สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร
สมบัติ กองภา1, จิราลักษณ์ ปรีดี1, ขนิษฐา เกลาเกลี้ยง2, ชาติ ศรีแสง2 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร
ชื่อเรื่อง (EN): Effecting Factors the Adoped Sericulture Technology of Farmers in Roi-Kaen-Sarn Groups
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร (Effecting Factors on the Adoped Sericulture Technology of Farmers in Roi-Kaen-Sarn Provinces groups) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น และมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 305 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random Sampling) โดยวิธีการจับสลากตามลำดับหมายเลขของประชากรแบบไม่ทดแทน (Sampling without replacement) ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรยอมรับนำเอาเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปปฏิบัติในเรื่อง การใช้พันธุ์หม่อนที่ได้รับการรับรองพันธุ์หรือพันธุ์แนะนำไปปลูก การตัดต่ำหม่อนให้สูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ปีละ 1 ครั้ง มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนและหลังการเลี้ยงไหม การเลี้ยงไหมแรกฟักมีการปรับความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมรอบกระด้งหรือชั้นเลี้ยงไหม การให้อาหารหนอนไหมด้วยใบหม่อนที่เหมาะสมกับวัยไหม จำนวนครั้งที่เหมาะสมในการถ่ายมูลไหมในแต่ละวัย และการขยายพื้นที่เลี้ยงไหมให้เหมาะสมกับวัยหนอนไหม และเกษตรกรไม่ยอมรับ คือ ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวในการปลูกหม่อนไม่ต่ำกว่า 0.75x1.50 เมตร การใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่/ปี การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี การตัดกลางหม่อน การใช้พันธุ์ไหมที่ได้รับการรับรองหรือแนะนำ การใช้สารเคมีโรยตัวหนอนไหม การใช้ปูนขาวหรือแกลบเผาโรยตัวหนอนไหม และการเก็บตัวหนอนไหมผิดปกติหรือเป็นโรคไปทำลาย ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม วิจัย 5 ปัจจัย พบว่าปัจจัยที่1 ลักษณะของเทคโนโลยี เกษตรกรเห็นด้วยเป็นบางส่วนทั้ง 4 ลักษณะ ประกอบด้วย เทคโนโลยีฯ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2550-16.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสาร
กรมหม่อนไหม
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
การใช้เทคโนโลยีในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว ปี 2547 การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไทยพื้นเมืองของเกษตรกร อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สภาพการผลิตและความต้องการรับการส่งเสริมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร ตำบลแจนแวน กิ่งอ.ศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ การยอมรับเทคโนโลยีในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นเมืองของเกษตรกรตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก