สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Production Development of Rice Seed Produced by Farmers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Rice seed
บทคัดย่อ:  การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร      การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเป็นปัญหาสำคัญในการผลิตข้าวของประเทศไทย จึงได้สำรวจปัญหาและความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพของเกษตรกรเชิงบูรณาการ โดยดำเนินการใน 2 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง (จ.สุพรรณบุรี และ ปทุมธานี) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.สุรินทร์ และสกลนคร)  ต่อมาได้เพิ่มการสำรวจอีกภาคละ 1 จังหวัด คือ ชัยนาท และร้อยเอ็ด จำนวนไม่น้อยกว่า 100 รายในแต่ละจังหวัด พบว่าความต้องการพันธุ์ข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์มีความแตกต่างกันระหว่างภาคเป็นอย่างมาก โดยภาคกลางมีการปลูกผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 10 พันธุ์ แต่มีเพียง 3 พันธุ์ที่มีการผลิตในปริมาณมาก คือ กข31 กข47 และ กข41 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 3 พันธุ์ คือ ขาวดอกมะลิ 105 กข15 และข้าวเหนียว กข6 เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและสกลนครค่อนข้างมีประสบการณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์มากกว่าเกษตรกรในจังหวัดอื่น แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นของเกษตรกรส่วนใหญ่ได้จากผู้ประกอบการที่ตนสังกัด มีเกษตรกรส่วนน้อยประมาณร้อยละ 10  ที่ได้เมล็ดพันธุ์ตั้งต้นจากศูนย์วิจัยข้าวหรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยภาพรวมเกษตรกรสังกัดศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พบปัญหามากกว่าเกษตรกรกลุ่มของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มผู้ประกอบการอิสระ ไม่ว่าจะเป็นด้านประสบการณ์ ด้านการปฏิบัติในแปลง ด้านการจัดการและการดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ได้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการมากกว่า 100 ราย ในแต่ละจังหวัดที่ดำเนินการวิจัย  จากการพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรของกลุ่มเกษตรกร 4 จังหวัด พบว่า คุณภาพเมล็ดพันธุ์มีองค์ประกอบหลักผ่านมาตรฐาน  คิดเป็นร้อยละ 51.63, 54.75, 62.46 และ 100 ของผลผลิตทั้งหมด ในเขตจังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี สกลนครและสุรินทร์ ตามลำดับ สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐานเนื่องจาก มีสิ่งเจือปนสูงเกินมาตรฐาน (เกิน 2%)  กลุ่มเกษตรกรสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ในโครงการจำนวน  102,528 กก. ได้หมดไม่มียอดคงเหลือ ในราคา กก.ละ 22.00 บาท และ 25.00 บาท สำหรับข้าวขาวทั่วไป และข้าวหอมมะลิ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการจำหน่ายผลผลิตเข้าสู่การแปรรูปตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ตั้งราคารับจำนำข้าวขาวทั่วไป (5%)  ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้พัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกระจายสู่เกษตรกรในพื้นที่ และถ่ายทอดสู่เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆต่อไป    
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-04-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-04-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร
กรมการข้าว
27 เมษายน 2556
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ จังหวัดปทุมธานี การศึกษาความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีต่อผลผลิต เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเชิงพาณิชย์ในแปลงเกษตรกร การผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวสันป่าตอง 1 การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดชัยนาท การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก