สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเทคนิคการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยง
มณเทียน แสนดะหมื่น - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเทคนิคการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยง
ชื่อเรื่อง (EN): .
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มณเทียน แสนดะหมื่น
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเทคนิคการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยง มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อพัฒนาเทคนิคการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยงที่มีคุณภาพ ที่เกษตรกรกรในพื้นที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในพื้นที่และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกพริกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้มีมูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยการคัดเลือกพันธุ์พริกโดยพึงพาตนเอง ดำเนินการวิจัย ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ตุลาคม 2556 – กันยายน พ.ศ. 2557 ประกอบด้วย 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาพันธุ์พริกกะเหรี่ยงพันธุ์ดี และกิจกรรมที่ 2 ทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์พริกกะเหรี่ยงที่มีคุณภาพแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม มี 5 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การคัดเลือกพันธุ์พริกกะเหรี่ยงพันธุ์ดี การทดลองที่ 2 วิธีการคัดความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยงในสภาพแปลงปลูก การทดลองที่ 3 ศึกษาระยะสุกแก่ที่เหมาะสม การทดลองที่ 4 การลดความชื้นในเมล็ดพันธุ์พริก และการทดลองที่ 5 การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พริก จากการวิจัยพบว่า การทดลองที่ 1 การคัดเลือกพันธุ์พริกกะเหรี่ยงพันธุ์ดี จากการคัดเลือกพันธุ์พริกกะเหรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จาก 15 แหล่ง จำนวน 45 สายพันธุ์ เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิต พบว่า มี 4 สายพันธุ์ ที่มีลักษณะเกษตรที่ดีตามเกณฑ์คัดเลือก ได้แก่ MHSC 12 MHSC 15 MHSC 22 และ MHSC 34 การทดลองที่ 2 วิธีการคัดความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยงในสภาพแปลงปลูก คือ วิธีที่ 2 ล้อมรอบต้นพริกด้วยตาข่ายพลาสติก การทดลองที่ 3 ศึกษาระยะสุกแก่ที่เหมาะสมสำหรับพริกกะเหรี่ยงคือ ระยะสุกแก่สีผลแดง (62 วันหลังดอกบาน) ให้เปอร์เซ็นต์การงอกเมล็ดสูงสุด การทดลองที่ 4 การลดความชื้นในเมล็ดพันธุ์พริก ซึ่งพบว่าวิธีการลดความชื้นในเมล็ดพันธุ์พริกที่ได้ผลดีที่สุดคือ ตากแดดกลางแจ้งเป็นเวลา 7 วัน และการทดลองที่ 5 การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พริก คือ ในถุงกระดาษให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุดหลังเก็บรักษาเป็นเวลา180 วัน
บทคัดย่อ (EN): Research Selection Techniques Karen Chili seeds. The objective of the project is to develop techniques to produce quality seed chili. To the farmers in the area can be deployed in real space and transfer knowledge to the pepper growers in Mae hong son province. The output value increased The selection of the wide variety of chili by ourselves. Research conducted at the Agricultural Research and Development Center, Muang Mae Hong Son. From October 2556 - September 2557. Consists of two activities is one of the activities that are involved in the development of chili varieties. And 2 test and production technology varieties chili-quality farmers participating with 5 trials is to experiment 1 Selection chili varieties Experiment 2 To Selection Method the purity of the Karen chili seeds. Experiment 3 Study appropriate maturation Experiment 4 to reduce moisture in the seed chili And Experiment 5 storage seed chili. The results showed that selective breeding Experiment 1 chili varieties. From the selection of pepper varieties Karen. Mae Hong Son from 15 sources, 45 species comparison of growth and showed that there are 4 varieties that look good agricultural basis in the same MHSC 12 MHSC 15 MHSC 22 and MHSC 34. Experiment 2 To Selection Method the purity of the Karen chili seeds. Found that are surrounded by a plastic mesh chili is appropriate. Experiment 3 Study appropriate maturation. Found that fruit color red (62 days after flowering) have the highest seed germination. Experiment 4 to reduce moisture in the seed chili. It was found that the How to reduce the moisture content best results the outdoor sun for 7 days. And Experiment 5, storage seed the chili in a paper bag for maximum germination percentage after storage for 180 days.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเทคนิคการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยการคัดเลือกพันธุ์และพัฒนาระบบการจัดการการปลูกกุหลาบในโรงเรือน โครงการย่อยที่ 3 โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงโดยชุมชนมีส่วนร่วม โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบเกษตรยั่งยืนในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงโป่งคำ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดเชิงพาณิชย์ โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์พืชแปรรูป (โครงการวิจัยเดี่ยว)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก