สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
โชคประสิทธิ์ อภิรมยานนท์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โชคประสิทธิ์ อภิรมยานนท์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยการใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 120 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 47.10 ปี มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 27.14 ปี ในช่วงของการผลิตเมล็ดพันธุ์เกษตรกรมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 9.42 ครั้ง จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.28 คน มีพื้นที่นาเฉลี่ย 7.74 ไร่ เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาเฉลี่ย 5.34 บาทต่อกิโลกรัม มีรายได้จากการขายข้าวในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 8,184.91 บาท สำหรับในด้านการใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้ง 6 ด้านพบว่า ด้านการเตรียมดิน เกษตรกร ร้อยละ 96.67 มีการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการไถดะหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเพื่อไถกลบตอซังและวัชพืช รวมทั้งการไถแปรเพื่อทำลายต้นอ่อนข้าวเรื้อและต้นอ่อนวัชพืช ในด้านการเตรียมเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 97.50) ปฏิบัติตามการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สำหรับหว่าน 15 - 20 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านการตรวจตัดพันธุ์ปนพบว่าเกษตรกรร้อยละ 77.50 ปฏิบัติตามการตรวจตัดพันธุ์ปนครั้งที่ 2 (ระยะข้าวออกดอก) มากที่สุด ด้านการเก็บเกี่ยว มีเกษตรกร ร้อยละ 98.33 ปฏิบัติตามเทคโนโลยีการทำความสะอาดกระสอบก่อนบรรจุข้าว สำหรับในด้านการตากลดความชื้น เกษตรกรเกือบทั้งหมด คือร้อยละ 99.17 ปฏิบัติตามเทคโนโลยีการเกลี่ยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ตากบนลานให้สม่ำเสมอ และในด้านการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพบว่าเกษตรกรเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 97.50)ปฏิบัติตามเทคโนโลยีการวางกระสอบเมล็ดพันธุ์บนพื้นที่ทำด้วยไม้ ส่วนปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรคือ ขาดลานตากข้าว แรงงาน เครื่องเกี่ยวนวดข้าว และแหล่งน้ำ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรควรจัดให้และสนับสนุนลานตากข้าวในกลุ่มหรือในหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยควรมีการทำวิจัยต่อเนื่องในเรื่องการวิเคราะห์ผลตอบแทนและจุดคุ้มทุนในการผลิตข้าวเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริม และผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลขามป้อม อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก