สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในงานส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้
วสันต์ กู้เกียรติกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในงานส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วสันต์ กู้เกียรติกูล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องความต้องการและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในการส่งเสริมการเกษตร ในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการของเกษตรอำเภอ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร และคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในการส่งเสริมการเกษตรรวมถึงบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในการส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ เกษตรอำเภอในจังหวัดภาคใต้ จำนวน 77 คน เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในจังหวัดภาคใต้ จำนวน 75 คน และคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับการตัดสินให้เป็นกลุ่มชนะที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2546 ของทุกจังหวัดในภาคใต้ รวม 70 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS หาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยคะแนน การทดสอบ สมมติฐาน ใช้ F-test และ t-test ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ 0.05 หรือ95 เปอร์เซ็นต์สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรอำเภอ เกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย คือ ร้อยละ 97.4 มีอายุเฉลี่ย 51.08 ปี อายุราชการเฉลี่ย 27.25 ปี ดำรงตำแหน่งเกษตรอำเภอนานเฉลี่ย 8.92 ปี มีเงินเดือนเฉลี่ย 26,194.16 บาท เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ คือร้อยละ 97.4 และเกือบทั้งหมดเช่นกันคือ ร้อยละ 93.5 มีสถานะทางครอบครัว สมรส รวมถึงส่วนมากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คือร้อยละ 80.5 สำหรับเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร ทั้งหมดเป็นผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 44.11 ปี อายุราชการเฉลี่ย 18.93 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งระดับ 5 คือ ร้อยละ 80.0 มีเงินเดือนเฉลี่ย 15,887.73 บาท เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ คือ ร้อยละ 96.0 ส่วนมากคือ ร้อยละ 74.7 มีสถานะทางครอบครัว สมรส ส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คือร้อยละ 84.0 ส่วนคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 41.90 ปี เป็นสมาชิกลุ่มมาแล้วนานเฉลี่ย 8.94 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนมากที่สุด คือ ร้อยละ 34.3 มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 6,303.39 บาท เกษตรอำเภอ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร และคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีความต้องการให้เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรปฏิบัติงานในการส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 2.43, 2.30 และ 2.59 ตามลำดับ แต่เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรมีบทบาทปฏิบัติจริงในการส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับปานกลางด้วยคะแนนเฉลี่ย 2.06 ความต้องการเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในการส่งเสริมการเกษตรระหว่างเกษตรอำเภอ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรและคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างความต้องการเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในการส่งเสริมการเกษตรของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05 เกษตรอำเภอมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรควรปฏิบัติงานประจำสำนักงานเกษตรอำเภอ (ร้อยละ 89.8) เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรควรปฏิบัติงานประจำสำนักงานเกษตรอำเภอโดยรับผิดชอบงานด้านเคหกิจเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพียงด้านเดียว (ร้อยละ 71.64) คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรควรเยี่ยมเยียนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ทุกกลุ่มในอำเภอย่างใกล้ชิด (ร้อยละ 71.21) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้แก่ ควรมอบหมายให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่เคยดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรปฏิบัติงานประจำสำนักงานเกษตรอำเภอเพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ด้านเคหกิจให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในงานส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
ความต้องการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลใน 4 จังหวัดภาคใต้ ทัศนคติของเกษตรจังหวัดต่อบทบาทของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาค ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้ การแสดงออกในบทบาทนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอตามการรับรู้ของเกษตรตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลและเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติของนักวิชาการที่มีต่องานส่งเสริมการเกษตร การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมายกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเกษตรตำบล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในจังหวัดภาคใต้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก