร้า การติดสารเสพติด และความจำเสื่อม จากผลการศึกษา พบว่าข้าวเปลือกเริ่มต้นที่ไม่ผ่านการงอก มีสารกาบา 9.9 มก./100 กรัม ข้าวที่ผ่านการงอก อบและสีเป็นข้าวกล้องมีสารกาบา 147.7 มก/100 กรัม ใน กระบวนการหุงสุก และอบ เทียบกับการหุงสุก อบ และทำเป็นผงด้วย Drum dryer มีปริมาณสากาบาในข้าวกล้องงอกผงเท่ากับ 26.56 และ 22.51 มก /100 กรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่าข้าวกล้องงอกนั้นมีปริมาณแร่ธาตุที่น้อย ไม่พบเอนไซม์ แอลฟาอะไมเลส สารซิตริก และโซเดียมกลูตาเมทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้นั้นไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เครื่องดื่มผงข้าวกล้องงอกได้ถูกนำมาทดสอบการทำงานของสมองระดับสูงในอาสาสมัครสุขภาพดี โดยใช้ Wisconsin Card Sorting Test และตรวจวิเคราะห์สารเคมีในเลือด การทำงานของตับ และไต ก่อนและหลังจากการได้รับเครื่องดื่มผงข้าวกล้องงอกเป็นเวลา 30 วันและ 50 วัน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการดื่มเครื่องดื่มผงข้าวกล้องแล้ว อาสาสมัครมีคะแนนการผิดพลาดลดลง ภายหลังจากการดื่มข้าวกล้องงอกผงเป็นเวลา 30 วันและ 50 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่าตัวชี้วัดการทำงานของสมองดีขึ้น โดยแสดงให้เห็นค่าของการปรับเปลี่ยนความคิดอย่างมีเหตุผล และผลการตรวจค่าการทำงานของตับ และไต รวมทั้งค่าสารเคมีในเลือดพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนั้นแล้วการศึกษาวิจัยถึงผลของการได้รับข้าวกล้องงอกกาบาสูง ภายหลังติดสารเสพติดของสัตว์ทดลองพบว่าข้าวกล้องงอกนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของโปรตีนตัวรับกาบา (GABA-A receptor) นอกจากนั้นยังพบว่า การเปลี่ยนแปลงปริมาณของตัวรับกาบานั้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ เคลื่อนไหวและพฤติกรรมความกลัวและวิตกกังวลที่ลดลงสู่ภาวะปกติภายหลังจากได้รับข้าวกล้องงอกอีกด้วย และการศึกษาถึงผลของการได้รับข้าวกล้องงอกกาบาสูงในสัตว์ทดลองที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้า นั้นพบว่าสามารถที่จะลดภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนั้นผลของการได้รับข้าวกล้องอกต่อการสูญเสียการเรียนรู้และความจำ พบว่าข้าวกล้องงอกมีผลต่อการเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนในสมองส่วน frontal cortex และเพิ่มระดับสารสื่อประสาทกลูตาเมทและกาบาของสมองสองส่วน frontal cortex และ hippocampus ในหนูแก่ตามธรรมชาติส่วนในหนูขาวที่มีภาวะสมองเสื่อมจากการถูกเหนี่ยวนำด้วยโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ (AB2s-3s- peptide) พบว่าข้าวกล้องงอกเพิ่มระดับสารสื่อประสาทกลูตาเมทและกาบาในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสแต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน ดังนั้นจากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าข้าวกล้องงอกจากข้าวค่ำนั้นเป็นข้าวที่เมื่อผ่านกรรมวิธีเป็นเครื่องดื่มผงแล้วยังพบสารกาบาในปริมาณสูง และผลของการได้รับข้าวกล้องงอกกาบาสูงนั้นยังสามารถช่วยลดพฤติกรรมที่ผิดปกติภายหลังจากการติดสารเสพติด และสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้า อีกทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มการเรียนรู้และความจำ ซึ่งอาจเกิดจากการปรับตัวของสารสื่อประสาทในสมอง ผลจากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงข้าวกล้องงอกนั้นมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปเป็นอาหารเสริมข้าวกล้องงอกกาบาสูงเพื่อนำมาใช้ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูโรคทางระบบประสาทนั้น นอกจากนั้นแล้ว ผลการศึกษาวิจัยยังให้ข้อมูลยืนยันคุณค่าของข้าวไทยเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตอีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2558
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ปีที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและทนน้ำท่วมฉับพลันโดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกร่วมกับการคัดเลือกลักษณะฟีโนไทป์ อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทานโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน ความสัมพันธ์ของพันธุ์ข้าวส่งเสริมบางพันธุ์ต่อปริมาณประชากรของ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก