สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวโพดต่อการเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนในชุดดินปากช่อง
นิสา มีแสง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวโพดต่อการเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนในชุดดินปากช่อง
ชื่อเรื่อง (EN): Soil Management in Maize Cultivation for Increasing Organic Carbon on Soil Group No.29 Pakchong Soil Series
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิสา มีแสง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวโพดต่อการเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนในชุดดินปากช่อง ดำเนินการที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินปากช่อง จำนวน 2 ฤดูปลูก (ปลายฝน ปี 2550/51 และปลายฝน ปี 2551/52) วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง คือ (1) ปลูกข้าวโพดโดยไม่ไถพรวน (2) ปลูกข้าวโพดและไถกลบตอซัง (3) ปลูกข้าวโพดพร้อมพืชแซม (ถั่วเขียว) (4) ปลูกข้าวโพดพร้อมพืชแซม (ถั่วพร้า) (5)ปลูกข้าวโพดพร้อมพืชแซม (ถั่วพุ่ม) และ (6) ปลูกข้าวโพดตามด้วยพืชแซม (ไมยราพไร้หนาม) โดยหว่านในร่องข้าวโพดพร้อมกับการทำรุ่นข้าวโพด ที่อายุประมาณ 1 เดือน) พบว่า ทุกสิ่งทดลองไม่แสดงความแตกต่างทางสถิติทั้งต่อผลผลิต องค์ประกอบ ผลผลิต ความสูง และการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน แต่อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า การปลูกข้าวโพดโดย ไม่ไถพรวนจะให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 1,435.6 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักมวลชีวภาพของแต่ละชนิดของพืชแซม พบว่า ไมยราพไร้หนามให้น้ำหนักมวลชีวภาพสูงสุด 973.6 กิโกรัมต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม และถั่วเขียว ให้น้ำหนักมวลชีวภาพ 459.5 211.2 และ 139.3 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ความล่าช้าของการ เก็บตัวอย่างพืชทำให้ปริมาณน้ำหนักมวลชีวภาพมีค่าต่ำกว่าปกติ ส่งผลต่อปริมาณอินทรียคาร์บอนที่จะถูก กักเก็บลงดินลดตามไปด้วย ทำให้การแสดงผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินได้ไม่ชัดเจน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-09-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวโพดต่อการเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนในชุดดินปากช่อง
นิสา มีแสง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกแตงกวา-ถั่วฝักยาว-ข้าวโพดหวานในกลุ่มชุดดินที่ 36 ( ชุดดินปราณบุรี ) การจัดการดินและปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อปลูกข้าวโพดหวานในดินทรายกลุ่มชุดดินที่ 40 การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับพืชปุ๋ยสดและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในระบบปลูกพืชถั่วเขียว ; ข้าวโพดหวาน กลุ่มชุดดินที่ 35 การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ในชุดดินโคราช (กลุ่มชุดดินที่ 35) การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสดหลายชนิด สำหรับการปลูกข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 7 การสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพาราในกลุ่มชุดดินที่34 ชุดดินท่าแซะ โครงการสาธิตทดสอบการจัดการดินบนพื้นที่ลาดชันเพื่อปลูกยางพารา ในกลุ่ม ชุดดินที่ 34 ชุดดินท่าแซะ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก