สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง
สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): On Farm Research and Developed the Oil Palm Technological Production in the Lower-Northern Part of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคมปี 2557-กันยายน 2559 ในพื้นที่จังหวัด พิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร เพื่อให้ได้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยดำเนินการระหว่างปี 2557-2559 พื้นที่ 60 ไร่ วางแผนการทดสอบแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธีๆละ 20 ต้น ประกอบด้วย พันธุ์สุราษฎร์ธานี1 สุราษฎร์ธานี2 สุราษฎร์ธานี7 และพันธุ์การค้าของเกษตรกร ผลการทดสอบพบว่า ความกว้างทรงพุ่มพันธุ์สุราษฎร์ธานี2 และพันธุ์สุราษฎร์ธานี7มีความกว้างทรงพุ่ม 348 เซนติเมตร ในขณะที่พันธุ์สุราษฎร์ธานี1 และพันธุ์การค้าของเกษตรกรที่มีความกว้าง340และ332 เซนติเมตรตามลำดับ ในส่วนของความสูงต้นพันธุ์สุราษฎร์ธานี 7มีความสูง295เซนติเมตร พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มีความสูง290เซนติเมตรและพันธุ์การค้าของเกษตรกรสูง275 เซนติเมตร การเจริญเติบโตทางด้านความสูงและทรงพุ่มไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน ผลส่วนหนึ่งเนื่องจากปี 2558และ2559 ได้เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อเจริญเติบโตของต้นปาล์ม สำหรับการทดสอบปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเฉพาะพื้นที่ ดำเนินการระหว่างตุลาคมปี 2557- กันยายน 2559 พื้นที่ 75 ไร่ มี 2 กรรมวิธี ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 วิธีแนะนำใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีที่ 2 วิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรโดยทำการทดลองกับต้นปาล์มที่มีอายุ 3-4 ปี พบว่าก่อนการใส่ปุ๋ย กรรมวิธีแนะนำมีจำนวนทางใบ 40 ทางใบต่อต้น มีความกว้างทรงพุ่ม 585 เซนติเมตร มีความยาวทางใบ290 เซนติเมตรในขณะที่วิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบ 40 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 586 เซนติเมตรความยาวทางใบ 298 เซนติเมตรหลังการใส่ปุ๋ยในปี 2559 พบว่าวิธีแนะนำมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 636 เซนติเมตรและความยาวทางใบ 314 เซนติเมตรส่วนวิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 638 เซนติเมตรความยาวทางใบ 314 เซนติเมตรในส่วนของผลผลิต วิธีแนะนำ มีจำนวนทะลายเฉลี่ยที่เก็บเกี่ยวต่อต้น 1.5 ทะลาย น้ำหนักเฉลี่ยต่อทะลาย 6.3กิโลกรัมผลผลิตเฉลี่ย 415.8 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่วิธีเกษตรกรจำนวนทะลายที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ยต่อต้น 1.3 ทะลาย น้ำหนักเฉลี่ยต่อทะลาย 5.9กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 337.4 กิโลกรัมต่อไร่ในส่วนของปริมาณน้ำฝนปี 2558-2559 เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรงฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
บทคัดย่อ (EN): Testing of oil palm plantation technology in the Lower Northeastern area was conducted between October 2014 and September 2016 in Phitsanulok, Sukhothai and Kamphaengphet provinces. To obtain high yielding palm oil varieties suitable for growing conditions in the lower northern region. The experiment was conducted during the year 2557-2559 with the area of 60 rai. The RCB design had 4 replications, 4 treatments, 20 each, consisting of Surat Thani 1 Surat Thani 2 Surat Thani 7 And commercial varieties of farmers. The results showed that. Surat Thani shrimps width 2 Surat Thani 7 has a shrub width of 348 cm while Surat Thani 1 And the commercial varieties of the farmers are 340 and 332 widths. Centimeters, respectively In the height of the Surat Thani. 7 has a height of 295 cm Surat Thani Surat Thani 2 has a height of 290 centimeters and a commercial cultivar of 275 centimeters. The height and shrub height are not significantly different. One result is that since 2015 and 2019, severe drought crisis has affected the growth of palm trees. For fertilizer testing to accelerate the growth of oil palm plantations in the Phitsanulok area. Sukhothai and Kamphaengphet The objective is to develop the use of fertilizer based on soil analysis of the area. Between October, 2014 and September 2019, 75 rai of land consisted of 2 treatments, consisting of 1 treatment method, fertilizer application method based on soil analysis method 2, fertilizer application method by experiment with palm trees aged 3-4 years. Before fertilizing The recommended methods are 40 leaves per leaf with a bush width of 585 cm with leaf length of 290 feet. In the meanwhile, the number of leaflets per leaf was 586 centimeters. The leaf length was 298 centimeters. After application in 2016, the number of leaflets per leaf was 58. The shrub width was 636 centimeters and the leaf length was 314 centimeters. The farmers method was 58 leaves per leaf. The shrub width was 638 centimeters. The leaf length was 314 centimeters. The average weight of 1.5 pounds per tree. 6.3 kg. The average yield is 415.8 kg per rai. While the number of harvested farmers per plant was 1.3, the average weight per bunch was 5.9 kg, and the average yield was 337.4 kg / rai. Affect growth and productivity.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2559
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต การทดสอบเทคโนโลยีการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกปาล์มน้มันใหม่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 โครงการวิจัยศึกษาระบบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การทดสอบเทคโนโลยีการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันใหม่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก